ความคาดหวังและประสบการณ์ของผู้ป่วย เกี่ยวกับระดับความรู้สึกตัวระหว่างผ่าตัด ด้วยวิธีระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน
บทคัดย่อ
การที่ผู้ป่วยยังคงรู้สึกตัวระหว่างการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (regional anesthesia) หรือ ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัว (level of consciousness) ไม่ตรงกับที่คาดหวังไว้ อาจส่งผลต่อสภาวะจิตใจหรือความพึงพอใจโดยรวมได้ การศึกษาครั้งนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความคาดหวังด้านระดับความรู้สึกตัวของผู้ป่วย และประสบการณ์ที่ได้รับระหว่างผ่าตัด รวมถึงศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และความพึงพอใจโดยรวมของผู้ป่วยกลุ่มนี้ต่อการให้บริการทางวิสัญญี
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงสังเกตแบบไปข้างหน้า ในผู้ป่วย 130 ราย ที่มาผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วน โดยใช้วิธีระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน (regional anesthesia) ที่โรงพยาบาลหัวหิน ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2560 โดยให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความรู้สึกตัว และประสบการณ์ด้านต่างๆ ในระหว่างผ่าตัด ข้อมูลทางสถิติถูกวิเคราะห์โดยโปรแกรม SPSS version18
ผลการศึกษา: ในระหว่างการผ่าตัด ผู้ป่วยส่วนใหญ่ยังคงต้องการรู้สึกตัวบ้าง โดยร้อยละ 66 ของผู้ป่วยนั้น ความคาดหวังต่อระดับความรู้สึกตัวกำหนดโดยวิสัญญีแพทย์หรือทีมวิสัญญี จากการวิเคราะห์ตัวแปรเดียว พบว่าความวิตกกังวลก่อนผ่าตัดและความไม่สุขสบายระหว่างผ่าตัด สัมพันธ์กับภาวะที่ผู้ป่วยมีระดับความรู้สึกตัวต่างกับที่คาดหวังเกิน 4 คะแนน (p=0.03 and 0.029 ตามลำดับ) และประเภทของผู้ให้ความรู้แก่คนไข้สัมพันธ์กับประสบการณ์ด้านวิสัญญีอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.005)
สรุป: ผลของการศึกษานี้ได้ย้ำให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสารระหว่างทีมวิสัญญีและผู้ป่วย และการให้ความรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับการระงับความรู้สึกเฉพาะส่วน รวมถึงระดับความรู้สึกตัวระหว่างผ่าตัด เพื่อพัฒนาและปรับปรุงการดูแลทางวิสัญญีให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
References
2. Sessler DI, Sigl JC, Kelley SD, et al. Hospital stay and mortality are increased in patients having a “triple low” of low blood pressure, low bispectral index, and low minimum alveolar concentration of volatile anesthesia. Anesthesiology 2012;116(6):1195–203.
3. Neuman MD, Silber JH, Elkassabany NM, et al. Comparative effectiveness of regional versus general anesthesia for hip fracture surgery in adults. Anesthesiology 2012;117:72-92.
4. Memtsoudis SG, Sun X, Chiu YL, et al. Perioperative comparative effectiveness of anesthetic technique in orthopedic patients. Anesthesiology 2013;118:1046-58.
5. Practice Guidelines for Obstetric Anesthesia: An Updated Report by the American Society of Anesthesiologists Task Force on Obstetric Anesthesia and the Society for Obstetric Anesthesiaand Perinatology. Anesthesiology 2016;124:270-300.
6. Association of Anaesthetists of Great Britain and Ireland, Griffiths R, Alper J, et al. Managementof proximal femoral fractures 2011: Association of Anaesthetists of Great Britain and Ireland. Anaesthesia 2012;67:85-98.
7. Division of Anesthesiology, Hua Hin hospital. Summary statistic report of anesthesia service; August 2016 – June 2017.
8. Attri JP, Gupta KK, Khetarpal R. Emerging trends of sedation during regional anesthesia. Anaesth Pain & Intensive Care 2015;19:527-32.
9. Höhener D, Blumenthal S, Borgeat A. Sedation and regional anesthesia in the adult patient. Br J Anaesth 2008;100:8-16.
10. Brown CH, Azman AS, Gottschalk A, et al. Sedation depth during spinal anesthesia and survival in elderly patients undergoing hip fracture repair. Anesth Analg 2014;118:977–80.
11. Kent CD, Mashour GA, Metzger NA, et al. Psychological impact of unexpected explicit recall of events occurring during surgery performed under sedation, regional anaesthesia, and general anaesthesia: data from the Anesthesia Awareness Registry. Br J Anaesth 2013;110:381-7.
12. Esaki RK, Mashour GA. Levels of consciousness during regional anesthesia and monitored anesthesia care: patient expectations and experiences. Anesth Analg 2009;108(5):1560-3.
13. Dave S, Harde M, Patil S, et al. Patients’ Expectations and Experiences of Levels of Consciousness during Regional Anesthesia and Monitored Anesthesia Care: A Prospective Study in Indian Population. IOSR-JDMS 2016;15:65-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์