อัตราความชุกภาวะตาขี้เกียจในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Sujintana Tanterdtham, M.D. กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลนครปฐม
  • Natchapan Pathompituknukoon, B.N.S กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราความชุกภาวะตาขี้เกียจในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดนครปฐม

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) โดยทบทวนข้อมูลจากแบบฟอร์มบันทึกผลการตรวจตาโดยทีมจักษุแพทย์ ของเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4,012 คน จาก 162 โรงเรียน ทบทวนตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2560 สถิติที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ ความถี่และร้อยละ

ผลการศึกษา: เด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4,012 คน จาก 162 โรงเรียน มีเด็ก 163 คน (ร้อยละ 4.06) ที่ไม่ผ่านเกณฑ์การคัดกรองระดับการเห็นเบื้องต้นโดยเกณฑ์ผ่าน คือ ระดับสายตาดีกว่า 20/40+3 ทั้งสองตา และไม่พบความผิดปกติที่เห็นได้ชัด เช่น ตาเหล่ หนังตาตก พบอัตราชุกของภาวะตาขี้เกียจ ร้อยละ 0.67

สรุป: อัตราความชุกภาวะตาขี้เกียจในเด็กชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 1 จังหวัดนครปฐม คิดเป็นร้อยละ 0.67 ใกล้เคียงกับการศึกษาที่ผ่านมาในประเทศไทย

Author Biographies

Sujintana Tanterdtham, M.D., กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. จักษุวิทยา

Natchapan Pathompituknukoon, B.N.S, กลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม

ศศ.ม. รัฐศาสตร์

References

1. เมธี จรัสอรุณฉาย, ณัฐนันท์ สกุลสิริทิวากร, วัฒนีย์ เย็นจิตร. ตาเหล่และตาขี้เกียจในประเทศไทย. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2557; 3 เมษายน พ.ศ. 2557; ณ มหาวิทยาลัยรังสิต ปทุมธานี.

2. กัลยา ตีระวัฒนานนท์ และคณะ. การประเมินความถูกต้องและความเป็นไปได้ ในการตรวจคัดกรองภาวะสายตาผิดปกติในเด็กไทย ระดับชั้นอนุบาลและประถม โดยคุณครู. นนทบุรี: โครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ; 2555.

3. นภาพร ตนานุวัฒน์ และคนอื่นๆ. ผลการสำรวจภาวะสายตาผิดปกติในเด็กวัยเรียน : โครงการ โสต จักษุ สัมผัสโรงเรียน. เชียงใหม่เวชสาร 2545;41(2):81-8.

4. Williams C, Northstone K, Howard M, et al. Prevalence and risk factors for common vision problems in children: data from the ALSPAC study. Br J Ophthalmol 2008;92:959-64.

5. Pai AS, Rose KA, Leone JF, et al. Amblyopia prevalence and risk factors in Australian preschool children. Ophthalmology 2012;119:138-44.

6. Chia A, Dirani M, Chan YH, et al. Prevalence of amblyopia and strabismus in young Singaporean Chinese children. Invest Ophthalmol Vis Sci 2010;51:3411-7.

7. Aldebasi YH. Prevalence of amblyopia in primary school children in Qassim province, Kingdom of Saudi Arabia. Middle East Afr J Ophthalmol 2015;22(1):86-91.

8. Multi-ethnic Pediatric Eye Disease Study Group. Prevalence of amblyopia and strabismus in African American and Hispanic children ages 6 to 72 months the multi-ethnic pediatric eye disease study. Ophthalmology 2008;115(7):1229-36.

9. ณัฐพล วงษ์คำช้าง, ชินสุต อรุณากูร. ผลของยาลดการเพ่งต่อค่าสายตาผิดปกติในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ช่วงอายุ 8-10 ปี. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2551;3(2):11-7.

10. ศักดิ์ชัย วงศกิตติรักษ์. การใช้ยา Tropicamide ในการวัดระดับสายตาผิดปกติในเด็ก. วารสารจักษุธรรมศาสตร์ 2549;1(1):11-9.

11. Hussein MA, Coats DK, Muthialu A, et al. Risk factors for treatment failure of anisometropic amblyopia. J AAPOS 2004;8:429-34.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-10