อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาวะความดันโลหิตต่ำในมารดาที่ได้รับการระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังระหว่างการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

ผู้แต่ง

  • Ratikorn Anusorntanawat, M.D., M.Sc. กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของภาวะความดันโลหิตต่ำและระบุปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับภาวะความดันโลหิตต่ำเพื่อนำมาใช้ในป้องกันภาวะนี้ ในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยยาชาทางช่องน้ำไขสันหลังระหว่างการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง

วัสดุและและวิธีศึกษา : การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบไปข้างหน้า เก็บข้อมูลตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2557 ถึง 15 มีนาคม 2558 ในหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง 583 คน ได้รับสารละลายเกลือแกง (0.9% NaCl) 10 มิลลิลิตร/กิโลกรัม ทางเส้นเลือดดำภายใน 15-20 นาที ก่อนให้การระงับความรู้สึกทางช่องน้ำไขสันหลังด้วยยาชาบูพิวาเคน ความเข้มข้นร้อยละ 0.5 ปริมาณ 2.2 มิลลิลิตร ผสมยามอร์ฟีน 0.2 มิลลิกรัม จากนั้นให้ผู้ป่วยนอนหงายหนุนสะโพกขวาให้ท้องเอียงไปทางซ้าย บันทึกอุบัติการณ์ภาวะความดันโลหิตต่ำ (ความดันซิสโตลิก < ร้อยละ 80 ของค่าความดันซิสโตลิกพื้นฐาน หรือ < 90 มิลลิเมตรปรอท) และให้การรักษาด้วยยาฟีนิลเอฟริน ความเข้มข้น 100 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ให้ทางเส้นเลือดดำครั้งละ 1 มิลลิลิตร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการถดถอยโลจิสติกและพื้นที่ใต้กราฟ

ผลและอภิปรายการศึกษา : พบอุบัติการณ์ของภาวะความดันโลหิตต่ำ ร้อยละ 61 (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 57.7, 65.7 ) อุบัติการณ์จะสูงขึ้นถ้าผู้ป่วยมีภาวะความดันโลหิตต่ำขณะนอนหงายในหญิงตั้งครรภ์ (สัดส่วนแต้มต่อปรับแล้ว 3.82, ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 1.07, 13.59, p=0.04, พื้นที่ใต้กราฟ 0.69) ปัจจัยอื่นๆ คือ ระดับการชาที่ 5 นาทีหลังจากฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับ ระดับ T12-T5 พบว่า ที่ระดับ T4-T1 มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 2.85 เท่า (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 1.89, 4.3, p<0.001) และที่ระดับ C5-C1 มีอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น 7.65 เท่า (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 2.66, 22.04, p<0.001) และข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือเมื่อเปรียบเทียบกับภาวะน้ำคร่ำน้อย พบว่า ภาวะศีรษะทารกในครรภ์ไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ 2.20 เท่า (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 1.31, 3.70, p=0.003) และภาวะผ่าตัดคลอดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อนเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำ 2.35 เท่า (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 คือ 1.37, 4.00, p=0.002)

สรุป : ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะความดันโลหิตต่ำ คือ ภาวะความดันโลหิตต่ำขณะนอนหงายในหญิงตั้งครรภ์ ระดับการชาที่ 5 นาทีหลังจากฉีดยาชาเข้าช่องน้ำไขสันหลังเสร็จ เหนือระดับ T5 โดยเฉพาะระดับ C และข้อบ่งชี้ในการผ่าตัด คือภาวะศีรษะทารกในครรภ์ไม่ได้สัดส่วนกับช่องเชิงกรานและภาวะผ่าตัดคลอดในการตั้งครรภ์ครั้งก่อน เมื่อเปรียบเทียบกับภาวะน้ำคร่ำน้อย

Author Biography

Ratikorn Anusorntanawat, M.D., M.Sc., กลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี

ว.ว.วิสัญญีวิทยา

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาสุขภาพ

References

1. Habib AS. A review of the impact of phenylephrine administration on maternal hemodynamics and maternal and neonatal outcomes in women undergoing cesarean delivery under spinal anesthesia. Anesth Analg 2012;114(2):377-90.

2. Sanborn KV, Castro J, Kuroda M, et al. Detection of intraoperative incidents by electronic scanning of computerized anesthesia records. Comparison with voluntary reporting. Anesthesiology 1996;85(5):977-87.

3. Cyna AM, Andrew M, Emmett RS, P, et al. Techniques for preventing hypotension during spinal anaesthesia for caesarean section. Cochrane Database Syst Rev 2006(4):Cd002251.

4. Saravanan S, Kocarev M, Wilson RC, et al. Equivalent dose of ephedrine and phenylephrine in the prevention of postspinal hypotension in Caesarean section. Br J Anaesth 2006;96(1):95-9.

5. Ohpasanon P, Chinachoti T, Sriswasdi P, et al. Prospective study of hypotension after spinal anesthesia for cesarean section at Siriraj Hospital: incidence and risk factors, Part 2. J Med Assoc Thai 2008;91(5):675-80.

6. Somboonviboon W, Kyokong O, Charuluxananan S, et al. Incidence and risk factors of hypotension and bradycardia after spinal anesthesia for cesarean section. J Med Assoc Thai 2008;91(2):181-7.

7. Russell IF. Spinal anaesthesia for caesarean section. The use of 0.5% bupivacaine. Br J Anaesth 1983;55(4):309-14.

8. Mercier FJ, Bonnet MP, De la Dorie A, et al. [Spinal anaesthesia for caesarean section: fluid loading, vasopressors and hypotension]. Ann Fr Anesth Reanim 2007;26(7-8):688-93.

9. Marx GF. Supine hypotension syndrome during cesarean section. JAMA 1969;207(10):1903-5.

10. Holmes F. Spinal analgesia and caesarean section; maternal mortality. J Obstet Gynaecol Br Emp 1957;64(2):229-32.

11. Lees MM, Scott DB, Kerr MG, et al. The circulatory effects of recumbent postural change in late pregnancy. Clin Sci 1967;32(3):453-65.

12. Sharwood-Smith G, Drummond GB. Hypotension in obstetric spinal anaesthesia: a lesson from pre-eclampsia. Br J Anaesth 2009;102(3):291-4.

13. Tamilselvan P, Fernando R, Bray J, et al. The effects of crystalloid and colloid preload on cardiac output in the parturient undergoing planned cesarean delivery under spinal anesthesia: a randomized trial. Anesth Analg 2009;109(6):1916-21.

14. Nag DS, Samaddar DP, Chatterjee A, et al. Vasopressors in obstetric anesthesia: A current perspective. World J Clin Cases 2015;3(1):58-64.

15. Kiefer RT, Ploppa A, Dieterich HJ. [Aortocaval compression syndrome]. Anaesthesist 2003;52(11):1073-83.

16. De-Giorgio F, Grassi VM, Vetrugno G, et al. Supine hypotensive syndrome as the probable cause of both maternal and fetal death. J Forensic Sci 2012;57(6):1646-9.

17. Carpenter RL, Caplan RA, Brown DL, et al. Incidence and risk factors for side effects of spinal anesthesia. Anesthesiology 1992;76(6):906-16.

18. Elsandabesee D, Majumdar S, Sinha S. Obstetricians’ attitudes towards ‘isolated’ oligohydramnios at term. J Obstet Gynaecol 2007;27(6):574-6.

19. Maharaj D. Assessing cephalopelvic disproportion: back to the basics. Obstet Gynecol Surv 2010;65(6):387-95.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-12