ภาวะ Metabolic Syndrome ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง

ผู้แต่ง

  • Panadda Jiamjongwathana, M.D. กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะ metabolic syndrome, โรคซึมเศร้า

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อทราบความชุกของภาวะ metabolic syndrome และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะนี้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาภาคตัดขวาง ศึกษาจากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกจิตเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง ในช่วงระหว่างเดือนกรกฎาคม 2558 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2559 จำนวน 55 ราย โดยใช้แบบสัมภาษณ์และเก็บข้อมูลโดยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต วัดเส้นรอบเอว และเจาะเลือดเพื่อวัดระดับน้ำตาล (fasting plasma glucose) และไขมันในเลือด (triglyceride และ HDL) ใช้การวินิจฉัยภาวะ metabolic syndrome ตามเกณฑ์ของ International Diabetes Federation (IDF) เปิดแฟ้มประวัติเกี่ยวกับประวัติโรคทางจิตเวชอื่น ยาทางจิตเวชที่ผู้ป่วยได้รับ และประเมินคะแนน MADRS วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีคำนวณแจกแจงความถี่ เป็นร้อยละ ค่าเฉลี่ย และทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยโดยใช้สถิติ t-test, chi-square โดยผลการทดสอบถือว่ามีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อค่า p<0.05

ผลการศึกษา: พบภาวะ metabolic syndrome ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกจิตเวชโรงพยาบาลบ้านโป่ง คิดเป็นร้อยละ 56.4 และพบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะ metabolic syndrome อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ อายุ โรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง

สรุป: พบภาวะ metabolic syndrome ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจำนวนมาก จึงควรประเมินและติดตามภาวะนี้ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

Author Biography

Panadda Jiamjongwathana, M.D., กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี

ว.ว. จิตเวชศาสตร์

References

1. Judd LL, Akiskal HS, Maser JD, et al. A prospective 12-year study of subsyndromal and syndromal depressive symptoms in unipolar major depressive disorders. Arch Gen Psychiatry 1998;55:694-700.

2. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. โครงการพัฒนาระบบสุขภาพเพื่อแก้ไขปัญหาและป้องกันความสูญเสียเนื่องจากโรคซึมเศร้าระยะที่ 2. ใน: วันชัย กิจอรุณชัย, บรรณาธิการ. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิต ปีงบประมาณ 2553. ม.ป.ท.; 2553. หน้า 81-2.

3. Rihmer Z, Angst J. Mood disorders: Epidemiology. In: Sadock BJ, Sadock VA, editors. Comprehensive textbook of psychiatry.8th ed. Baltimore: Lippincott Williams and Wilkins; 2005.p.1575-82.

4. พรเทพ ศิริวนารังสรรค์, ธรณินทร์ กองสุข, สุวรรณา อรุณพงศ์ไพศาล, และคณะ. ความชุกของโรคจิตเวชในประเทศไทย: การสำรวจระดับชาติ ปี 2546. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย 2547;12:177-88.

5. กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. สถานการณ์สุขภาพจิต/ข้อมูลสถิติที่สำคัญ. ใน: วันชัย กิจอรุณชัย,บรรณาธิการ. รายงานประจำปีกรมสุขภาพจิตปีงบประมาณ 2553. ม.ป.ท.; 2553. หน้า 86-114.

6. Eckel RH, Grundy SM, Zimmet PZ. The metabolic syndrome. Lancet 2005;365:1415-28.

7. Laaksonen DE, Lakka HM, Niskanen LK, et al. Metabolic syndrome and development of diabetes mellitus:application and validation of recently suggested definitions of the metabolic syndrome in a prospective cohort study. Am J Epidemiol 2002;156:1070-7.

8. Isomaa B, Almgren P, Tuomi T, et al. Cardiovascular morbidity and mortality associated with the metabolic syndrome. Diabetes Care 2001;24:683-9.

9. Lakka HM, Laaksonen DE, Lakka TA, et al. The metabolic syndrome and total and cardiovascular disease mortality in middleaged men. JAMA 2002;288:2709-16.

10. Chen HJ, Bai CH, Yeh WT, et al. Influence of metabolic syndrome and general obesity on the risk of ischemic stroke. Stroke 2006;37:1060-4.

11. Grundy SM, Cleeman JI, Daniels SR, et al. Diagnosis and management of the metabolic syndrome: an American Heart Association/National Heart, Lung, and Blood Institute Scientific Statement. Circulation 2005;112:2735-52.

12. Alberti KG, Zimmet P, Shaw J. The metabolic syndrome-a new worldwide definition. Lancet 2005;366:1059-62.

13. Expert Panel on Detection, Evaluation, and Treatment of High Blood Cholesterol in Adults. Executive Summary of The Third Report of The National Cholesterol Education Program (NCEP) Expert Panel on Detection, Evaluation, And Treatment of High Blood Cholesterol In Adults (Adult Treatment Panel III). JAMA 2001;285:2486–97.

14. วิชัย เอกพลากร. โรคและปัจจัยเสี่ยงของโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด. ใน: วิชัย เอกพลากร, บรรณาธิการ. การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2557. นนทบุรี: อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์; 2559. หน้า169-71.

15. Kinder LS, Carnethon MR, Palaniappan LP, et al. Depression and the metabolic syndrome in young adults: findings from the Third National Health and Nutrition Examination Survey. Psychosom Med 2004;66:316-22.

16. Raikkonen K, Matthews KA, Kuller LH. The relationship between psychological risk attributes and the metabolic syndrome in healthy women : antecedent or consequence? Metabolism 2002;51:1573-7.

17. Heiskanen TH, Niskanen LK, Hintikka JJ, et al. Metabolic syndrome and depression: a cross-sectional analysis. J Clin Psychiatry 2006;67:1422-7.

18. Hat NH, Shahrul Azhar MH, Chong LL, et al. Factors associated with metabolic syndrome among psychiatric outpatients with major depressive disorder. Malaysian Journal of Psychiatry E journal. [Internet]. 2011 [cited 2015 Jan 10]; 20. Available from:https://www.mjpsychiatry.org/index.php/mjp/article/view/154/128

19. ศิริรัตน์ คุปติวุฒิ, ปนัดดา เจียมจงวัฒนา, วรภัทร รัตอาภา. ความชุกของภาวะ Metabolic Syndrome ในผู้ป่วยโรคซึมเศร้าที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ภาควิชาจิตเวชศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2555;57:271-82.

20. Charnsil C, Pilakanta S, Panikul S. Prevalence of metabolic syndrome and its associated factor in patients with major depressive disorder (MDD). ASEAN Journal of Psychiatry 2015;16:176-80.

21. van Reedt Dortland AK, Giltay EJ, van Veen T, et al. Metabolic syndrome abnormalities are associated with severity of anxiety and depression and with tricyclic antidepressant use. Acta Psychiatr Scand 2010;122:30-9.

22. Beyazyuz M, Albayrak Y, Egilmez OB, et al. Relationship between SSRIs and metabolic syndrome abnormalities in patients with generalized anxiety disorder: a prospective study. Psychiatry Investig 2013;10:148-54.

23. Nguyen TH, Tang HK, Kelly P, et al. Association between physical activity and metabolic syndrome: a cross-sectional survey in adolescents in Ho Chi Minh City, Vietnam. BMC Public Health 2010;10:141.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-25