การประเมินผลนโยบายสำคัญ : กรณีศึกษาโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558
คำสำคัญ:
การประเมินผล, นโยบาย, พัฒนาการเด็กบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมิน บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงานและผลผลิตของโครงการส่งเสริมพัฒนาการเด็กเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในโอกาสฉลองพระชนมายุ 5 รอบ 2 เมษายน 2558 ในเขตสุขภาพที่ 5
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเก็บรวบรวมข้อมูลแบบผสานวิธีเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - กรกฎาคม 2560 จากกลุ่มตัวอย่างและผู้ให้ข้อมูลสำคัญในเขตสุขภาพที่ 5 จำนวน 532 คน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ แล้วสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: 1) บริบทโครงการพบว่า แนวทางตามคู่มือ DSPM/DAIM ของโครงการมีความเหมาะสม เครื่องมือมีความละเอียดและความไว ทำให้ค้นพบเด็กที่มีพัฒนาการล่าช้ามากขึ้น มีวิธีช่วยกระตุ้น แก้ไขเด็กให้มีพัฒนาการกลับมาสมวัยได้มากขึ้น มีระบบส่งต่อที่ชัดเจน พ่อแม่ ผู้ปกครอง ผู้เลี้ยงดูเด็กสามารถส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการตามคู่มือด้วยตนเองได้ 2) ปัจจัยนำเข้าของโครงการพบว่า ผู้บริหารและผู้รับผิดชอบให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการทุกจังหวัด มีการจัดประชุม และอบรมเชิงปฏิบัติการให้เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ มีการถ่ายทอดนโยบายและแนวทางการดำเนินงาน รวมทั้งการติดตามประเมินผล สนับสนุนเอกสารคู่มือแนวทางการปฏิบัติงานและอุปกรณ์เครื่องมือการตรวจประเมิน แต่พบว่าส่วนใหญ่ไม่เพียงพอ 3) กระบวนการดำเนินงานตามกิจกรรมของโครงการพบว่า ทุกจังหวัดให้หน่วยบริการทุกแห่งคัดกรอง/ประเมินพัฒนาการเด็กได้ตามเป้าหมาย แต่ยังไม่ครอบคลุมเด็กทุกคน ซึ่งการคัดกรองสามารถค้นพบเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้มากกว่าแนวทางการคัดกรองแบบเดิม 4) ประเมินผลการดำเนินงาน พบว่ามีความครอบคลุมการคัดกรองตามกลุ่มเป้าหมาย และการค้นหาเด็กสงสัยพัฒนาการล่าช้าได้ตามเป้าหมายที่กระทรวงกำหนด ส่วนการติดตามส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการเด็กที่พบสงสัยล่าช้าได้ครอบคลุมเด็ก ทุกคนภายใน 30 วัน พบว่ายังไม่ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายทุกคน แต่เด็กที่ได้รับการส่งเสริม/กระตุ้นพัฒนาการสงสัย ล่าช้าภายใน 30 วัน พบว่าเด็กกลับมามีพัฒนาการสมวัย ร้อยละ 94.6 ส่วนเด็กที่ได้รับการแก้ไขภายใน 30 วันแล้ว ยังมีพัฒนาการล่าช้า ในปี 59 พบเพียงร้อยละ 5.4
References
2. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์สุขภาพกระทรวงสาธารณสุขด้านส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรค ปีงบประมาณ พ.ศ. 2557 (5 Flagship Projects). กรุงเทพฯ: ม.ป.พ.; 2557.
3. โสภณ เมฆธน. วิกฤตพัฒนาการเด็กปฐมวัยของไทยต่ำกว่ามาตรฐานถึง 30% เร่งค้นหาเพื่อแก้ไขทันท่วงที. [อินเทอร์เน็ต]. เจาะลึกระบบสุขภาพ; 2560 [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.hfocus.org/content/
4. Stufflebeam DL. CIPP Evaluation Model Checklist year 2002. [cite 1 March 2017]. Available from: URL: https://www.wmich. edu/evalctr/checklists.
5. นิตยา คชภักดิ, ศิริกุล อิศรานุรักษ์. คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย. [อินเทอร์เน็ต]. คุณภาพเครื่องมือ DSPM และ DAIM; 2557. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.thaichilddevelopment.com/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์