ปัจจัยเสี่ยงของการไม่โตของหลอดเลือด หลังการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือด เพื่อการฟอกไต แม้ว่ามีการใช้อัลตราซาวนด์ตรวจหลอดเลือดทุกรายก่อนการผ่าตัด

ผู้แต่ง

  • Prasopchai Kongsakphaisal, M.D. ศัลยศาสตร์หลอดเลือด

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงอุบัติการณ์ และปัจจัยเสี่ยงต่อการไม่โตของหลอดเลือด หลังการผ่าตัด เชื่อมต่อหลอดเลือด เพื่อการฟอกไต แม้ว่ามีการใช้อัลตราซาวนด์ตรวจหลอดเลือดทุกราย ก่อนผ่าตัดใน โรงพยาบาลนครปฐม

วิธีการศึกษา: วิเคราะห์ข้อมูลย้อนหลังจากฐานข้อมูลที่เก็บไปข้างหน้า โดยมีการผ่าตัดหลอดเลือด ฟอกไตทั้งใช้หลอดเลือดผู้ป่วย และหลอดเลือดเทียมทั้งหมด 365 ราย ระหว่างเดือนสิงหาคม 2556 ถึง เดือนมีนาคม 2558 โดยผู้วิจัย ณ โรงพยาบาลนครปฐม โดยศึกษาถึงข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย อัตราการใช้ได้ของหลอด เลือดฟอกไต และปัจจัยเสี่ยงต่อการไม่โตของหลอดเลือดฟอกไต ใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์

ผลการศึกษา: มีผู้ป่วย 301 ราย (ร้อยละ 82.47) ได้รับการผ่าตัดเชื่อมต่อหลอดเลือดเพื่อการฟอกไต โดยใช้หลอดเลือดผู้ป่วยเอง และ 64 ราย (ร้อยละ 17.53) ใช้หลอดเลือดเทียมในช่วงเวลาดังกล่าว ใน 301 ราย ที่ใช้หลอดเลือดผู้ป่วยเอง มี 19 ราย ไม่ได้มาติดตามการรักษา และ 9 ราย เสียชีวิตก่อนการประเมินการใช้ได้ ของหลอดเลือด ที่เหลือ 273 ราย อัตราการไม่โตของหลอดเลือดอยู่ที่ร้อยละ 6.22 (17/ 273) ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ของการไม่โตของหลอดเลือดฟอกไตคือ ขนาดของหลอดเลือดดำ (p=0.020) และการมีประวัติใส่สายสวนที่หลอด เลือดดำส่วนกลางข้างเดียวกับที่ทำหลอดเลือดฟอกไต (p=0.019) ส่วนโรคประจำตัวผู้ป่วย ข้อมูลพื้นฐานทั่วไป ผู้ป่วย (อายุ เพศ ดัชนีมวลกาย) และขนาดของหลอดเลือดแดง ไม่ได้มีผลต่อการใช้ได้ของหลอดเลือดฟอกไต

สรุป: การใช้อัลตราซาวนด์ตรวจหลอดเลือดทุกรายก่อนผ่าตัด สามารถเพิ่มอัตราการใช้ได้ของหลอด เลือดฟอกไตขึ้นเป็นมากกว่าร้อยละ 90 ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการไม่โตของหลอดเลือดฟอกไตคือ ขนาดของหลอดเลือดดำ และการมีประวัติใส่สายสวนที่หลอดเลือดดำส่วนกลางข้างเดียวกับที่ทำหลอดเลือดฟอกไต

Author Biography

Prasopchai Kongsakphaisal, M.D., ศัลยศาสตร์หลอดเลือด

กลุ่มงานศัลยกรรม โรงพยาบาลนครปฐม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22