ภาวะติดเชื้อรา Mucormycosis ที่โพรงจมูก และเบ้าตาในผู้ป่วยเบาหวาน : รายงานผู้ป่วย 1 ราย

ผู้แต่ง

  • Morakot Mungwititkul, M.D. กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลกำแพงเพชร

บทคัดย่อ

     การติดเชื้อรา mucormycosis เป็นการติดเชื้อฉวยโอกาสที่พบได้น้อย ส่วนใหญ่พบในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำ อาการแสดงที่พบได้บ่อยมากที่สุดคือโพรงจมูก เบ้าตา และสมอง (rhino-orbital-cerebral mucormycosis) มักพบร่วมกับโรคเบาหวาน เป็นภาวะการติดเชื้อราที่ลุกลามรวดเร็ว และมีอัตราการตายสูง ถึงร้อยละ 70 - 100 การจะรักษาภาวะการติดเชื้อที่รุนแรงชนิดนี้ สำคัญที่การวินิจฉัยได้รวดเร็ว ให้การรักษาด้วยยาร่วมด้วยการผ่าตัด ที่เหมาะสม ทันเวลา จะช่วยลดอัตราการตายและทุพพลภาพได้ ผู้ศึกษาได้รายงานผู้ป่วย 1 ราย เป็นเพศหญิง อายุ 75 ปี มีโรคประจำตัวคือ เบาหวาน มารับการรักษาด้วยอาการตาข้างซ้ายโปน ปวดตา ตามัว จากการตรวจร่างกายร่วมกับการถ่ายภาพรังสี ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะติดเชื้อในเบ้าตา หลังการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะร่วมกับการตรวจชิ้นเนื้อจากการล้างโพรงไซนัส พบลักษณะเฉพาะของเชื้อราที่มีลักษณะเฉพาะเป็นเชื้อรารูปแท่งกว้าง มีการแตกแขนงเป็นมุมฉาก จึงได้วินิจฉัยว่าผู้ป่วยติดเชื้อรา mucormycosis และให้การรักษาด้วยยาต้านเชื้อรา ร่วมกับการควบคุมภาวะเบาหวาน แต่ในที่สุดเมื่อการติดเชื้อลุกลามไปจนถึงกระดูกเบ้าตาด้านบน จึงต้องให้การรักษาด้วยการผ่าตัดตา และเนื้อเยื่อรอบดวงตาออก เพื่อลดการแพร่กระจายของเชื้อ ผู้ศึกษารายงานผู้ป่วยนี้เพื่อประโยชน์ต่อแพทย์ได้ตระหนักถึงโอกาสในการ ติดเชื้อรา mucormycosis ในผู้ป่วยเบาหวานที่มาด้วยอาการแสดงทางเบ้าตา เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้อง และรักษาได้ทันเพื่อลดอัตราการตาย และทุพพลภาพจากการแพร่กระจายของเชื้อ

Author Biography

Morakot Mungwititkul, M.D., กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลกำแพงเพชร

ว.ว. จักษุวิทยา

References

1. Shinde RV, Karande GS, Mohite ST, et al. Rhino-orbital mucormycosis in diabetes mellitus. J Clin Diagn Res 2013;7(6):1145-7.

2. Imbernón A, Agud JL, Cuétara MS, et al. Successful therapy of progressive rhino-orbital mucormycosis caused by Rhizopus arrhizus with combined and sequential antifungal therapy, surgery and hyperbaric therapy. Med Mycol Case Rep 2014;6:51-4.

3. Teixeira CA, Medeiros PB, Leushner P, et al. Rhinocerebral mucormycosis: literature review apropos of a rare entity. BMJ Case Rep 2013;2013:bcr2012008552.

4. Idiga J, Rootman DB, Nagiel A, et al. Isolated Isolated Zygomycetes Endophthalmitis: A Case Report. Ophthal Plast Reconstr Surg 2015;31:e145-7.

5. Sachdeva K. Rhino-oculo Cerebral Mucormycosis with Multiple Cranial Nerve Palsy in Diabetic Patient: Review of Six Cases. Indian J Otolaryngol Head Neck Surg 2013;65:375-9.

6. Jung SH, Kim SW, Park CS, et al. Rhinocerebral Mucormycosis: consideration of prognostic factors and treatment modality. Auris Nasus Larynx 2009;36:274-9.

7. Garlapati K, Chavva S, Vaddeswarupu RM. Fulminant mucormycosis involving paranasal sinuses: a rare case report. Case Rep Dent 2014;2014:465919.

8. Nithyanandam S, Correa MA. Rhino-orbital mucormycosis and aspergillosis : differences in outcome, clinical and imaging characteristics. Eur Arch Otorhinolaryngol 2010;267:161-2.

9. Croce A, Moretti A, D’Agostino L, et al. Orbital exenteration in elderly patients: personal experience. Acta Otorhinolaryngol Ital 2008;28:193-9.

10. Nicolae M, Popescu CR, Popesscu B, et al. Orbital complications of fungal pan-sinusitis in uncontrolled diabetes. Maedica (Buchar) 2013;8(3):276-9.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-12