ผลของการใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นต่อความเจ็บปวดแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด

ผู้แต่ง

  • Suwannee Naka, B.N.S., M.Ed งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อเปรียบเทียบความเจ็บปวดแผลฝีเย็บระหว่างก่อนกับหลังการใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นของมารดาหลังคลอด

วิธีการศึกษา:  การศึกษาแบบย้อนหลัง (retrospective study) โดยศึกษาจากแฟ้มประวัติมารดาหลังคลอดที่ได้รับการตัดฝีเย็บแบบ mediolateral ด้านซ้ายหรือขวา มีการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับ 2 ไม่มีการติดเชื้อหรือไม่มีก้อนเลือดคั่งที่แผลฝีเย็บ (hematoma) ไม่มีภาวะแทรกซ้อนหรือตกเลือดหลังคลอด (postpartum hemorrhage) ทุกคนนอนพักรักษาเป็นเวลา 1-3 วันอยู่ในหอผู้ป่วยหลังคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี ตั้งแต่ เดือนพฤษภาคมถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 จำนวน 101 ราย เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบประเมินความเจ็บปวดแผลฝีเย็บ โดยใช้มาตรวัดความเจ็บปวดชนิดเป็นตัวเลข ระหว่างก่อนกับหลังการใช้ห่วงฟองน้ำรองก้น และแบบประเมินระดับความพึงพอใจ นำเสนอข้อมูลเป็นค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (Χ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และสถิติทดสอบค่าที (t- test)

ผลการศึกษา:  ความเจ็บปวดแผลฝีเย็บก่อนใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นของมารดาหลังคลอดอยู่ที่ระดับ 6.70 ± 1.45 และความเจ็บปวดแผลฝีเย็บหลังใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นของมารดาหลังคลอดอยู่ที่ระดับ 3.69 ± 1.43 ซึ่งการใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นทำให้ระดับความเจ็บปวดแผลฝีเย็บลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .01) สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับประโยชน์ในการใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นจากมากไปน้อย ได้แก่ ช่วยทุเลาอาการเจ็บปวดแผลฝีเย็บ สุขสบายขณะนั่งให้นมบุตร และทำให้ทารกดูดนมมารดาได้นานขึ้น ร้อยละ 89.1, 73.3, 30.7 ตามลำดับ ส่วนความพึงพอใจในการใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 60.4

สรุป:  การใช้ห่วงฟองน้ำรองก้นสามารถลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บระยะแรกหลังคลอดในมารดาหลังคลอด ทั้งยังสร้างความพึงพอใจด้านบริการพยาบาลให้แก่มารดาหลังคลอดในระดับมากด้วย

Author Biography

Suwannee Naka, B.N.S., M.Ed, งานผู้ป่วยใน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (ประชากรศึกษา)

พยาบาลศาสตรบัณฑิต

References

1. อุบลรัตน์ ระวังโค, โสมภัทร ศรไชย. การนวดฝีเย็บด้วยน้ำมันมะพร้าวต่อผลลัพธ์ของฝีเย็บและเวลาในระยะที่ 2 ของการคลอดในมารดาคลอดปกติครั้งแรก. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25(2):25-39.

2. ทิพย์วรรณ จันทร์มณี และคณะ. ผลของการใช้ความเย็นและความร้อนต่อการอักเสบและความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บในมารดาหลังคลอด. นนทบุรี: วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2557;32(4):25-34.

3. สุภาพร ปรารมย์ และคณะ. ผลของการประคบแผลฝีเย็บหลังคลอดด้วยผ้าอนามัยชุบน้ำเกลือเย็นและผ้าอนามัยชุบน้ำสะอาดเย็นต่อการลดความเจ็บปวดและการบวมของแผลฝีเย็บ. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2558;25(1):133-43.

4. Royal College of Obstetricians and Gynaecologists [RCOG]. Guidelines methods and Maternals used in perineal repair. Clinical Green Top No.23. 2004. [Cited 2010 Dec 1]. Available from URL: http://www.tums.ac.ir/briefcase/forouzan/perinealrepair.

5. รังสินี พูลเพิ่ม. ผ้าอนามัยเย็น : การลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บภายหลังการเย็บซ่อมแซมแผลฝีเย็บ. วารสารพยาบาลทหารบก 2557;15(3):32-7.

6. สร้อย อนุสรณ์ธีรกุล. การดูแลฝีเย็บในระยะคลอดและหลังคลอด. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

7. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. คู่มือประเมินมาตรฐานอนามัยแม่และเด็ก. นนทบุรี: กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

8. งานห้องคลอด โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. รายงานสถิติการคลอด พ.ศ. 2557-2559. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5; 2560.

9. สุวรรณี นาคะ, สุณิสา สุดยอด และประไพ นิ่มคำ. นวัตกรรมเรื่องน้องอิ่มแน่ แม่สบายใช้ห่วงฟองน้ำรองก้น. การประชุมวิชาการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 7 กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข วันที่ 8 -10 กรกฎาคม 2557 ณ โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ; 2557.

10. Steen M. Perineal tears and episiotomy: How do wounds heal? British Journal of Midwifery 2007;15(5):273-9.

11. วิทยา ถิฐาพันธ์. Evidence-based Postpartum Care. สารศิริราช 2549;58:835-9.

12. รัชนี สีสุข และคณะ. การบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยที่มีแผลฝีเย็บด้วยการใช้หมอนรูปโดนัทที่บรรจุใยโพลีเอสเตอร์เปรียบเทียบกับหมอนที่บรรจุเม็ดโฟม. อุตรดิตถ์: หอผู้ป่วยพิเศษ 4, 6 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์; 2556.

13. รัชนี วีระวงศ์ และคณะ. รายงานการจัดการความรู้เรื่อง หมอนรองนั่งเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดแผลฝีเย็บและริดสีดวงทวารหนักในมารดาหลังคลอด. นครสวรรค์: กลุ่มงานสูติกรรม ศูนย์อนามัยที่ 3; 2556.

14. จิรชัย นิ่มไชยนันท์ และคณะ. ผลการประคบแผลฝีเย็บผู้คลอดด้วยถุงน้ำเย็นผลิตเอง เพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม. สวรรค์ประชารักษ์เวชสาร 2555;9:127-41.

15. ฉวีวรรณ อยู่สำราญ, วิทยา ถิฐาพันธ์, อัมพร คงจีร. การลดความเจ็บปวดของฝีเย็บด้วยการประคบเย็นภายหลังเย็บแผลฝีเย็บทันที. วารสารวิจัยทางการพยาบาล 2550;11:87-95.

16. Aasheim V, Nilsen A BV, Lukasse M, et al. Perineal techniques during the second stage of labour for reducing perineal truama. Cochrane Database Syst Rev 2017;6:CD006672.

17. Dahlen HG, Hommer C. Perineal trauma and postpartum perineal morbidity in Asian and Non-Asia primiparous women giving birth in Australia. J Obstet Gynecol Neonatal Nurs 2008;37(4):455-63.

18. East CE, Begg L, Henshall NE, et al. Local cooling for relieving pain from perineal trauma sustained during childbirth. Cochrane Database Syst Rev 2007;(4):CD006304.

19. Littleton LY, Engebretson JC. Postpartum nursing care. In: Littleton LY, Engebretson JC, Littleton LY, et al, editors. Maternity nursing care. Ottawa: Thomson Delma learning; 2010. p. 666-90.

20. Mehrnaz G, Zahra RH, Bijan F, et al. Reducing perineal trauma through perineal massage with Vaseline in secone stage of labor. Arc Gynecol Obstetic 2012;285(1):77-81.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-11