การพัฒนาการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Bodeepat Worathitianan, M.D. กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนครปฐม
  • Chatchadaporn Osiri กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด, ยาละลายลิ่มเลือด, ช่องทางด่วน, ห้องฉุกเฉิน, fast track

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการจัดการผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลนครปฐม

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิเคราะห์ย้อนหลัง โดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการพัฒนา ระยะเวลาถูกแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลาคือ ระยะเริ่มแรกช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2558 - มีนาคม พ.ศ. 2559 และระยะปรับปรุงพัฒนา ช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 - มีนาคม พ.ศ. 2560

ผลการศึกษา: ในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันระหว่างก่อนและหลังการพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด ณ ห้องฉุกเฉิน พบว่าผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดจำนวน 15 ราย (ร้อยละ 1.1) เพิ่มเป็น 88 ราย (ร้อยละ 6.4) โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยทีผู้ป่วยได้รับยาหลังมาถึงโรงพยาบาล 102 ± 43.8 นาทีลดลงเป็น 49 ± 23.4 นาที (p-value <0.001) นอกจากนี้อัตราผู้ป่วยได้รับยาภายใน 60 นาที จำนวนร้อยละ 13.3 เพิ่มเป็นร้อยละ 77.3 ส่วนภาวะแทรกซ้อนในการเกิดภาวะเลือดออกในสมองและมีอาการแย่ลงหลังได้ยาละลายลิ่มเลือด (symptomatic intracranial hemorrhage) จำนวนร้อยละ 26.7 ของจำนวนผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมดลดลงเป็นร้อยละ 5.7

สรุป: การพัฒนาระบบการจัดการโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ผ่านช่องทางด่วน ณ ห้องฉุกเฉิน สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ กล่าวคือ ทำให้จำนวนผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลังจากมาถึงโรงพยาบาล และเกิดภาวะแทรกซ้อนในเกณฑ์มาตรฐาน

Author Biographies

Bodeepat Worathitianan, M.D., กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

Chatchadaporn Osiri, กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนครปฐม

ประกาศนียบัตรวิชาพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ขั้นสูง

References

1. Prabhakaran S, Ruff I, Bernstein RA. Acute stroke intervention: a systemic review. JAMA 2015;313:1451-62.

2. Jauch EC, Saver JL, Adams HP Jr, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: a guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2013;44:870-947.

3. Lokeskrawee T, Muengtaweepongsa S, Patumanond J, et al. Prognostic parameters for symptomatic intracranial hemorrhage after intravenous thrombolysis in acute ischemic stroke in an asian population. Curr Neurovasc Res 2017;14:169-76.

4. Jauch EC, Cucchiara B, Adeoye O, et al. Part 11: adult stroke: 2010 American Heart Association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation 2010;122 (18 suppl 3):S818-28.

5. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. การสูญเสียปีสุขภาวะ Disability-Adjusted Life Years: DALYs รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บ ของประชากรไทย พ.ศ. 2557. นนทบุรี: เดอะกราฟิโก ซิสเต็มส์; 2560.

6. Powers WJ, Derdeyn CP, Biller J, et al. 2015 American Heart Association/American Stroke Association Focused Update of the 2013 Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke Regarding Endovascular Treatment: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2015;46:3020-35.

7. Saver JL. Time is brain--quantified. Stroke 2006;37:263-6.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25