การใช้เข็มขัดรัดสายเคเบิ้ลไท ในการช่วยยึดตรึงกระดูกชั่วคราวในการผ่าตัดรักษาภาวะกระดูกต้นขาหัก

ผู้แต่ง

  • Teeranit Praphruetkit, M.D. กลุ่มงานศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

ธุรกิจข้าว, ผูกปิ่นโตข้าว, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

บทคัดย่อ

     เข็มขัดรัดสาย ส่วนใหญ่ถูกนำมาใช้ในงานไฟฟ้า หรืองานอุตสาหกรรม เนื่องด้วยความสามารถในการยึดสิ่งของที่แข็งแรง และการใช้ที่ง่าย สะดวกรวดเร็ว ยังไม่มีรายงานการใช้เข็มขัดรัดสายในการรักษาผู้ป่วยทางศัลยกรรมกระดูกผู้วิจัยจึงนำมาประยุกต์ใช้ในผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกต้นขาหัก 1 ราย โดยใช้เข็มขัดรัดสายในการยึดตรึงชั่วคราว ก่อนที่จะใส่แผ่นโลหะเพื่อดามกระดูกต้นขา เข็มขัดรัดสายที่นำมาใช้รัดปลายกระดูกหักทั้งสองข้าง ให้ความแข็งแรงมั่นคง เพียงพอ โดยไม่ต้องใช้เครื่องมืออื่นในการช่วยยึดตรึงกระดูกชั่วคราว และยังสามารถใช้งานได้โดยใช้เวลาสั้นกว่า การใช้วัสดุยึดตรึงกระดูกชั่วคราวชนิดอื่น ภายหลังการผ่าตัด ไม่พบการติดเชื้อ และภาพถ่ายเอกซเรย์มีการแสดง การติดของกระดูกปกติ

Author Biography

Teeranit Praphruetkit, M.D., กลุ่มงานศัลยกรรมกระดูก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

ว.ว. ศัลยศาสตร์ออร์โธปิดิกส์

References

1. Singer BR, McLauchlan GJ, Robinson CM, et al. Epidemiology of fractures in 15,000 adults: the influence of age and gender. J Bone Joint Surg Br 1998;80:243-8.

2. Rockwood CA, Green DP, Bucholz RW, et al. Rockwood and Green’s fractures in adults. Vol 1, 4th ed. Philadelphia, PA: Lippincott-Raven; 1996.

3. Costa MR, Oliveira AL, Ramos RM, et al. Ligation of the mesovarium in dogs with a self-locking implant of a resorbable polyglycolic based co-polymer: a study of feasibility and comparison to suture ligation. BMC Res Notes 2016;9:245.

4. Höglund OV, Ingman J, Södersten F, et al. Ligation of the spermatic cord in dogs with a self-locking device of a resorbable polyglycolic based co-polymer—feasibility and long-term follow-up study. BMC Res Notes 2014;7:825.

5. Cokelaere SM, Martens AM, Wiemer P. Laparoscopic ovariectomy in mares using a polyamide tie-rap. Vet Surg 2005;34:651 – 6.

6. Downs C, Rodgerson D. The use of nylon cable ties to repair rib fractures in neonatal foals. Can Vet J 2011;52(3):307-9.

7. Grapow MT, Melly LF, Eckstein FS, et al. A new cable-tie based sternal closure system: description of the device, technique of implantation and first clinical evaluation. J Cardiothorac Surg 2012;7:59.

8. Melly L, Gahl B, Meinke R, et al. A new cable-tie-based sternal closure device: infectious considerations. Interact Cardiovasc Thorac Surg 2013;17:219-23.

9. Mendes GC, Brandão TR, Silva CL. Ethylene oxide sterilization of medical devices: a review.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-10