การศึกษาค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทารกแรกเกิดในหอทารกแรกเกิดวิกฤตโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
คำสำคัญ:
ค่าใช้จ่าย, หอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤตบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาทารกแรกเกิดวิกฤติ และศึกษาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายที่ใช้จริงกับค่าชดเชยที่เรียกเก็บได้จากระบบหลักประกันสุขภาพของทารกแรกเกิดที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนาโดยเก็บข้อมูลทารกแรกเกิดทั้งหมดที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม 2559 จากเวชระเบียนและฐานข้อมูลโรงพยาบาล ในปัจจัยต่างๆ ได้แก่ เพศ น้ำหนักทารกแรกเกิด อายุครรภ์ของทารก วิธีคลอด การใช้เครื่องช่วยหายใจ จำนวนวันการใช้เครื่องช่วยหายใจ การใส่สายหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงทางสะดือ และการใส่สายสวนเส้นเลือดดำใหญ่ส่วนกลางทางเส้นเลือดดำส่วนปลาย ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาล การวินิจฉัยหลักค่าใช้จ่ายที่ใช้จริง และค่าชดเชยที่เรียกเก็บได้จากระบบหลักประกันสุขภาพ ใช้สถิติเชิงพรรณนานำเสนอด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ใช้ Pearson’s chi-square, one-way ANOVA, Kruskal-Wallis test
ผลการศึกษา: ทารกแรกเกิด 181 ราย ที่รับการรักษาในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ มีน้ำหนักแรกเกิดเฉลี่ย 2,601.5 ± 738.5 กรัม อายุครรภ์เฉลี่ย 36.04 ± 3.08 สัปดาห์ มีการใช้เครื่องช่วยหายใจร้อยละ 43.6 ระยะเวลาการใช้เครื่องช่วยหายใจเฉลี่ย 4.74 ± 6.22 วัน จำนวนวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 8.49±16.61 วัน ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยสูงสุดในกลุ่มทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 1,000 กรัม เฉลี่ย 188,277.6 ± 125,317 บาท/คน และในกลุ่มอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์เฉลี่ย 113,418.2 ± 115,574.83 บาท/คน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) โดยมีการขาดทุนเฉลี่ยมากที่สุดในกลุ่มน้ำหนักทารก แรกเกิดน้อยกว่า 1,000 กรัม เฉลี่ย 80,978.25 ± 85,189.06 บาท/คน และอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์เฉลี่ย 27,098.89 ± 73,254.36 บาท/คน ขาดทุนต่ำสุด ในกลุ่มน้ำหนักทารกแรกเกิด 1,500-2,499 กรัม เฉลี่ย 298.32±3,189.37 บาท/คน และอายุครรภ์ 33-37 สัปดาห์ เฉลี่ย 1,000.41 ± 27,633.79 บาท/คน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ จำนวนวันนอนโรงพยาบาลสูงที่สุดในกลุ่มน้ำหนักแรกเกิด 1,000-1,499 กรัม เฉลี่ย 42.8±51.16 วัน และอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เฉลี่ย 27.1+35.8 วัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001) การทำหัตถการสูงสุดในกลุ่มน้ำหนักแรกเกิด น้อยกว่า 1,000 กรัม (ร้อยละ 100) และอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ (ร้อยละ 53.6) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.001)
สรุป: ปัจจัยที่มีผลต่อค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลทารกแรกเกิด ในหอผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤติ คือน้ำหนักทารกแรกเกิดและอายุครรภ์ โดยค่าใช้จ่ายสูงสุดและมีการขาดทุนสูงสุดในกลุ่มน้ำหนักแรกเกิด น้อยกว่า 1,000 กรัม และอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ เนื่องจากจำนวนวันนอนโรงพยาบาลนานกว่า การทำหัตถการที่มากกว่า ในทางกลับกัน ค่าใช้จ่ายลดลงและการขาดทุนลดลงเมื่อน้ำหนักแรกเกิดมากขึ้นและอายุครรภ์เพิ่มขึ้น
References
2. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมและค่าน้ำหนักสัมพัทธ์ ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพ; 2554.
3. Narang A, Kiran PS, Kumar P. Cost of neonatal intensive care in a tertiary care center. Indian Pediatr. 2005;42(10):989-97.
4. Akman I, Cebeci D, Ozek E, et al. Effects of perinatal factors on the duration and cost of hospitalization for preterm infants in a neonatal intensive care unit in Istanbul. Turk J Med Sci. 2002;32:159-63.
5. Kirkby S, Greenspan JS, Kornhauser M, et al. Clinical outcomes and cost of the moderately preterm infant. Adv Neonatal Care. 2007;7(2):80-7.
6. Powell PJ, Powell CV, Hollis S, et al. When will my baby go home? Arch Dis Child. 1992;67(10):1214-6.
7. Cömert S, Ağzıkuru T, Akin Y, et al. The Cost Analysis of Preterm Infants from a NICU of a State Hospital in Istanbul. Iran J Pediatr. 2012;22(2):185-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์