ประสิทธิผลของรูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบบูรณาการ โรงพยาบาลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • Sompob Muangchun, M.D. โรงพยาบาลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
  • Jirapa Charoensuk, B.N.S. โรงพยาบาลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
  • Supansa Wongpat, B.N.S. โรงพยาบาลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อพัฒนาและประเมินรูปแบบการดูแลรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอลแบบบูรณาการในอำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา

วิธีการศึกษา : การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง โดยนำ FRAMES structure และ i-map health มาเป็นต้นแบบในการพัฒนารูปแบบการดูแลรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร่วมกับแนวคิดการบริการแบบไร้รอยต่อ (lean and seamless) บูรณาการด้วยทีมสหสาขาวิชาชีพและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยและญาติที่เข้ารับบริการรักษาพยาบาลในคลินิกบำบัดสุราของโรงพยาบาลเชียงม่วน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (simple random sampling) ส่วนกลุ่มตัวอย่างบุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย แพทย์ เจ้าหน้าที่พยาบาลและสาธารณสุขในโรงพยาบาลเชียงม่วน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) ดำเนินการศึกษาวิจัยเป็นเวลา 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 – 31 ธันวาคม 2559

ผลการศึกษา : โรงพยาบาลเชียงม่วน ได้พัฒนารูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์ภายใต้การสร้างความร่วมมือกับบุคลากรและภาคีเครือข่าย มีการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์นโยบายสาธารณะเพื่อความมั่นคงด้านสุขภาพในชุมชนอย่างเป็นรูปธรรม มีการคัดกรองผู้ที่มีปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกจุดบริการ จากการประเมินประสิทธิผลพบว่า ร้อยละ 93.14 เป็นเพศชาย ร้อยละ 60.78 อายุระหว่าง 40 - 60 ปี ผู้มีปัญหาการบริโภคแอลกอฮอล์ทุกคนได้รับการส่งต่อเข้ารับคำปรึกษาจากคลินิกบำบัดสุรา ด้วยวิธีการบำบัดแบบสั้นร่วมกับการเสริมสร้างสมรรถภาพแห่งตน และผู้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกรายสมัครใจขอลดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ลงโดยไม่ใช้ยา ส่วนการบำบัดรักษาภาวะถอนพิษสุราในกลุ่มผู้ที่มีปัญหาทั้งหมด 24 ราย พบว่าผู้ป่วยทุกรายได้รับการประเมินติดตามอาการขาดสุรา ในขณะที่การดูแลระยะยาวหลังการรักษาพบว่า กลุ่มที่เข้าบำบัดรักษาได้รับการติดตามเยี่ยมบ้าน จนสามารถเลิกการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ทุกราย

สรุป : ประสิทธิผลรูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แบบบูรณาการโรงพยาบาลเชียงม่วน จังหวัดพะเยา ภายใต้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย การระดมสรรพกำลังจากทุกภาคส่วนผ่านกลไกระดับชุมชน โดยใช้มิติทางวัฒนธรรมและสังคมเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาร่วมกับมาตรฐานการดูแล จะนำไปสู่ประสิทธิภาพ และความต่อเนื่องในการแก้ปัญหาการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งในระดับพื้นที่และระดับชาติได้อย่างยั่งยืนต่อไป

References

1. World Health Organization. Management of Substance Abuse Unit. Global status report on alcohol and health, 2014. Geneva: World Health Organization; 2014.

2. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากร พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2555.

3. Thomas FB, et al. Alcohol No Ordinary Commodity: research and public policy. 2 ed. New York : Oxford University Press; 2010.

4. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. สถานการณ์การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และผลกระทบในประเทศไทย ปี 2556, รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2552. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2556.

5. World Health Organization. Evidence-based strategies and interventions to reduce alcohol related harm (Document A60/14). World Health Organization, Geneva; 2000.

6. World Health Organization. Global Status Report: Alcohol Policy 2004. World Health Organization; 2004.

7. World Health Organization.. International guide for monitoring alcohol consumption and related harm; World Health Organization, Geneva; 2000.

8. สุมนทิพย์ จิตสว่าง. ความสัมพันธ์ของการเสพ สุรากับอาชญากรรม. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย; 2553.

9. สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ. รายงานภาระโรคและการบาดเจ็บของประชากรไทย พ.ศ. 2552. นนทบุรี: สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2555.

10. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของประชากร พ.ศ.2554. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2555.

11. Eileen K, Amy D’Donnell. Brief intervention: does it work?. In: Peter B, Paolo B, Albert BL, et al. editors. Alcohol: Science, Policy and Public Health. Oxford: Oxford University Press; 2013. p. 325-31.

12. พันธุ์นภา กิตติรัตนไพบูลย์. คู่มือสำหรับผู้ปฏิบัติ: รูปแบบการดูแลผู้มีปัญหาการดื่มสุราในระบบสุขภาพฉบับทดลองนำร่อง 2553. เชียงใหม่: แผนงานการพัฒนาระบบรูปแบบและวิธีการบำบัดรักษาผู้มีปัญหาการบริโภคสุราแบบบูรณาการ (ผรส.); 2553.

13. Fairbanks CB. Using Six Sigma and Lean methodologies to improve OR throughput. AORN J 2007;86(1):73-82.

14. World Health Organization. People at the centre of health care: harmonizing mind and body, people and systems. Geneva: the Institute; 2007.

15. Wakabayashi M, Meketin R, Banwell C, et al. Alcohol consumption patterns in Thailand and their relationship with non-communicable disease. BMC Public Health 2015;15:1297.

16. ทักษพล ธรรมรังสี. งดเหล้าเข้าพรรรษาให้อะไรกับสังคมไทย: ถอดบทเรียนเจ็ดปีของการรณรงค์ พ.ศ. 2553. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ; 2553.

17. Thamarangsi T. Thailand: alcohol today. Addiction. 2006;101(6):783-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-05