ประสิทธิผลของการใช้ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัดในผู้ใหญ่ สำหรับการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลหัวหิน
คำสำคัญ:
ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัด, ห้องพักฟื้น, ประสิทธิผล, ความพึงพอใจบทคัดย่อ
อาการปวดหลังผ่าตัดเป็นปัญหาที่พบบ่อยในห้องพักฟื้น ซึ่งการจัดการความปวดถือเป็นหัวใจของการดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัด โดยมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสุขสบาย ไม่มีภาวะแทรกซ้อนและร่างกายฟื้นตัวได้เร็ว กลุ่มงานวิสัญญี โรงพยาบาลหัวหิน จึงเริ่มกำหนดเป้าหมายและแนวทางปฏิบัติการให้ยาระงับปวดในห้องพักฟื้น เพื่อพัฒนาประสิทธิผลการประเมินและการจัดการความปวด
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการใช้ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัด สำหรับการจัดการความปวดหลังผ่าตัด และศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการดูแลที่ได้รับ ในการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นโรงพยาบาลหัวหิน โดยใช้ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัด เปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้ใช้ รวมถึงความพึงพอใจของวิสัญญีพยาบาลต่อการใช้ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัด สำหรับการจัดการความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น
วิธีการศึกษา: เป็นงานวิจัยแบบการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วย 200 คน ที่เข้ารับการผ่าตัดแบบไม่เร่งด่วนภายใต้การระงับความรู้สึกแบบทั่วไปในโรงพยาบาลหัวหิน ได้จากการคำนวณขนาดตัวอย่างแบบเปรียบเทียบ 2 กลุ่ม แบ่งแบบสุ่มเป็นกลุ่มที่ใช้ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัดและกลุ่มที่ไม่ใช้ กลุ่มละ 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความปวดด้วยมาตรวัดความปวดแบบตัวเลข (numerical rating scale: NRS) ที่ 45 นาที และ 1 ชั่วโมงหลังจากเข้ามาในห้องพักฟื้น สถิติที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการวิเคราะห์ผลลัพธ์หลัก คือ ระดับความปวดในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม ซึ่งเป็นข้อมูลเชิงปริมาณด้วย independent t-test และเปรียบเทียบข้อมูลเชิงคุณภาพคือความพึงพอใจด้วย chi-square test
ผลการศึกษา: กลุ่มที่ใช้ใบคำสั่งระงับปวดมีระดับความปวดที่ 45 และ 60 นาที ในห้องพักฟื้นน้อยกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และมี NRS≤3 ที่ 60 นาที ร้อยละ 77 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด โดยเป็นกลุ่มที่ใช้ใบคำสั่งระงับปวด ร้อยละ 42 ส่วนกลุ่มไม่ใช้ ร้อยละ 35 มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับความพึงพอใจของผู้ป่วยพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มที่ใช้มีระดับความพึงพอใจมากกว่าอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ วิสัญญีพยาบาลมีความพึงพอใจต่อประสิทธิผลของใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัด ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 60 ระดับมาก ร้อยละ 40 สำหรับความพึงพอใจในด้านความสะดวกต่อการทำงานอยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 40 และระดับมาก ร้อยละ 60
สรุป: ใบคำสั่งการระงับปวดหลังผ่าตัด มีประสิทธิผลในการลดระดับความปวดได้ดีกว่าการดูแลความปวดตามมาตรฐานเดิม และทำให้ผู้ป่วยและวิสัญญีพยาบาลมีความพึงพอใจในผลการระงับปวด รวมถึงความสะดวกในการใช้งาน
References
2. เสาวนันทา เลิศพงษ์, นงลักษณ์ สุรศร. การศึกษาผลการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้นในกลุ่มงานวิสัญญีวิทยา โรงพยาบาลสุรินทร์. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ 2557;29:93-101.
3. ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์, มาลินี อยู่ใจเย็น. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น โรงพยาบาลระนอง. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีกรุงเทพ 2557;30:86-99.
4. เสาวนิตย์ กมลวิทย์, ปิ่นอนงค์ รัตนปทุมวงศ์. การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกด้านการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัด โรงพยาบาลระนอง. วารสารกองการพยาบาล 2557;41:23-40.
5. คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพการระงับปวดเฉียบพลัน ของโรงพยาบาลศิริราช. คำแนะนำสำหรับการระงับปวดหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลศิริราช. กรุงเทพฯ: ฮาซันพริ้นติ้ง จำกัด; 2552.
6. ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยร่วมกับสมาคมการศึกษาเรื่องความปวดแห่งประเทศไทย. แนวทางพัฒนาการระงับปวดเฉียบพลันหลังผ่าตัด ฉบับที่ 1 พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย; 2554.
7. นภสร จั่นเพ็ชร, อาภาพร นามวงศ์พรหม, น้าอ้อย ภักดีวงศ์. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติต่อการจัดการความปวดในผู้ป่วยหลังผ่าตัดใหญ่ทางช่องท้อง โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่, คณะพยาบาลศาสตร์. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2552.
8. หร่อกีบ๊ะ บุญโส๊ะ, สุมาลี ฉันทวิลาส, มาริสา สุวรรณราช. การพัฒนาและประเมินผลความเป็นไปได้ในการนำแนวปฏิบัติไปใช้ในการจัดการกับความปวดหลังผ่าตัดในห้องพักฟื้น. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้ 2557;1:43-64.
9. ลลิดา อาชานานุภาพ, รุ้งจิตเติมศิริกุลชัย. การประเมินความปวดและพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกหลังผ่าตัดที่ห้องพักฟื้น. Rama Nurs J 2009;15:315-26.
10. McMain L. Pain management in recovery. J Perioper Pract 2010;20:59-65.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์