ความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ในเทศบาลเมืองราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Kanogphan Tanthatamec, RN. โรงพยาบาลราชบุรี

บทคัดย่อ

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) เพื่อศึกษาความต้องการพื้นฐานในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย ในเทศบาลเมืองราชบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้สูงอายุที่มาเข้าร่วมกิจกรรมของชมรมผู้สูงอายุ ทั้ง 5 แห่ง ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี จำนวน 303 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย  และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประกอบด้วย  ผู้ให้บริการด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพที่ดูแลชมรมผู้สูงอายุ เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่อาสาสมัครสาธารณสุข จำนวน 100 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา

     ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ที่เป็นผู้สูงอายุเห็นว่าสถานบริการแบบไปกลับ ควรมีห้องหรือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายกลางแจ้ง มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายในร่ม มีห้องรับประทานอาหารส่วนกลาง มีบริเวณที่เป็นสนามหญ้าหรือสวนหย่อมเพื่อใช้ในการพักผ่อน และเห็นด้วยที่จะมีห้องนอนพักเป็นสัดส่วน ร้อยละ 96.7, 95.1, 94.7, 94.7, 94.1, และ 41.9 ตามลำดับ สำหรับความต้องการด้านการบริการคิดว่าควรมีกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุ มีบริการรถรับส่งกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีกิจกรรมตรวจสุขภาพฟัน ตรวจสุขภาพประจำปี และมีการให้ความรู้เรื่องทั่วไป ร้อยละ 98.5, 97.4, 97.0, 97.0, และ 96.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 95.7 ของกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้มีสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชน ร้อยละ 93.4  มีความสนใจไปใช้บริการสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับ และคิดว่าถ้ามีสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชนมีประโยชน์มากต่อกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 93.1 และกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่าสถานบริการแบบไปกลับควรมีห้องหรือพื้นที่ส่วนกลางสำหรับทำกิจกรรมร่วมกัน มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายกลางแจ้ง มีพื้นที่สำหรับออกกำลังกายในร่ม มีห้องรับประทานอาหารส่วนกลาง มีบริเวณที่เป็นสนามหญ้าหรือสวนหย่อมเพื่อใช้ในการพักผ่อน และเห็นด้วยที่จะมีห้องนอนพักเป็นสัดส่วน ร้อยละ 95.0, 92.0, 97.0, 95.0, 94.0, และ 66.0 ตามลำดับ สำหรับความต้องการด้านการบริการคิดว่าควรมีกิจกรรมตรวจสุขภาพเบื้องต้นให้ผู้สูงอายุ มีบริการรถรับส่งกรณีอุบัติเหตุฉุกเฉิน มีกิจกรรมตรวจสุขภาพฟัน ตรวจสุขภาพประจำปี และมีการให้ความรู้เรื่องทั่วไป ร้อยละ 98.0, 99.0, 96.0, 97.0, และ 96.0 ตามลำดับ นอกจากนี้ร้อยละ 85.0 ของกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการให้มีสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชน ร้อยละ 79.0 มีความสนใจไปใช้บริการสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับ และคิดว่าถ้ามีสถานบริการผู้สูงอายุแบบไปกลับในชุมชนมีประโยชน์มากต่อกลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 87.0 ตามลำดับ ดังนั้นการพัฒนารูปแบบบริการสำหรับผู้สูงอายุแบบไปกลับนั้นควรพิจารณาถึงความต้องการของประชาชนในชุมชน ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับการพัฒนารูปแบบการดูแลที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุต่อไป

Author Biography

Kanogphan Tanthatamec, RN., โรงพยาบาลราชบุรี

ประกาศนียบัตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ชั้นสูง

References

1. มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2559. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.); 2560.

2. สถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). รายงานประจำปีสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2555. นนทบุรี: คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ; 2555.

3. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ. การคาดประมาณประชากรของประเทศไทย พ.ศ. 2553-2583. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เดือนตุลา; 2556.

4. ชัชฎาภรณ์ จิตตา, บรรณาธิการ. ร้อยละตำบลที่มีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ใน: ชุมชนผ่านเกณฑ์. แผนการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปีงบประมาณ 2560; 19 มกราคม 2560; สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดราชบุรี.

5. สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ. คู่มือการดำเนินงานศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ: สำนักส่งเสริมและพิทักษ์ผู้สูงอายุ; 2556.

6. บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย; 2547.

7. กาญจนา พิบูลย์, พวงทอง อินใจ, มยุรี พิทักษ์สิน, และคนอื่นๆ. ความต้องการในการจัดบริการการดูแลผู้สูงอายุแบบไปกลับ. วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา 2559;11(2):44-52.

8. เจ๊ะยารีเย๊าะ เจะโซ๊ะ. ความต้องการบริการสุขภาพและแบบแผนบริการสุขภาพของผู้สูงอายุที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพและฟื้นฟูสภาพ คณะพยาบาลศาสตร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ภาควิชาพยาบาลศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

9. วิราพรรณ วิโรจน์รัตน์ และคณะ. การพัฒนาระบบบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุที่ต้องพึ่งพาผู้อื่น. วารสารสภาการพยาบาล 2557;29(3):104-15.

10. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. การสำรวจประชากรสูงอายุในประเทศไทย พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ; 2557.

11. กาญจนา พิบูลย์ และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2553.

12. กฤติน อัศววิชัย. สภาวะน่าสบายเชิงอุณหภาพสำหรับผู้สูงอายุภายในบ้านพักคนชราในประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

13. ปฏิพันธุ์ แทนเมือง. แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงด้านกายภาพศูนย์เอนกประสงค์สำหรับผู้สูงอายุ [วิทยานิพนธ์ปริญญาสถาปัตยกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต]. ภาควิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์, บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2557.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-11