กระดูกอ่อนไครคอยด์หักชิ้นเดียว จากการบาดเจ็บจากแรงกระแทกที่คอ

รายงานผู้ป่วย 1 ราย

ผู้แต่ง

  • Apaporn Eiamkulvorapong, M.D. กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสมุทรสาคร

คำสำคัญ:

กระดูกอ่อนไครคอยด์หัก, การตรวจกล่องเสียงด้วยกล้องไฟเบอร์ออปติค, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์

บทคัดย่อ

            รายงานผู้ป่วยกระดูกอ่อนไครคอยด์หัก หลังการบาดเจ็บจากแรงกระแทกที่คอเป็นชิ้นเดียว ผู้ป่วยชายไทยอายุ 19 ปี มาตรวจที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลสมุทรสาคร มีประวัติมาด้วยลื่นล้มในห้องน้า คอกระแทกขอบอ่าง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการกลืนเจ็บ เจ็บบริเวณลาคอ คอบวม 6 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล มีอาการเสียงแหบหายใจไม่เหนื่อย ไม่มีหายใจเสียงดัง เสมหะไม่ปนเลือด ตรวจร่างกายสัญญาณชีพปกติ พบรอยบวมช้าและแผลถลอก 4 เซนติเมตร ลาคอด้านซ้าย ได้รับการเอกซเรย์คอท่า AP และ lateral ไม่พบความผิดปกติ กระดูกสันหลังส่วนคอปกติ ไม่พบรอยหักของกระดูกกล่องเสียง ผู้ป่วยได้รับการตรวจกล่องเสียงด้วยกล้องไฟเบอร์ออปติค (fiberoptic laryngoscopy; FOL) พบรอยบวมช้าบริเวณ FVC (false vocal cord) สายเสียงด้านซ้ายขยับได้น้อย ไม่มีการอุดกั้นของทางเดินหายใจ จึงได้รับการตรวจเพิ่มเติมด้วยเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) พบกระดูกอ่อนไครคอยด์ด้านขวาหักเคลื่อนเล็กน้อย ผู้ป่วยได้รับการสังเกตอาการทางเดินหายใจอุดกั้นอย่างใกล้ชิด โดยไม่ได้รับการผ่าตัด 4 วัน หลังจากรับไว้รักษาในโรงพยาบาล ผู้ป่วยไม่มีอาการเสียงแหบ กลืนเจ็บลดลง หายใจปกติ และกลับบ้านโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน การบาดเจ็บของกล่องเสียงพบไม่บ่อย การบาดเจ็บกล่องเสียงจากภายนอกเกิดขึ้นเพียง 1 ใน 30,000 ของผู้ป่วยที่มารักษาในห้องฉุกเฉิน โดยเฉพาะการบาดเจ็บของกระดูกอ่อนไครคอยด์ มีรายงานพบน้อยกว่าร้อยละ 50 ของการบาดเจ็บของกล่องเสียงทั้งหมด การวินิจฉัยกระดูกอ่อนไครคอยด์หักจึงมีโอกาสผิดพลาดได้มาก เนื่องจากมีอุบัติการณ์เกิดต่ำ ถ้ากระดูกกล่องเสียงหักได้รับการแก้ไขในระยะเวลาที่เหมาะสม จะส่งผลดีต่อคุณภาพของเสียงผู้ป่วย

Author Biography

Apaporn Eiamkulvorapong, M.D., กลุ่มงานโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสมุทรสาคร

ว.ว. โสต ศอ นาสิกลาริงซ์วิทยา

References

1. Schaefer SD, Close LG. Acute management of laryngeal trauma. Ann Otol Rhinol Laryngol 1989;98:98-104.

2. Bent JP 3rd, Silver JR, Porubsky ES. Acute laryngeal trauma: a review of 77 patients. Otolaryngol Head Neck Surg 1993;109 (3 pt 1):441-9.

3. Jalisai S, Zoccoli M. Management of laryngeal fracture a-10-year experience. J Voice 2001;25:473-9.

4. Butler AP, Wood BP, O’Rourke AK, et al. Acute external laryngeal trauma: experience with 112 patients. Ann Otol Rhino Laryngol 2005;114:361-8.

5. Schaefer SD. The acute management of external laryngeal trauma. A 27-year experience. Arch Otolaryngol Head Neck Surg 1992;118:598-604.

6. Nahum AM, Siegel AW. Biodynamics of injury to the larynx in automobile collisions. Ann Otol Rhinol Laryngol 1967;76:781-5.

7. Saletta JD, Lowe RJ, Lim LT, et al. Penetrating trauma of the neck. J Trauma 1976;16:579-87.

8. Pennington CL. External trauma of the larynx and trachea. Immediate treatment and management. Ann Otol Rhinol Laryngol 1972;81:546-54.

9. American College of Surgeons Committee on Trauma. ATLS, advanced trauma life support program for doctors. 7th ed. Chicago, IL: American College of Surgeons; 2004.

10. Fuhrman GM, Stieg FH 3rd, Buerk CA. Blunt laryngeal trauma: classification and management protocol. J Trauma 1990;30:87-92.

11. Schaefer SD. Primary management of laryngeal trauma. Ann Otol Rhinol Laryngol 1982;91(4 Pt 1):399-402.

12. Vassiliu P, Baker J, Henderson S, et al. Aerodigestive injuries of the neck. Am Surg 2001;67:75-9.

13. Kim JP, Cho SJ, Son HY, et al. Analysis of clinical feature and management of laryngeal fracture: recent 22 case review. Yonsei Med J 2012;53:992-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-24