การประเมินผลการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดเพชรบุรี
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลการดำเนินงานการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ของจังหวัดเพชรบุรี
วัสดุและวิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยผสมผสาน โดยใช้แนวคิดและทฤษฎีระบบ (system theory) เก็บข้อมูลเชิงปริมาณด้วยแบบสอบถามจากผู้ให้บริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) และผู้รับบริการในพื้นที่รับผิดชอบของ รพ.สต. จำนวน 118 แห่ง ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวนกลุ่มละ 92 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบชั้นภูมิตามขนาดของ รพ.สต. ส่วนข้อมูลเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลซึ่งใช้การคัดเลือกแบบเจาะจงจากผู้ให้บริการส่งเสริมพัฒนาการเด็กใน รพ.สต. และผู้รับบริการในพื้นที่รับผิดชอบ จำนวนกลุ่มละ 8 คน ดำเนินการระหว่างเดือนสิงหาคม-ธันวาคม 2560 ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: 1) ปัจจัยนำเข้า พบว่า มีการประชาสัมพันธ์ให้ผู้เกี่ยวข้องและผู้รับบริการทราบ มีบุคลากรเพียงพอ มีระบบสนับสนุนการบันทึกข้อมูล มีแผนดำเนินการแยกออกจากวันฉีดวัคซีน ผู้รับบริการได้รับการเยี่ยมบ้านจากอาสาสมัครสาธารณสุข มีความสะดวกในการเดินทางไปรับบริการ และมีเวลาส่งเสริมพัฒนาการให้บุตรหลาน แต่พบปัญหา ได้แก่ ผู้ให้บริการยังขาดทักษะความชำนาญ คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริม พัฒนาการเด็กปฐมวัยและชุดอุปกรณ์ประเมินพัฒนาการยังไม่เพียงพอ ไม่มีห้องที่เหมาะสมกับการประเมินพัฒนาการ ไม่มีอาสาสมัครสาธารณสุขเชี่ยวชาญพัฒนาการเด็ก และขาดความร่วมมือจากหน่วยงานในพื้นที่ 2) กระบวนการ พบว่า ผู้ให้บริการมีการเตรียมตัว เตรียมข้อมูล อุปกรณ์และสถานที่ มีการติดต่อผู้รับบริการ ล่วงหน้า มีการสร้างสัมพันธภาพกับเด็กและให้ผู้ปกครองมีส่วนร่วม มีการเยี่ยมบ้านกระตุ้นพัฒนาการและติดตามเด็กที่ไม่มาตามนัด มีการแปลผลและแจ้งผู้ปกครองพร้อมแจ้งกำหนดนัด และบันทึกข้อมูลทันเวลา ในส่วนผู้รับบริการ พบว่าเคยอ่านคู่มือเฝ้าระวังฯ เคยจัดหาอุปกรณ์ฝึกกระตุ้นพัฒนาการบุตรหลานและนำไปประเมินพัฒนาการตามนัดโดยมีส่วนร่วมกับการประเมินด้วย ปัญหาที่พบ คือมีการเลี้ยงดูเด็กไม่ถูกต้อง ซึ่งจำเป็นต้องให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง เช่น การเลือกอาหารที่เหมาะสมกับเด็ก 3) ผลการดำเนินงาน พบว่า ผู้ให้บริการและผู้รับบริการมีความรู้อยู่ในระดับปานกลาง ( = 6.71 และ 5.68) ผู้ให้บริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง (= 3.33) ส่วนผู้รับบริการมีความพึงพอใจอยู่ในระดับสูง (= 3.96) ค้นหาเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้ตามเกณฑ์ (ร้อยละ 21.0) และเด็กมีพัฒนาการสมวัยผ่านเกณฑ์ (ร้อยละ 88.8) ปัญหาที่พบ ได้แก่ ผู้ให้บริการขาดความรู้เกี่ยวกับเป้าหมายตัวชี้วัด การคัดกรองพัฒนาการครอบคลุมเด็กเป้าหมายได้เพียงร้อยละ 72.6 และติดตามเด็กที่พบพัฒนาการสงสัยล่าช้าได้เพียง ร้อยละ 50.5
References
2. สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. บันทึกการประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ครั้งที่ 8/2557; 2557.
3. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข) พ.ศ. 2559 – 2579. กรุงเทพฯ: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2558.
4. สำนักส่งเสริมสุขภาพ. กรมอนามัย. รายงานการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปี 2557. เอกสารเพื่อทราบ; 2557.
5. สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สรุปผลการตรวจราชการและนิเทศงานกรณีปกติระดับกระทรวง กระทรวงสาธารณสุข รอบที่ 2 ประจำปีงบประมาณ 2557. กรุงเทพฯ: สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2558.
6. Taro Yamane. Statistics: an introductory analysis. 3rd ed. New York: Harper and Row; 1973.
7. Bertalanffy LV. The history and status of general systems theory. [cite 7 March 2017]. Available from: URL: http://perflensburg.se/Bertalanffy.pdf.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์