การตายโดยผิดธรรมชาติ: ศึกษาย้อนหลัง 5 ปี ที่โรงพยาบาลราชบุรี
บทคัดย่อ
การศึกษาเชิงพรรณนาย้อนหลังนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสาเหตุการตายที่สำคัญ และลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการตายโดยผิดธรรมชาติในโรงพยาบาลราชบุรี โดยศึกษาข้อมูลย้อนหลังเป็นเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2553 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2557 มีผู้ตายโดยผิดธรรมชาติ 2,418 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 77.6) อัตราส่วนเพศชายต่อเพศหญิงคือ 3.5 ต่อ 1 มีอายุเฉลี่ย 43 ปี ผู้ตายส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 31 ถึง 45 ปี (ร้อยละ 27.9) สาเหตุตายที่พบมากที่สุดคือ ตายจากอุบัติเหตุจราจร รองลงมาคือตายโดยกะทันหันจากโรค ซึ่งพบว่าส่วนใหญ่ตายจากโรคหัวใจ โดยครึ่งหนึ่งเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ พฤติการณ์การตายจากอุบัติเหตุที่สำคัญ นอกเหนือจากอุบัติเหตุจราจร คือ หกล้มหรือตกจากที่สูง จมน้ำตายและถูกกระแสไฟฟ้าช็อต การตายจากการฆาตกรรม พบว่าส่วนใหญ่ตายจากอาวุธปืน การตายจากการฆ่าตัวตายพบว่า ส่วนใหญ่ตายจากกินสารพิษ และแขวนคอตาย กรณีนักโทษตายพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชายและตายจากโรคติดเชื้อเอชไอวี การลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจราจร การบังคับใช้กฎหมายเกี่ยวกับอาวุธปืนโดยเข้มงวด การป้องกันปัจจัยเสี่ยงจากอุบัติเหตุในแต่ละช่วงอายุ จะช่วยลดอุบัติการณ์การตายโดยผิดธรรมชาติลงได้
References
2. สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการปฏิบัติงานนิติเวช (สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์) กระทรวงสาธารณสุข. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2557.
3. สุพจน์ พวงลำใย. การตายโดยผิดธรรมชาติ : ศึกษาย้อนหลัง 3 ปี ที่โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2550;32:3-8.
4. บุญศักดิ์ หาญเทิดสิทธิ์. ศพคดีที่ได้รับการชันสูตรโดยแพทย์โรงพยาบาลลำพูน: ทบทวนย้อนหลัง 3 ปี. วารสารสาธารณสุขล้านนา 2550;3:16-24.
5. จรูญศักดิ์ นวลแจ่ม. การตายโดยผิดธรรมชาติ ในวชิรพยาบาล. วชิรเวชสาร 2543;44:45-53.
6. อัมพร แจ่มสุวรรณ, อรัญรัตน์ วิไลพิศ, พัชรี ศรีอุทธา. การเสียชีวิตโดยผิดธรรมชาติในเด็ก : ศึกษาในจังหวัดขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2555;27:37-42.
7. He M, Fang YX, Lin JY, et al. Unnatural deaths in Shanghai from 2000 to 2009: a retrospective study of forensic autopsy cases at the Shanghai Public Security Bureau. PLoS One 2015;10:e0131309.
8. Udnoon J, Chirachariyavej T, Peonim V. Sudden unexpected deaths in different age groups at Ramathibodi Hospital, Bangkok, Thailand: a retrospective autopsy study during 2003-2007. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2009;40:162-8.
9. สุชาดา เกิดมงคลการ และคณะ. สถานการณ์การตกน้ำ จมน้ำของเด็กในประเทศไทย. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุข/องค์การอนามัยโรค; 2552.
10. Jordans MJ, Kaufman A, Brenman NF, et al. Suicide in South Asia: a scoping review. BMC Psychiatry 2014;14:358.
11. Sritus P, Tiensuwan M, Riengrojpitak S. A retrospective study on suicide autopsy cases from Ramathibodi Hospital in Bangkok Thailand. The 5th CIFS Academic day [Internet]. 2010 [Cited 2015 Jan 10]. Available from: URL: http://forensic.sc.mahidol.ac.th/proceeding/50_Panarat.pdf
12. Gopal BK, Viswakanth B, Shruthi P, et al. A retrospective analysis of suicidal poisoning deaths in a metropolitan city of South India. J Indian Acad Forensic Med 2015;37:140-3.
13. วิรุจน์ คุณกิตติ, นิภา นุศรีอัน, พัชรี ศรีอุทธา. การฆาตกรรม: การชันสูตรพลิกศพใน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2553;25:24-30.
14. Pattarapanitchai N, Tiensuwan M, Riengrojpitak S. A retrospective study on homicidal autopsy cases at Ramathibodi Hospital in Bangkok Thailand. Chiang Mai J Sci 2010;37:282-92.
15. สุพจน์ พวงลำใย. การตายจากอาวุธปืน : ศึกษาย้อนหลัง 5 ปี ที่โรงพยาบาลชลบุรี. วารสารโรงพยาบาลชลบุรี 2555;37:158-64.
16. Myint S, Worasuwanarak W, Rerkamnuaychoke B, et al. A retrospective study of fatal firearm injuries on autopsy cases at Ramathibodi Hospital, Bangkok. Proceedings of the 2nd Asean Plus Three Graduate Research Congress (2ndAGRC), Bangkok [Internet]. 2014 [Cited 2015 Jan 10]. Available from: URL: http://www.forensic.sc.mahidol.ac.th/proceeding/55_Sithu.PDF
17. Noonan ME, Carson EA. Bureau of Justice Statistics. Prison and Jail Deaths in Custody, 2000-2009-Statistical Tables [Internet]. 2011 [Cited 2015 Jan 10]. Available from: URL: http://www.bjs.gov/content/pub/pdf/pjdc0009st.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์