การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความหนาของกระดูกต้นแขน กับความหนาแน่นของมวลกระดูก

ผู้แต่ง

  • Natthawat Chaiwatanarat, M.D. ศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหนาของกระดูกต้นแขน (proximal humeral cortical thickness) กับค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก หรือ BMD (bone mineral density) และคำนวณหา sensitivity และ specificity ของความหนาของกระดูกต้นแขนที่ค่าต่างๆ เพื่อใช้ในการทำนายภาวะกระดูกพรุน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบ prospective observational study ในประชาชนผู้ที่มาทำการตรวจ คัดกรองความเสี่ยงต่อโรคกระดูกพรุน ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม ในช่วง เดือนมกราคม ถึงเดือนพฤษภาคม 2559 แล้วได้รับการตรวจ DXA (dual-energy X-ray absorptiometry) จะได้รับการตรวจเอกซเรย์กระดูกต้นแขนข้างขวาในท่า AP view เพื่อคำนวณหาความหนาของกระดูกต้นแขนแล้วจึงนำมาหาความสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยใช้วิธี Pearson correlation coefficients

ผลการศึกษา: ได้ผู้เข้าร่วมงานวิจัยทั้งหมด 107 คน โดยค่าความหนาของกระดูกต้นแขน มีความสัมพันธ์แบบแปรตามกันกับค่า BMD ที่ femoral neck, total hip และ L1-L4 spine อย่างมีนัยสำคัญ โดยมีค่า r = 0.69, 0.62 และ 0.51 ตามลำดับ และค่าความหนาของกระดูกต้นแขนที่น้อยกว่า หรือเท่ากับ 6 มม. จะมี sensitivity 98% และมี negative predictive value 95% ในการทำนายภาวะกระดูกพรุน

สรุป: ค่าความหนาของกระดูกต้นแขน มีความสัมพันธ์แบบแปรตามกันกับค่าความหนาแน่นของมวลกระดูก (BMD) และสามารถนำมาใช้คัดกรอง หรือแยกภาวะกระดูกพรุนได้

Author Biography

Natthawat Chaiwatanarat, M.D., ศัลยศาสตร์ออโธปิดิกส์

กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-22