อุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการได้รับยาแก้ปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง ในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช

ผู้แต่ง

  • Wenpen Kunka, B.N.S. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  • Pataya Paethogkum, B.N.S. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  • Khanistha Pansuwan, B.N.S. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
  • Ratikorn Anusorntanawat, M.D. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: วัตถุประสงค์หลักคือ ศึกษาอุบัติการณ์การได้รับยาแก้ปวด วัตถุประสงค์รองคือ ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการได้รับยาแก้ปวดของผู้ป่วยผ่าตัดช่องท้อง และศึกษาความสมบูรณ์ของการบันทึกคะแนนปวดก่อนให้ยาแก้ปวดในห้องพักฟื้น

วัสดุและวิธีการ: การศึกษาเชิงวิเคราะห์จากเหตุไปหาผล โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดช่องท้องในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จำนวน 752 ฉบับ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2555 ถึง 31 ธันวาคม 2557 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบถดถอยโลจิสติกพหุนามในการวิเคราะห์หาปัจจัยเสี่ยง

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์การได้รับยาแก้ปวดจำนวน 193 ราย (ร้อยละ 25.7) ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 4 ปัจจัย ได้แก่  1) ตำแหน่งที่ผ่าตัด โดยตำแหน่งที่ผ่าตัดใต้สะดือมีโอกาสได้รับยาแก้ปวดในห้องพักฟื้นน้อยกว่า 0.44 เท่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดเหนือสะดือ (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 0.25, 0.76, p=0.003) 2) ระยะเวลาที่ทำผ่าตัดเมื่อเทียบกับระยะเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง พบว่าที่ 1-2 และ 2-3 ชั่วโมง มีโอกาสได้ยาแก้ปวดมากกว่า 2.36 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 1.56, 3.57, p<0.001) และ 6.06 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 2.50, 14.67, p<0.001) ตามลำดับ 3) ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในห้องพักฟื้น โดยช่วงนอกเวลาราชการ (16.00-8.00 น.) มีโอกาสได้รับยาแก้ปวดน้อยกว่าผู้ป่วยที่อยู่ในห้องพักฟื้นในช่วงเวลาราชการ (8.00-16.00 น.) 0.41 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 0.27, 0.61, p<0.001) และ 4) การลงบันทึกคะแนนปวดเมื่อเทียบการลงบันทึกทุกครั้งพบว่า การลงบันทึกบางครั้งและไม่บันทึกเลยมีโอกาสได้รับยาแก้ปวดน้อยกว่า 0.54 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95 : 0.37, 0.79, p=0.001) และ 0.11 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95: 0.01, 0.89, p=0.04) ตามลำดับ และพบความสมบูรณ์ของการบันทึกคะแนนปวดก่อนให้ยาแก้ปวดในห้องพักฟื้น จำนวน 433 ราย (ร้อยละ 57.6)

สรุป : พบอุบัติการณ์การได้รับยาแก้ปวดในห้องพักฟื้นต่ำ เนื่องจากขาดการบันทึกลงในเวชระเบียนการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ปัจจัยอื่นๆ ที่เพิ่มอุบัติการณ์ ได้แก่ ช่วงเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในห้องพักฟื้นในเวลาราชการระยะเวลาที่ทำผ่าตัดนานกว่า และตำแหน่งที่ผ่าตัดเหนือสะดือ

Author Biographies

Wenpen Kunka, B.N.S., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

อนุมัติบัตรสาขาการพยาบาลด้านการระงับความรู้สึก อบ.,

Pataya Paethogkum, B.N.S., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

อนุมัติบัตรสาขาการพยาบาลด้านการระงับความรู้สึก อบ.,

Khanistha Pansuwan, B.N.S., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

อนุมัติบัตรสาขาการพยาบาลด้านการระงับความรู้สึก อบ.,

Ratikorn Anusorntanawat, M.D., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ว.ว. วิสัญญีวิทยา

References

1. เจือกุล อโนธารมณ์. บทบาทของพยาบาลในการป้องกันอาการปวดจากการผ่าตัด. วารสารพยาบาลศาสตร์ 2550;25(1):14-23.

