ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ในโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Chutima Trainapakul, M.D. กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยที่คลอดในโรงพยาบาลราชบุรี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนของมารดาทั้งหมดที่มาคลอดในโรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559 จำนวน 2,725 ราย และข้อมูลทารกที่คลอดทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 2,751 ราย โดยเก็บข้อมูลของมารดา ได้แก่ อายุ สถานภาพการสมรส อาชีพ ลำดับที่ของการตั้งครรภ์ อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก ภาวะโลหิตจาง การมาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ อายุครรภ์เมื่อมาคลอด ประวัติการแท้ง การตั้งครรภ์วัยรุ่น ภาวะถุงน้ำคร่ำแตกก่อนเจ็บครรภ์ ครรภ์แฝด วิธีการคลอด โรคความดันโลหิตสูง และโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ข้อมูลของทารก ได้แก่ น้ำหนักแรกเกิด เพศ ทารกพิการแต่กำเนิด และภาวะทารกขาดออกซิเจนหลังคลอด เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลและวิเคราะห์หาความสัมพันธ์โดยการทดสอบ chi-square กำหนดค่าความเชื่อมั่นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 95

ผลการศึกษา: พบว่าเป็นทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย 359 ราย คิดเป็นร้อยละ 13.05 ของทารกทั้งหมด ส่วนใหญ่มารดา อายุ 17- 35 ปี (ร้อยละ 84.4) สถานภาพสมรส (ร้อยละ 50.3) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 56.8) ตั้งครรภ์ท้องหลัง (ร้อยละ 57) มาฝากครรภ์ครบ 5 ครั้งตามเกณฑ์คุณภาพ (ร้อยละ 52.1) คลอดเมื่ออายุครรภ์ครบกำหนด (ร้อยละ 89.3) ไม่มีประวัติการแท้งบุตร (ร้อยละ 97.9) ไม่มีภาวะความดันโลหิตสูง (ร้อยละ 94.6) ไม่มีภาวะโลหิตจาง (ร้อยละ 89.3) ไม่มีภาวะติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 99.6) ครรภ์เดี่ยว (ร้อยละ 98.1) ทารกไม่พิการแต่กำเนิด (ร้อยละ 91.5) และไม่พบภาวะทารกขาดออกซิเจนหลังคลอด (ร้อยละ 98.3) พบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ดังนี้ มารดาอายุน้อยกว่า 17 ปี อาชีพรับจ้าง การตั้งครรภ์ท้องหลัง มารดามาฝากครรภ์ไม่ครบ 5 ครั้ง ตามเกณฑ์คุณภาพ มารดามาคลอดเมื่ออายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ มารดามีประวัติแท้งบุตร มารดามีโรคความดันโลหิตสูง มารดามีภาวะโลหิตจาง มารดามีภาวะติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ครรภ์แฝด ทารกพิการแต่กำเนิด และภาวะทารกขาดออกซิเจนหลังคลอด

สรุป: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ได้แก่ หญิงตั้งครรภ์อายุน้อยกว่า 17 ปี อาชีพรับจ้าง การตั้งครรภ์ท้องหลัง ภาวะโลหิตจาง การฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์คุณภาพ การคลอดก่อนกำหนด ประวัติการแท้ง ครรภ์แฝด มีโรคความดันโลหิตสูง มีภาวะติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ ทารกพิการแต่กำเนิด และภาวะทารกขาดออกซิเจนหลังคลอด

Author Biography

Chutima Trainapakul, M.D., กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

ว.ว. สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา

References

1. World Health Organization. International statistical classification of diseases and related health problems. 10th ed. Geneva: World Health Organization 2010: p. 685.

2. Overview of obstetrics. In: Cunningham FG, Leveno KJ, Bloom SL, et al, editors. Williams obstetrics. 24th ed. New York: McGraw-Hill; 2014. p.1-13.

3. เอดิ ปริยาโน, ศิริกุล อิศรานุรักษ์ และ จิราพร ชมพิกุล. ปัจจัยเสี่ยงด้านมารดาที่มีผลต่อการเกิดทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย ณ โรงพยาบาลเฟทมาวาติ กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดเนเซีย. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา 2551;6(1):123-33.

4. กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2551. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

5. กรมอนามัย. รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

6. สุธิต คุณประดิษฐ์. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย จุดเริ่มต้นในทารกสู่โรคเรื้อรังในวัยผู้ใหญ่. จุฬาลงกรณ์
เวชสาร 2547;48(5):310-22.

7. สุดารัตน์ วัฒนโยธิน. การวิเคราะห์หาปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะขาดออกซิเจน ระยะคลอด และภาวะแรกเกิดน้ำหนักน้อย ของโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม 2546;27(1):35-42.

8. วิสุทธิ์ สุวิทยะศิริ, มานิต ศรีประโมทย์ และปราโมทย์ เชิดรัตนรักษ์. ความสัมพันธ์ของการฝากครรภ์ไม่ดีกับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยและการคลอดก่อนกำหนด. วารสารวชิรเวชสาร 2546;47(1):9-15.

9. อรนุช สมอุดร. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบ้านหมี่. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2551;17(5):774-82.

10. พรรณพิศ วิทยถาวรวงศ์, กรรณิกา สหเมธาพัฒน์, อุบลรัตน์ ภักดีจันทร์. ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม. วารสารกุมารเวชสาร 2551;15(1):34-5.

11. กลุ่มอนามัยแม่และเด็ก สำนักส่งเสริมสุขภาพกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. สมุดบันทึกสุขภาพแม่และเด็ก. นนทบุรี: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2557.

12. ประคอง ตั้งสกุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำหนักตัวของทารกแรกเกิดต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา 2554;6(2):113-22.

13. สุรชัย พงศ์หล่อพิศิษฏ์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร 2552;30(3):146-53.

14. สำเริง ไตรติลานันท์. ปัจจัยเสี่ยงการคลอดทารกน้ำหนักตัวน้อยในโรงพยาบาลพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 2551;2(1):886-90.

15. ศิริกาญน์ ลอยเมฆ และคณะ. อัตราและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์. วารสารวิชาการแพทย์เขต 8 2546;11(1):15-25.

16. วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. โภชนาการในระหว่างตั้งครรภ์. วารสารศรีนครินทร์เวชสาร 2542;14(2):141-5.

17. วรพงศ์ ภู่พงศ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. ใน: ธีระพงศ์ เจริญวิทย์ และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2551. หน้า 445-52.

18. สุพัตรา ศิริโชติยะกุล, ธีระ ทองสง. ภาวะทารกโตช้าในครรภ์. ใน: ธีระ ทองสง, ชานนท์ วนาภิรักษ์, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. ฉบับเรียบเรียงครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: พี.บี. ฟอเรน บุ๊คส เซนเตอร์; 2541. หน้า 289-98.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-05