การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น และภาวะแทรกซ้อน จากการคลอดในโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Morakot Suwanwanich, M.D. สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน และภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในสตรีอายุน้อยกว่า 20 ปี ที่มารับบริการในโรงพยาบาลราชบุรี

วัสดุและวิธีการ: เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียนสถิติสตรีตั้งครรภ์ทั้งหมด ที่มาคลอดตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2557 ถึง 30 กันยายน 2558 จำนวน 2,733 ราย เป็นสตรีอายุน้อยกว่า 20 ปี จำนวน 422 ราย และข้อมูลทารกที่ได้รับการคลอดทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกัน จำนวน 2,748 ราย เพื่อนำมา ศึกษาสถานการณ์การตั้งครรภ์ ผลลัพธ์ และภาวะแทรกซ้อนของการคลอด

ผลการศึกษา: อุบัติการณ์ของการตั้งครรภ์ในสตรีวัยรุ่น คิดเป็นร้อยละ 15.44 ของการคลอดทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นการตั้งครรภ์ครั้งแรก ร้อยละ 79.7 ส่วนใหญ่ของสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่น เป็นแม่บ้านร้อยละ 61.61 ฝากครรภ์สม่ำเสมอครบตามเกณฑ์ ร้อยละ 34.93 คลอดปกติทางช่องคลอด ร้อยละ 50.95 พบว่าภาวะแทรกซ้อน ทางสูติกรรมและทารก ที่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ภาวะน้ำคร่ำน้อย และทารกถ่ายขี้เทา จะพบในสตรีวัยรุ่นสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ (ร้อยละ 2.60 vs ร้อยละ 1.17; p=0.022) ทารกคลอดก่อนกำหนดและทารก น้ำหนักตัวน้อย พบในสตรีวัยรุ่นสูงกว่าวัยผู้ใหญ่ (ร้อยละ 8.20 vs ร้อยละ 4.35; p=0.001) และ (ร้อยละ 18.27 vs ร้อยละ 9.22; p <.001) ตามลำดับ

สรุป: ภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นพบภาวะน้ำคร่ำน้อย และทารกถ่ายขี้เทา ทารกคลอด ก่อนกำหนด และทารกน้ำหนักตัวน้อย สูงกว่าการตั้งครรภ์ในวัยผู้ใหญ่ การฝากครรภ์ที่ไม่ครบตามเกณฑ์ มาตรฐานสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น

Author Biography

Morakot Suwanwanich, M.D., สูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา

กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22