อุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงของผู้ป่วย ที่มีภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ จากการตรวจสมรรถภาพหัวใจ โดยการวิ่งสายพาน ที่โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
บทคัดย่อ
โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เกิดจากการตีบแคบของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้มีอาการรุนแรงถึงเสียชีวิตได้ การตรวจเบื้องต้นโดยการวิ่งสายพาน (exercise stress test) มีความสำคัญ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยของผู้ป่วยที่มีผลต่อภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ในการตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพานในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) ปัจจัยของผู้ป่วยที่มีภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ ในการตรวจสมรรถภาพหัวใจโดยการวิ่งสายพาน ในโรงพยาบาลพระนั่งเกล้าตั้งแต่ มกราคม 2556 ถึง ธันวาคม 2558
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่คลื่นไฟฟ้าผิดปกติ 101 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 59.4) และเพศหญิง (ร้อยละ 40.6) มีอายุเฉลี่ย 62 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มี BMI 25-29.9 หรือภาวะอ้วนระดับ 2 (ร้อยละ 35.6) และขณะทดสอบพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ SBP 120-139 mmHg (ร้อยละ 40.6), DBP 50-79 mmHg (ร้อยละ 41.6), HR 80-89 bpm (ร้อยละ 31.6) โดยส่วนใหญ่ใช้วิธีการทดสอบสมรรถภาพหัวใจในวิธี Bruce Protocol (ร้อยละ 83)และ Modify Bruce Protocol (ร้อยละ 17) ระดับที่มีภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติมากที่สุด metabolic equivalent4.0 - 7.9 (ร้อยละ 74.3) ความสัมพันธ์กับโรคประจำตัว ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วย CKD stage II (ร้อยละ 46.5) และมีโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวานร่วมกัน (ร้อยละ 40.59)
สรุป: การศึกษาปัจจัยของผู้ป่วยก่อนการทดสอบสมรรถภาพหัวใจ โดยการวิ่งสายพาน (treadmill exercise stress test) สามารถใช้พยากรณ์ภาวะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติได้ และเข้าได้กับปัจจัยเสี่ยงของปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบตัน
ข้อเสนอแนะ: แนะนำให้ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงแต่ยังไม่มีอาการ ควรตรวจคัดกรองโรคเพิ่มขึ้น
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์