อัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิด PSVT โดยการเป่าหลอดฉีดยา : การศึกษานำร่อง

ผู้แต่ง

  • Bodeepat Worathitianan, M.D. กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนครปฐม

บทคัดย่อ

ในปัจจุบันการทำ valsalva maneuver เพื่อรักษาภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิด paroxysmal supraventricular tachycardia (PSVT) มีหลายวิธี แต่พบว่ายังไม่มีวิธีที่เป็นมาตรฐานที่ดีที่สุด (gold standard) จากข้อมูลพบว่ามีอัตราความสำเร็จในการรักษาในเวชปฏิบัติเพียงร้อยละ 5-20 ดังนั้นการศึกษาเทคนิควิธีการรักษาแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพ และมีหลักฐานเชิงประจักษ์ ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวทางการรักษาต่อไปในอนาคต

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอัตราความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิด PSVT โดยการเป่าหลอดฉีดยา

วิธีดำเนินการวิจัย: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลัง เพื่อศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วย ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2557–สิงหาคม 2559 ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น PSVT ร่วมกับได้รับการรักษาโดยการเป่าหลอดฉีดยาขนาด 10 มิลลิลิตร ในท่านอนหงาย เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 15 วินาที

ผลการวิจัย: จากข้อมูลพบว่ามีผู้ป่วยจำนวนทั้งหมด 15 ราย เป็นผู้ป่วยเพศชาย 6 ราย (ร้อยละ 40) เพศหญิง 9 ราย (ร้อยละ 60) ได้ผลสำเร็จในการรักษาภาวะ PSVT โดยวิธีการเป่าหลอดฉีดยาจำนวน 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 53.3 และไม่พบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดในกระบวนการรักษา ปัจจัยด้านอายุของผู้ป่วยมีผลต่ออัตราความสำเร็จของการทำ valsalva maneuver โดยการเป่าหลอดฉีดยา โดยกลุ่มที่รักษาสำเร็จมีอายุเฉลี่ย 38.5 (±17.8) ปี เทียบกับกลุ่มที่รักษาไม่สำเร็จมีอายุเฉลี่ย 47 (±6.2) ปี (p-value 0.001)

สรุป: การศึกษานำร่องพบว่า การทำ valsalva maneuver ด้วยการเป่าเหลอดฉีดยา สามารถใช้รักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิด PSVT ได้ผลดี โดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยอายุน้อย ซึ่งสามารถทำได้สะดวกในเวชปฏิบัติไม่คุกคาม (non invasive) ต่อผู้ป่วย ประหยัด และปลอดภัย

Author Biography

Bodeepat Worathitianan, M.D., กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินและนิติเวช โรงพยาบาลนครปฐม

ว.ว. เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

References

1. Page RL, Joglar JA, Caldwell MA, et al. 2015 ACC/AHA/HRS Guideline for the Management of Adult Patients With Supraventricular Tachycardia: A Report of the American College of Cardiology/American Heart Association Task Force on Clinical Practice Guidelines and the Heart Rhythm Society. J Am CollCardiol 2016;67(13):e27-e115.

2. Appelboam A, Reuben A, Mann C, et al. Postural modification to the standard Valsalvamanoeuvre for emergency treatment of supraventricular tachycardias (REVERT): a randomised controlled trial. Lancet 2015;386(10005):1747-53.

3. Taylor DM, Wong LF. Incorrect instruction in the use of the Valsalva manoeuvre for paroxysmal supra-ventricular tachycardia is common. Emerg Med Australas 2004;16(4):284-7.

4. Neumar RW, Otto CW, Link MS, et al. Adult advanced cardiovascular life support: 2010 American Heart Association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care. Circulation 2010;122(18 Suppl 3):S729-67.

5. Link MS, Berkow LC, Kudenchuk PJ, et al. Web-based integrated 2010 & 2015 American heart association guidelines for cardiopulmonary resuscitation and emergency cardiovascular care: part 7 adult advanced cardiovascular life support. [online] 2010-2015 [cited 2017 Feb 20]. Available from URL: https://eccguidelines. heart.org/index.php/circulation/cpr-eccguidelines-2/part-7-adult-advancedcardiovascular-life-support/.

6. Smith GD, Fry MM, Taylor D, et al. Effectiveness of the Valsalva Manoeuvre for reversion of supraventricular tachycardia. Cochrane Database Syst Rev. 20138;3:CD009502.

7. Klabunde RE. Hemodynamics of a Valsalva maneuver. Cardiovascular physiology concepts. [online] 2014. [cited 2015 June 8]. Available from URL: http://www. cvphysiology.com/Hemodynamics/H014.htm.

8. บดีภัทร วรฐิติอนันต์. การเป่าหลอดฉีดยาเพื่อรักษาผู้ป่วยหัวใจเต้นเร็วผิดจังหวะชนิด SVT : รายงานผู้ป่วย 1 ราย. วารสารแพทย์เขต 4-5 2558;34(4):319-26.

9. Walker S, Cutting P. Impact of a modified Valsalva manoeuvre in the termination of paroxysmal supraventricular tachycardia. Emerg Med J 2010;27:287-91.

10. Taylor DM, Wong LF. Incorrect instruction in the use of the valsalva manoeuvre for paroxysmal supraventricular tachycardia is common. Emerg Med Australas 2004;16(4):284-7.

11. Smith G, Boyle MJ. The 10 mL syringe is useful in generating the recommended standard of 40 mmHg intrathoracic pressure for the Valsalva manoeuvre. Emerg Med Australas 2009;21(6):449-54.

12. Mehta D, Wafa S, Ward DE, et al. Relative efficacy of various physical manoeuvres in the termination of junctional tachycardia. Lancet 1988;1(8596):1181-5.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-10