วิเคราะห์ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการจัดหาเครื่องมือการตรวจวินิจฉัยทางรังสีที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูง ในสถานบริการสุขภาพภาครัฐ
คำสำคัญ:
สถานภาพองค์ความรู้, รัฐประศาสนศาสตร์, บริบททางการเมืองบทคัดย่อ
ปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่อาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงมาให้บริการมากขึ้นโดยเฉพาะเครื่องตรวจวินิจฉัยทางรังสี ในสถานบริการสุขภาพระดับตติยภูมิภาครัฐเกือบทุกแห่งจะมีเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scanner) และเครื่องสร้างภาพด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ซึ่งวิธีการจัดหาที่นิยมใช้กันอยู่มี 2 วิธี คือ 1. เช่าเหมาบริการ (outsourcing) ซึ่งเป็นการเช่าทั้งเครื่องและให้บริษัทจัดหาผู้ปฏิบัติงานด้วย และ 2. เช่าเครื่องอย่างเดียว เมื่อวิเคราะห์ในข้อกฎหมายแล้ว จะเห็นได้ว่าสัญญาเช่าเหมาบริการเป็นสัญญาทางปกครองตามมาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ตามหลักกฎหมายมหาชน เนื่องจากเป็นการให้บริษัทเอกชนเข้ามามีส่วนในการจัดทำบริการสาธารณะ ซึ่งสัญญาทางปกครองนี้เป็นสัญญาที่มีลักษณะพิเศษที่แสดงถึงเอกสิทธิ์ของรัฐเหนือเอกชน จึงเห็นว่าควรนำลักษณะข้อนี้มาใช้ในการตกลงค่าใช้จ่าย โดยกำหนดราคาแน่นอนเป็นรายเดือนสำหรับเช่าเครื่องพร้อมเจ้าหน้าที่ของบริษัท และการแปลผล แทนการจ่ายตามปริมาณงานเช่นทุกวันนี้ โดยจะทำให้ควบคุมรายจ่ายได้และเป็นผลดีแก่สถานบริการภาครัฐในระยะยาว
References
2. สมเกียรติ โพธิสัตย์, อรุณี ไทยะกุล, วรนุตร อรุณรัตนโชติ, และคนอี่นๆ. โครงการวิจัยการบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์ : การบริหารจัดการเครื่องมือแพทย์ในระดับโรงพยาบาล. นนทบุรี: กลุ่มภารกิจวิชาการ สำนักพัฒนาวิชาการแพทย์ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
3. อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล. การบริหารจัดการเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2539.
4. Beinfeld MT, Gazelle GS. Diagnostic imaging costs: are they driving up the costs of hospital care? Radiology 2005;235(3):934-9.
5. Perry S. Technology assessment in health care: the U.S. perspective. Health Policy 1988;9(3):317-24.
6. ประยูร กาญจนดุล. คำบรรยายกฎหมายปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2538.
7. นันทวัฒน์ บรมานันท์. สัญญาทางปกครอง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: วิญญูชน; 2550.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์