การพัฒนาชุดกิจกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

Main Article Content

สินีนาฏ วิทยพิเชฐสกุล
สินีนาฏ โคตรบรรเทา

บทคัดย่อ

การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยผู้วิจัยสร้างชุดกิจกรรมตามกรอบทฤษฎีพฤติกรรมตามแผน และนำไปใช้สัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คน ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหาเพื่อนำไปปรับชุดกิจกรรม จากนั้นนำชุดกิจกรรมที่ปรับปรุงแล้ว ไปจัดกิจกรรมกับกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี จำนวน 40 คน และประเมินชุดกิจกรรมโดยสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่าผู้เชี่ยวชาญมีการปรับแก้ด้านทัศนคติต่อพฤติกรรมของกิจกรรมแลกน้ำคือเพิ่มกิจกรรมชะลอดีกว่าไหม ปรับรายละเอียดของกิจกรรมด้านการคล้อยตามอิทธิพลของคนรอบข้างคือกิจกรรมใจเขาใจเราสมมติว่าหากตนท้องหรือทำผู้หญิงท้อง คนรอบข้างจะรู้สึกอย่างไร และแบ่งกลุ่มสวมบทบาทของคนรอบข้าง เพิ่มเวลาในการใส่ชุดคลุมท้อง และด้านการรับรู้หรือเชื่อว่าตนสามารถควบคุมตนเองได้ในกิจกรรมโน้ตแห่งความมุ่งมั่น และการประเมินชุดกิจกรรมด้วยการสนทนากลุ่ม กลุ่มตัวอย่างสะท้อนผลว่าเกิดทัศนคติที่ดี คำนึงถึงคนรอบข้าง รับรู้ความสามารถในการควบคุมตนเอง และความตั้งใจที่จะไม่ตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำชุดกิจกรรมไปใช้เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

1. ศิริพร จิรวัฒน์กุล, สมพร รุ่งเรืองกลกิจ, ดารุณี จงอุดมการณ์, กฤตยา แสวงเจริญ, สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล,
สมพร วัฒนนุกุลเกียรติ และคณะ. การศึกษาแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พร้อมในวัยรุ่น (แม่วัยใส). ศูนย์ประสานงานองค์การอนามัยโลกด้านการวิจัยและฝึกอบรมด้านเพศภาวะและสุขภาพสตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สำนักงานกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, 2554.
2. สุวรรณี คำมั่น, ชุตินาฏ วงศ์สุบรรณ. แม่วัยใส ความท้าทายการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น. กรุงเทพฯ: ไทยพับลิก้า; 2556.
3. ศรีพ็ญ ตันติเวสส, ทรงยศ พิลาสันต์, อินทิรา ยมาภัย,ยศ ตีระวัฒนานนท์, ชลัญธร โยธาสมุทร, อภิญญา มัตเดช และณัฐจรัส เองมหัสสกุล. สถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นในประเทศไทย. โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2556.
4. ศรุตยา รองเลื่อน, ภัทรวลัย ตลึงจิตร และสมประสงค์ ศิริบริรักษ์. การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ในวัยรุ่น: การสำรวจปัญหาและความต้องการการสนับสนุนในการรักษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศิริราช. 2555; 5(1),14-28.
5. ปฏิญญา เอี่ยมสำอางค์, รุ่งรัตน์ ศรีสุริยเวศน์ และพรนภา หอมสินธุ์. ปัจจัยเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์ซ้ำที่ไม่ตั้งใจของวัยรุ่น. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา. 2556. 8(1):55-67.
6. Morin P, Tribble D, Wals PD, Payette H. Concept analysis of pregnancy planning drawn from women of childbearing age. Health Promotion Practice 2001;2:212-21.
7. ฤดี ปุงบางกะดี่ และเอมพร รตินธร. ปัจจัยและผลกระทบจากการตั้งครรภ์ซ้ำของสตรีวัยรุ่นไทย: กรณีศึกษา
ในกรุงเทพมหานคร. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2557;32(2):23-31.
8. มาลีวัล เลิศสาครศิริ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น
ตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก. 2557. 15(1):90-98.
9. เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย, ปราโมทย์ ทองสุข และปาณิศา หมวดเอียด. การวิเคราะห์อภิมานเกี่ยวกับโปรแกรมเพศศึกษาสำหรับเยาวชนในประเทศไทย. วารสารสภาการพยาบาล. 2554;26(4):5-12
10. Ajzen. The Theory of Planned Behavior. Organizational Behavior and Human Decision Processes1988; 50: 179-211.
11. ศักดิพันธ์ ตันวิมลรัตน์. เทคนิคและวิธีการจัดกิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์. วิทยาบริการ. 2546;14:40-55.
12. กมลมาลย์ แสงธำรง, จรินทร์ โฮ่สกุล, สุขใจ ดวงประเสริฐ, สุรีย์ อรรถกร, ดลนภา บูรณธัญญ์, วิเนตร์ พวงสอาด และคณะ. คู่มือการจัดกระบวนการเรียนรู้เพศศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่2. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: เออร์เจนท์ แทค; 2551.
13. กองอนามัยการเจริญพันธุ์กรรมอนามัยสาธารณสุข. คู่มือการอบรมค่ายแกนนำมุมเพื่อนใจวัยรุ่น. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกกรุงเทพมหานคร; 2548.
14. มาลีวัล เลิศสาครศิริ. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ของสตรีวัยรุ่น ตามการรับรู้ของนักศึกษาชั้นปีที่1 วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. พยาบาลทหารบก. 2557; 15: 30-23.
15. ชัชพล เกียรติขจรธาดา. 500 ล้านปีของความรัก วิทยาศาสตร์ของอารมณ์ ความรัก ความเกลียดชัง. พิมพ์ครั้งที่ 3 . กรุงเทพฯ: สายธุรกิจ; 2556.
16. พอเพ็ญ ไกรนรา, เมธิณี เกตวาธิมาตร และมัณฑนา มณีโชติ. ผลของโปรแกรมป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมโดยแกนนำนักศึกษาพยาบาลต่อความรู้ ทัศนคติและความตั้งใจในการป้องกันการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่นตอนต้น. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา. 2566; 19(2): 20-30.
ผล
17. Denison JA, Tsui S, Bratt J, Torpey K, Weaver MA, Kabaso M. Do peer educators
make a difference? An evaluation of a youthled HIV prevention model in Zambian Schools. Health Education Research. 2012; 27(2): 237-247.
18. ศิริพร จิรวัฒน์กุล. เพศศึกษา: เสียงสะท้อนจากวัยรุ่นไทย. วารสารพยาบาศาสตร์และสุขภาพ. 2555; 35(4), 1-11.
19. Kolb DA. Experiential learning: Experience as the source of learning and development. New
Jersey: Prentice Hall; 1984.