การสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนในเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1

Main Article Content

รพีพรรณ ยงยอด

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงสำรวจนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน โดยทำการศึกษาในโรงเรียนที่สมัครใจเข้าร่วม จำนวน 32 แห่ง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสำรวจ และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ผลการศึกษา ด้านการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม พบว่า โรงเรียนส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์คือ ห้องน้ำ ห้องส้วมไม่มีสบู่ล้างมือ ไม่มีถังขยะที่มีฝาปิด   ด้านน้ำดื่มน้ำใช้  ร้อยละ 65.60 ไม่ผ่านเกณฑ์ คือไม่มีภาชนะน้ำดื่มประจำตัว ด้านการบำบัดน้ำเสีย พบว่าไม่มีบ่อดักไขมัน ร้อยละ  78.10  ด้านการสุขาภิบาลอาหารด้านกายภาพ พบข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด ได้แก่ การวางช้อน ส้อม ตะเกียบ โดยวางตั้งเอาด้ามขึ้น  และไม่มีตู้สำหรับปกปิดอาหารที่ปรุงสำเร็จแล้วตั้งสูงจากพื้นอย่างน้อย 60 เซนติเมตร  เขียงต้องมีสภาพดีไม่แตกร้าว ไม่มีการแยกใช้เขียงเฉพาะอาหารสุกและอาหารดิบแยกจากกัน ส่วนผลการประเมินสุขาภิบาลอาหารด้านชีวภาพ เฉพาะโรงเรียนที่ผ่านเกณฑ์ด้านกายภาพทุกข้อ จำนวน 10 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรีย จำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ70.00  ด้านการตรวจคุณภาพน้ำดื่มทางชีวภาพ จำนวน 32 ตัวอย่าง พบการปนเปื้อน โคลิฟอร์มแบคทีเรียทั้งหมด 13 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 40.63  ดังนั้นโรงเรียนเน้นย้ำเกี่ยวกับการคุณภาพน้ำดื่ม การสุขาภิบาลอาหาร และการสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม

Article Details

บท
นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)

References

กรมอนามัย. ประกาศกรมอนามัย เรื่อง เกณฑ์คุณภาพน้ำประปาดื่มได้. 13 ตุลาคม 2553.

จุรีย์รัตน์ สีสมิทธิ์. ปฏิบัติการจุลชีววิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย

เกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.2552.

ภัทราพร จุลราช. มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารในโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดสกลนคร.วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.2551.

สมเสาวนุช และนริสา. ความยั่งยืนของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพใน โรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (พิเศษ): 21-30. 2555.

สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค.หลักการควบคุมโรคเบื้องต้นสำหรับ SRRT. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ.2554.

สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย, กรุงเทพฯ.2548.

สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือผู้สัมผัสอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 3. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, กรุงเทพฯ. 2557.

สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการอนามัยสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก, กรุงเทพฯ.2551.

สุวรรณ แช่มชูกลิ่น และคณะ. สถานการณ์การจัดการสุขาภิบาลอาหารและน้ำดื่มในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ. วารสารสุขาภิบาลอาหารและน้ำ 4(1): 16-23. 2551.

Christian Jasper, Thanh-Tam Le and Jamie Bartram. Water and Sanitation in Schools: A Systematic Review of the Health and Educational Outcomes. International Journal of Environmental Research and Public Health 9(8): 2772–2787.2012.

J P Majra and A Gur. School Environment and Sanitation in Rural India. Journal of Global Infectious Diseases 2(2): 109–111.2010.

Margriet Samwel and Sascha Gabizon. Improving school sanitation in a sustainable way for a better health of school children in the EECCA and in the new EU

member states. Desalination 248: 384-391.2009.