ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากวัยทำงาน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
คำสำคัญ:
สภาวะสุขภาพช่องปาก, วัยทำงาน, การตรวจสุขภาพช่องปากแบบครอบคลุม, ระดับการศึกษาบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพช่องปากและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากวัย ทำงานอำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เพื่อศึกษาสภาวะสุขภาพช่องปากวัยทำงาน อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม กำหนดขนาดตัวอย่างตามช่วงอายุ 20-29 ปี, 30-39 ปี, 40-49 ปี และ 50-59 ปี โดยวิธี sampling with probability proportional to size (PPS) จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่สุ่มได้ทั้งหมด 622 ราย ดำเนินการสัมภาษณ์และตรวจสุขภาพช่องปากแบบครอบคลุมโดยทันตแพทย์ ช่วงเดือนธันวาคม 2558 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสถิติทดสอบไคสแควร์ เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่างๆ
ผลการศึกษา: พบว่าเป็นเพศหญิง ร้อยละ 70.3 รายได้เฉลี่ยเท่ากับ 8,970 บาท/เดือน สถานภาพคู่ ร้อยละ 62.9 จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 34.9 สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 74.9 มีโรคประจำตัว ร้อยละ 21.1 เคยเข้ารับบริการทันตกรรมใน 1 ปีที่ผ่านมา ร้อยละ 46.8 โรงพยาบาลของรัฐเป็นสถานบริการทันตกรรมที่ใช้ประจำ ร้อยละ 36.4 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากแบบครอบคลุม ร้อยละ 47.6 ต้องการหายจากอาการป่วย ร้อยละ 59.6 มีจำนวนฟันที่ใช้งานได้เฉลี่ย 24.2 ซี่/คน มีคู่สบฟันหลังที่ใช้เคี้ยวอาหารได้ 4 คู่ขึ้นไป ร้อยละ 80.1 มีค่าเฉลี่ยฟันผุถอนอุด 10.8 ซี่/คน มีสภาวะปริทันต์อักเสบ ร้อยละ 15.0 ซึ่งพบมากในผู้ที่อายุ 40 ปีขึ้นไป ไม่พบผู้ที่มีรอยโรคก่อนเกิดมะเร็งในช่องปาก ความจำเป็นต้องได้รับบริการทันตกรรม ได้แก่ ขูดหินน้ำลาย ร้อยละ 75.6 อุดฟัน ร้อยละ 61.7 ถอนฟัน ร้อยละ 44.7 และใส่ฟันเทียม ร้อยละ 33.3 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปากวัยทำงาน อำเภออัมพวา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value ≤ 0.01) มีจำนวน 6 ปัจจัย ได้แก่ เพศ อายุ รายได้ ระดับการศึกษา สิทธิการรักษาพยาบาล และการได้รับการตรวจสุขภาพช่องปาก โดยพบว่าผู้ที่มีรายได้ 20,000 บาทขึ้นไป และมีระดับการศึกษาอนุปริญญาขึ้นไปจะมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีกว่ากลุ่มตัวอย่างอื่น ผู้ที่ถือสิทธิสวัสดิการการรักษาพยาบาลของข้าราชการมีจำนวนฟันผุน้อยกว่า แต่มีจำนวนฟันอุดมากกว่าสิทธิอื่น ส่วนผู้ที่ถือสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้ามีสภาวะปริทันต์อักเสบมากกว่าสิทธิอื่น นอกจากนั้นผู้ที่ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากแบบครอบคลุม จะมีจำนวนฟันอุด สภาวะเหงือกและปริทันต์ ปกติมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการตรวจแบบครอบคลุม
ข้อเสนอแนะ: การตรวจสุขภาพช่องปากแบบครอบคลุม นับได้ว่ามีความสำคัญต่อการส่งเสริมการมีสภาวะสุขภาพช่องปากที่ดีของวัยทำงาน อีกทั้งควรมีการพัฒนาด้านการศึกษาของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อหาที่ให้ความรู้แก่ประชาชนในระดับการศึกษาภาคบังคับของประเทศ เพื่อการมีสุขภาพช่องปากที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไปในอนาคต
References
2. World Health Organization. What is universal health coverage?. [cited 2016 Feb 12]; Available from: http://www.who.int/health_financing/universal_coverage_definition/en/.
3. เพ็ญแข ลาภยิ่ง, วีระศักดิ์ พุทธาศรี. การใช้บริการสุขภาพช่องปากในทศวรรษแรกของระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าไทย. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2556;6:1080-90.
4. สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. รายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการ การพัฒนาทางอภิบาลระบบหลักประกันสุขภาพ. นนทบุรี : สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย; 2556.
5. วลัยพร พัชรนฤมล และคณะ. การเหมาจ่ายเงินค่าบริการสาธารณสุขตามรายหัว. ใน : สุรจิต สุนทรธรรมและคณะ บรรณาธิการ. ระบบหลักประกันสุขภาพไทย. กรุงเทพฯ : สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ; 2555. หน้า 160-73.
6. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). 10 เรื่องที่ควรรู้ สิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมการมีส่วนร่วม สปสช.; 2556.
7. สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ยุทธศาสตร์ เป้าหมาย และตัวชี้วัด กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2558. นนทบุรี : สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2557.
8. Hayes A, Azarpazhooh A, Demster L, et al. Time loss due to dental problems and treatment in the Canadian population: analysis of nationwide cross-sectional survey. BMC Oral Health 2013;13:17.
9. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าใน
ระยะเปลี่ยนผ่าน. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2545.
10.นิตยา เจริญกุล. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพของผู้ใช้บริการทันตกรรม: กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชเวียงสระ [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฏีบัณฑิต]. บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์