การวิเคราะห์ความสามารถเชิงวินิจฉัยของเครื่องมือ Electrical Pulp Test ในการระบุความมีชีวิตของฟันที่ถูกส่งต่อเพื่อรักษาคลองรากฟัน

ผู้แต่ง

  • Patcharin Pumchart, D.D.S. กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลบางเลน จังหวัดนครปฐม
  • Chanapong Rojanaworarit, D.D.S., M.P.H., Ph.D. ภาควิชาระบาดวิทยา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพฯ

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์:  เพื่อระบุความสามารถเชิงวินิจฉัยของเครื่องมือ electrical pulp test ในการระบุความมีชีวิตของฟันที่ถูกส่งต่อเพื่อรักษาคลองรากฟัน

            วิธีการศึกษา:  การวิจัยนี้ใช้รูปแบบการศึกษาเชิงวินิจฉัยโรคแบบภาคตัดขวาง จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 67 คน เป็นซี่ฟันจำนวน 138 ซี่ เป็นฟันที่ถูกส่งต่อมารับการรักษาคลองรากฟันจำนวน 69 ซี่ และเป็นฟันซี่ควบคุมจำนวน 69 ซี่ ใช้เครื่องมือ electrical pulp test ทดสอบกับฟันแต่ละซี่ก่อนให้การรักษา มาตรฐานอ้างอิง (gold standard) ได้แก่ การกรอเปิดเข้าไปในเนื้อฟันเพื่อตรวจสภาพโพรงฟัน ผลจากการทดสอบโดยใช้เครื่องมือ electrical pulp test ถูกคำนวณเปรียบเทียบกับมาตรฐานอ้างอิง (gold standard) ในการระบุความมีชีวิตของฟัน ใช้ดัชนีวินิจฉัย ได้แก่ ความไว ความจำเพาะ ค่าพยากรณ์ผลบวก ค่าพยากรณ์ผลลบ ความน่าจะเป็นของผลการทดสอบให้ผลบวกในฟันที่เป็นโรคเปรียบเทียบกับผลการทดสอบให้ผลบวกในฟันที่ไม่เป็นโรค (likelihood ratio of positive)

            ผลการศึกษา:  การทดสอบความมีชีวิตของฟันโดยใช้เครื่องมือ electrical pulp test จากการวิจัยนี้ มีค่า sensitivity, specificity, likelihood ratio of positive เท่ากับร้อยละ 66, 95 และ 13.58 ตามลำดับ การใช้เครื่องมือ electrical pulp test ยังมีประโยชน์ในการทดสอบความมีชีวิตของฟัน

References

1. Chen E, Abbott PV. Dental pulp testing: a review. Int J Dent 2009;2009:365785.

2. Gopikrishna V, Pradeep G, Venkateshbabu N. Assessment of pulp vitality: a review. Int J Paediatr Dent 2009;19:3-15.

3. Hori A, Poureslami HR, Parirokh M, et al. The ability of pulp sensibility tests to evaluate the pulp status in primary teeth. Int J Paediatr Dent 2011;21:441-5.

4. Fuss Z, Trowbridge H, Bender IB, et al. Assessment of reliability of electrical and thermal pulp testing agents. J Endod 1986;12:301-5.

5. คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คู่มือและแนวทางในการให้การรักษาผู้ป่วยทันตกรรมพร้อมมูล ปีการศึกษา 2554. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2554.

6. ละอองทอง วัชราภัย. คลองรากฟัน : วิธีการรักษาและการแก้ปัญหา. กรุงเทพฯ: ภาควิชาทันตกรรมหัตถการ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2545.

7. Seltzer S, Bender IB, Ziontz M. The dynamics of pulp inflammation: correlations between diagnostic data and actual histologic finding in the pulp. Oral Surg Oral Med Oral Pathol 1963:969-77.

8. Petersson K, Soderstrom C, Kiani-Anaraki M, et al. Evaluation of the ability of thermal and electrical tests to register pulp vitality. Endod Dent Traumatol 1999;15:127-31.

9. Hyman JJ, Cohen ME. The predictive value of endodontic diagnostic test. Oral Surg Oral Med Oral Pathol 1984;58:343-6.

10. Peter DD, Baumgartner JC, Lorton L. Adult pulpal diagnosis. I. Evaluation of positive and negative response to cold and electrical pulp tests. J Endod 1994;20:506-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-28