การศึกษาเปรียบเทียบผลของการฉีดสเตียรอยด์ก่อนผ่าตัด เพื่อช่วยลดอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิล ณ โรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Sorracha Sophanate, M.D. กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชบุรี

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบอาการปวดแผล หลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลในกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์ (dexamethasone) ก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิล กับกลุ่มทดลองที่ไม่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์ก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิล

วิธีการศึกษา: ศึกษาวิจัยเชิงทดลองแบบ retrospective cohort experimental study ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดต่อมทอนซิลที่โรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2557 ถึง 31 สิงหาคม 2558 โดยแบ่งผู้ป่วยที่อายุมากกว่า 18 ปี และยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับ และไม่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์ (dexamethasone 8 mg) เข้าทางหลอดเลือดดำก่อนผ่าตัดต่อมทอนซิล จากนั้นทำการสังเกตอาการปวดแผลหลังการผ่าตัดต่อมทอนซิลแล้วนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณทางสถิติต่อไป

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์เข้าร่วมการวิจัยทั้งสิ้น 25 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 14 ราย (ร้อยละ 56) เพศหญิง 11 ราย (ร้อยละ 44) ทั้งหมดอยู่ในช่วงอายุ 20-62 ปี พบว่าระดับความปวดแผลหลังผ่าตัดต่อมทอนซิลในกลุ่มที่รับการฉีดสเตียรอยด์น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดสเตียรอยด์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 6, 12, 24 ชั่วโมงตามลำดับ (p-value at 6,12, 24 hr = 0.002, 0.008, 0.002) และระยะเวลาที่ใช้ในการนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลของกลุ่มที่ได้รับการฉีดสเตียรอยด ์ น้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับฉีดสเตียรอยด ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p-value<0.001) ในขณะที่ปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระหว่างทั้งสองกลุ่ม (p-value>0.05)

สรุปผล: การฉีดสเตียรอยด์ (dexamethasone 8 mg) เข้าหลอดเลือดดำก่อนการผ่าตัดต่อมทอนซิล สามารถช่วยลดอาการปวดแผลหลังจากการผ่าตัดต่อมทอนซิล และลดระยะเวลาการนอนพักฟื้นหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลได้ แต่ไม่ช่วยลดปริมาณการเสียเลือดขณะผ่าตัด

Author Biography

Sorracha Sophanate, M.D., กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลราชบุรี

ว.ว. โสต ศอ นาสิกวิทยา

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-14