ความสอดคล้องของแถบสีแสดงช่วงน้ำหนักจากแถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดี กับน้าหนักจริง ในผู้ป่วยเด็กไทย ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
แถบสีทำนายช่วงน้ำหนัก, แถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดีบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงความสอดคล้องของแถบสีแสดงช่วงน้ำหนักจากแถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดีกับช่วงน้ำหนักจริงในผู้ป่วยเด็กไทย ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวาง เก็บข้อมูลไปข้างหน้า (prospective cross-sectional study) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการรักษา ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช บันทึกน้ำหนักจริงเป็นกิโลกรัม และวัดส่วนสูงหรือความยาวของผู้ป่วยเป็นเซนติเมตร ประเมินน้ำหนักผู้ป่วยอีกครั้งโดยใช้แถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดี เปรียบเทียบน้ำหนักที่ชั่งได้จริงและน้ำหนักที่ได้จากการประเมินด้วยแถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดี โดยวิเคราะห์ความสอดคล้องของข้อมูลดังกล่าวด้วยสถิติโคเฮน แคปปา
ผลการศึกษา: มีผู้ป่วยที่มีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์เข้าร่วมการศึกษา จำนวน 356 คน เป็นเพศชาย ร้อยละ 56.5 เพศหญิง ร้อยละ 43.5 น้ำหนักมัธยฐาน 14.1 กิโลกรัม (S.D. = 11.21) แถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดีสามารถประเมินน้ำหนักผู้ป่วยได้สอดคล้องกับน้ำหนักจริง ร้อยละ 61.2 ประเมินได้ต่ำกว่าน้ำหนักจริง ร้อยละ 20.2 และประเมินได้สูงกว่าน้ำหนักจริงร้อยละ 18.5 จากผลการวิเคราะห์พบว่าการประเมินน้ำหนักด้วยแถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดีและน้ำหนักจริงของผู้ป่วย มีค่าความสอดคล้องอยู่ในระดับปานกลาง (ความสอดคล้อง ร้อยละ 60 kappa = 0.54)
สรุป: การประเมินน้ำหนักผู้ป่วยเด็กที่มารับการรักษา ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัด สุพรรณบุรี โดยใช้แถบฉุกเฉินกู้ชีพเด็กรามาธิบดี เปรียบเทียบระหว่างแถบสีแสดงช่วงน้าหนักที่ประเมินได้กับน้าหนักจริง มีความสอดคล้องกันในระดับปานกลาง
References
2. Rowe C, Koren T, Koren G. Errors by paediatric residents in calculating drug doses. Arch Dis Child 1998;79:56-8.
3. Lubitz DS, Seidel JS, Chameides L, et al. A rapid method for estimating weight and resuscitation drug dosages from length in the pediatric age group. Ann Emerg Med 1988;17:576-81.
4. Luten RC, Wears RL, Broselow J, et al. Length-based endotracheal tube and emergency equipment in pediatrics. Ann Emerg Med 1992;21:900-4.
5. Luten R, Broselow J. Rainbow care: the Broselow-Luten system. Implications for pediatric patient safety. Ambul Outreach 1999:14-6.
6. Deboer S, Seaver M, Broselow J. Color coding to reduce errors. Am J Nurs 2005;105:68-71.
7. Heyming T, Bosson N, Kurobe A, et al. Accuracy of paramedic Broselow tape use in the prehospital setting. Prehos Emerg care 2012;16:374-80.
8. Loo PY, Chong SL, Lek N, et al. Evaluation of three paediatric weight estimation methods in Singapore. J Paediatr Child Health 2013;49:E311-6.
9. Harris M, Patterson J, Morse J. Doctors, nurses, and parents are equally poor at estimating pediatric weights. Pediatr Emerg Care 1999;15:17-8.
10. Kleinman ME, Chameides L, Schexnayder SM, et al. Pediatric advanced life support: 2010 American Heart Association Guidelines for Cardiopulmonary Resuscitation and Emergency Cardiovascular Care. Pediatrics 2010;126:e1361-99.
11. Pediatric trauma. In: Trauma ACoSsCo, editor. Advanced Trauma Life Support : student course manual. 9th ed. Chicago: Amercan College of Surgeon; 2012. p. 246-70.
12. Nieman CT, Manacci CF, Super DM, et al. Use of the Broselow tape may result in the underresuscitation of children. Acad Emerg Med 2006;13:1011-9.
13. Knight JC, Nazim M, Riggs D, et al. Is the Broselow tape a reliable indicator for use in all pediatric trauma patients?: A look at a rural trauma center. Pediatr Emerg Care 2011;27:479-82.
14. Bourdeau S, Copeland J, Milne WK. Accuracy of the Broselow tape in estimating the weight of First Nations children. Can J Rural Med 2011;16:121-5.
15. Sinha M, Lezine MW, Frechette A, et al. Weighing the pediatric patient during trauma resuscitation and its concordance with estimated weight using Broselow Luten Emergency Tape. Pediatr Emerg Care 2012;28:544-7.
16. House DR, Ngetich E, Vreeman RC, et al. Estimating the weight of children in Kenya: do the Broselow tape and age-based formulas measure up? Ann Emerg Med 2013;61:1-8.
17. Ken MW, Yasin A, Knight J, et al. Ontario children have outgrown the Broselow tape. CJEM 2012;14:25-30.
18. Trakulsrichai S, Boonsri C, Chatchaipun P, et al. Accuracy of three methods used for Thai children’s body weight estimation. J Med Assoc Thai 2012;95:1194-9.
19. Yuksen C. Performance of using pediatric length-based resuscitation tape by nonpediatric medical personnel in ED. Rama Med J 2013;36:23-37.
20. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. เกณฑ์อ้างอิงน้ำหนัก ส่วนสูง และเครื่องชี้วัดภาวะโภชนาการของประชาชนไทย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2542.
21. Yamamoto LG, Inaba AS, Young LL, et al. Improving length-based weight estimates by adding a body habitus (obesity) icon. Am J Emerg Med 2009;27:810-5.
22. Abdel-Rahman SM, Paul IM, James LP, et al. Evaluation of the Mercy TAPE: performance
against the standard for pediatric weight estimation. Ann Emerg Med 2013;62:332-9.
23. Cochran WG. Sampling Technique. 2nd ed. New York: John Wiley and Sons; 1963.
24. Theron L, Adams A, Jansen K, et al. Emergency weight estimation in Pacific Island and Maori children who are large-forage. Emerg Med Australas 2005;17:238-43.
25. Ramarajan N, Krishnamoorthi R, Strehlow M, et al. Internationalizing the Broselow tape: how reliable is weight estimation in Indian children. Acad Emerg Med 2008;15:431-6.
26. Jitnarin N, Kosulwat V, Rojroongwasinkul N, et al. Prevalence of overweight and obesity in Thai population: results of the National Thai Food Consumption Survey. Eat Weight Disord 2011;16:e242-9.
27. Ogden CL, Carroll MD, Kit BK, et al. Prevalence of obesity and trends in body mass index among US children and adolescents, 1999-2010. JAMA 2012;307:483-90.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์