2. อนงค์ สุทธิพงษ์ และคณะ. การพัฒนาศักยภาพพยาบาลเพื่อการจัดการความปวดให้แก่ผู้ป่วยโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารสมาคมพยาบาลสาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556;31(4):181-8.

3. สุปิตา สงคง, วงจันทร์ เพชรพิเชษฐเชียร, วิภา แซ่เซี้ย.การตัดสินใจทางคลินิกเกี่ยวกับความปวดหลังผ่าตัดและพฤติกรรมการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดของพยาบาล. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551;26(5):459-67.

4. ยศพล เหลืองโสมนภา, ศรีสุดา งามขำ. ความสนใจต่อความปวด. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30(1):83-93.

5. สุธันนี สิมะจารึก และคณะ. ประสิทธิผลการระงับปวดหลังผ่าตัดในผู้ป่วยที่มารับบริการผ่าตัดช่องท้องส่วนบนโรงพยาบาลศรีนครินทร์. ศรีนครินทร์เวชสาร 2557;29(3):269-75.

6. นัทธมน วุทธานนท์ และคณะ. การพัฒนาการจัดการความปวดทางการพยาบาลในผู้ป่วยศัลยกรรม. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2551;16(4):1-11.

7. นิตยา ธีรวิโรจน์, อมรรัตน์ คงนุรัตน์, ทรงพร กว้างนอก และคณะ. การศึกษาสภาพการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลบุรีรัมย์. วารสารสมาคมพยาบาลสาขา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2554;29(4):1-39.

8. บุษรา ดาวเรือง, นิโรบล กนก สุนทรรัตน์, ดรุณี ชุณหะวัต. ผลของโปรแกรมการจัดการความปวดหลังผ่าตัดโรคกระดูกและข้อ ต่อความรู้ของพยาบาลการรับรู้ของผู้ป่วยต่อการปฏิบัติพยาบาลและต่อผลลัพธ์ของการจัดการความปวด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2555;18(3):358-71.

9. จิราภี สุนทรกุล ณ ชลบุรี, สุธีรา จักรกุล เหลืองสุขเจริญ. การประเมินผลการจัดการความปวดเฉียบพลันในโรงพยาบาลรามาธิบดี. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2552;15(3):303-14.

10. จันทรา อรัญโชติ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลกาฬสินธุ์. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2557;7(1):28-38.

11. อรพรรณ ไชยชาติ, วงจันทร์ เพชรพิเชฐเชียร, ศศิธร พุมดวง. ศึกษาความรุนแรงของความปวด ปัจจัยส่วนบุคคล ความคาดหวัง และความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดช่องท้องของทีมสุขภาพ. สงขลานครินทร์เวชสาร 2549;24(2):101-9.

12. เสาวนันทา เลิศพงษ์ และนงลักษณ์ สุศร. การศึกษาผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น ในกลุ่มงานวิสัญญีวิทยาโรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557;29(2):93-101.

13. มนัสนันท์ ศิริสกุลเวโรจน์. ประสิทธิผลของการใช้แนวทางเวชปฏิบัติ การระงับปวดหลังผ่าตัด ต่อการบรรเทาปวดในผู้ป่วยที่ได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในสถาบันบำราศนราดูร. วารสารวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2552;3(2):22-31.

14. สรชัย ศรีสุมะ. สรีรวิทยาระบบหายใจ. (ออนไลน์). ภาควิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. [เข้าถึงเมื่อ 15 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้จาก URL : http://www.ps.si.mahidol.ac.th/courseware/storeresources/51_SS_Resp1.pdf

15. พงค์ภารดี เจาะฑะเกษตริน และคณะ. บำบัดความปวด. กรุงเทพฯ: หน่วยระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลมหาวิทยาลัยมหิดล; 2547.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-05