ลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยติดเชื้อโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

ผู้แต่ง

  • Kitti Intharasukphon, M.D. กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

คำสำคัญ:

โรคแบคทีเรียกินเนื้อ, เบาหวาน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: ศึกษาลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วยโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา

วิธีการศึกษา: การวิจัยแบบพรรณนาเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยโรคแบคทีเรียกินเนื้อ ในโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 299 ราย

ผลการศึกษา: การศึกษาพบผู้ป่วยเพศชาย 158 ราย (ร้อยละ 52.8) เป็นกลุ่มแรงงานต่างชาติ 26 ราย (ร้อยละ 8.7) มีโรคประจำตัวอย่างน้อย 1 โรค จำนวน 205 ราย (ร้อยละ 68.6) โรคประจำตัวร้อยละ 48.6 คือ โรคเบาหวาน ผู้ป่วยไม่มีประวัติของการเกิดบาดแผล จำนวน 182 ราย (ร้อยละ 60.9) สาเหตุของการเกิดการติดเชื้อของผู้ป่วยโรคแบคทีเรียกินเนื้อเกิดจากบาดแผลถูกทิ่มตำ จำนวน 47 ราย (ร้อยละ 15.7) ในด้านการรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับการผ่าตัดเนื้อตายเพียง 1 ครั้ง จำนวน 234 ราย (ร้อยละ 78.3) หายจากการป่วยจำนวน 227 ราย (ร้อยละ 75.9) และอาการดีขึ้นสามารถกลับไปรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้านได้ จำนวน 26 ราย (ร้อยละ 8.7) อย่างไรก็ตามยังมีผู้ป่วย จำนวน 17 ราย (ร้อยละ 5.7) ที่อาการไม่ดีขึ้นต้องส่งต่อโรงพยาบาลที่มีศักยภาพสูงขึ้น มีผู้ป่วยที่ต้องตัดขา จำนวน 1 ราย และเสียชีวิต จำนวน 26 ราย (ร้อยละ 8.7) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีวันนอนโรงพยาบาลเฉลี่ยที่ 8.8 วัน และมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 29,230 บาทต่อราย

สรุป: ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีโรคเบาหวานเกือบร้อยละ 50 ส่วนใหญ่ไม่มีประวัติบาดแผล สาเหตุที่เหลือเกิดจากการบาดเจ็บเล็กน้อยนำมาสู่การเกิดโรคแบคทีเรียกินเนื้อ แม้ผลการรักษาของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนามีอัตราหายสูง แต่ยังพบผู้ป่วยเสียชีวิตสูง ดังนั้นการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว และในการป้องกันควรม่งเน้นการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน ทั้งการควบคุมเบาหวาน และการดูแลป้องกันการเกิดบาดแผลเมื่อได้รับการบาดเจ็บเพื่อลดการเสียชีวิตจากโรคนี้

Author Biography

Kitti Intharasukphon, M.D., กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี

ว.ว. ศัลยศาสตร์

References

1. Miller JD. The importance of early diagnosis and surgical treatment of necrotizing fasciitis. Surg Gynecol Obstet. 1983;157(3):197-200.

2. Kujath P, Eckmann C, Hoch J. Necrotizing fasciitis-epidemiology-diagnosis and therapeutic approach. Zentralbl Chir. 1996;121 Suppl:47-8.

3. Zittergruen M, Grose C. Magnetic resonance imaging for early diagnosis of necrotizing fasciitis. Pediatr Emerg Care. 1993;9(1):26-8.

4. Bock KH. Diagnosis and therapy of necrotizing fasciitis. Hyperbaric oxygenation as a supplemental therapy form. Dtsch Med Wochenschr. 1996;121(4):116-7.

5. Goh T, Goh LG, Ang CH, et al. Early diagnosis of necrotizing fasciitis. Br J Surg. 2014;101(1):e119-25.

6. Varma R, Stashower ME. Necrotizing fasciitis: delay in diagnosis results in loss of limb. Int J Dermatol. 2006;45(10):1222-3.

7. Stevens DL, Bisno AL, Chambers HF, et al. Practice guidelines for the diagnosis and management of skin and soft tissue infections: 2014 update by the Infectious Diseases Society of America. Clin Infect Dis. 2014;59(2):e10-52.

8. Bilton BD, Zibari GB, McMillan RW, et al. Aggressive surgical management of necrotizing fasciitis serves to decrease mortality: a retrospective study. Am Surg. 1998;64(5):397-400.

9. Sun X, Xie T. Management of Necrotizing Fasciitis and Its Surgical Aspects. Int J Low Extrem Wounds. 2015;14(4):328-34.

10. Ryan CA, Fischer J, Gayle M, et al. Surgical and postoperative management of two neonates with necrotizing fasciitis. Can J Surg. 1993;36(4):337-41.

11. Jallali N, Withey S, Butler PE. Hyperbaric oxygen as adjuvant therapy in the management of necrotizing fasciitis. Am J Surg. 2005;189(4):462-6.

12. Taviloglu K, Yanar H. Necrotizing fasciitis: strategies for diagnosis and management. World J Emerg Surg. 2007;2:19.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-04-28