ปัจจัยทำนายภาวะสูญเสียเลือด และความจำเป็นต้องได้รับเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17

ผู้แต่ง

  • Yuttana Dangtip, M.D. กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะสูญเสียเลือดจากการผ่าตัด, การผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว, ระยะเวลาการผ่าตัด

บทคัดย่อ

            วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องและอำนาจการทำนายภาวะสูญเสียเลือด และความจำเป็นต้องได้รับเลือดในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว ด้วยวิธีลดแรงอัดดัน (decompression) การเชื่อมข้อสันหลัง (fusion) และการยึดตรึงโดยใช้เครื่องมือ (instrumentation)

            วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษาย้อนหลัง โดยเก็บข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 ตั้งแต่เดือน มกราคม 2557 ถึงเดือนธันวาคม 2560 รวมเวลา 4 ปี จำนวน 61 ราย ข้อมูลที่รวบรวมประกอบด้วยค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ระยะเวลาการผ่าตัด จำนวนข้อกระดูกสันหลังที่เชื่อม ปริมาณการสูญเสียเลือดขณะผ่าตัด และปริมาณเลือดที่ได้รับ วิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล โดยใช้สถิติพรรณนา และวิเคราะห์ความสามารถในการทำนายของตัวแปรที่ศึกษาโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression)

            ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยทั้งหมด 61 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 72.1) ช่วงอายุ 27-78 ปี (เฉลี่ย 59.51±9.22 ปี) ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 26.26 ± 4.41 กิโลกรัม/เมตร2 ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 274.91 ± 45.39 นาที จำนวนข้อกระดูกสันหลังที่เชื่อมมากกว่า 2 ข้อ ร้อยละ 88.5 ปริมาณการสูญเสียเลือดขณะผ่าตัดเฉลี่ย 1911.47 ± 911.24 มิลลิลิตร และปริมาณเลือดที่ได้รับเฉลี่ย 705.18± 458.58 มิลลิลิตร โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับเลือดร้อยละ 90.2 ระยะเวลาการผ่าตัด และจำนวนข้อกระดูกสันหลังที่เชื่อม สามารถร่วมกันทำนายภาวะเลือดออกได้ถึงร้อยละ 58.6 (R2 = .586, p < .0001) และสามารถร่วมกันทำนายความจำเป็นต้องได้รับเลือดขณะผ่าตัดได้ร้อยละ 43.4 (R2 = .434, p < .0001)

            สรุป:  ในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดกระดูกสันหลังส่วนเอว ระยะเวลาในการผ่าตัด และจำนวนข้อกระดูกสันหลังที่เชื่อมมากกว่า 2 ข้อ เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการสูญเสียเลือดขณะผ่าตัด และมีความจำเป็นต้องได้รับเลือดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการจองเลือด การผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังที่ 1 ระดับ ไม่ต้องจอง FFP จอง PRC 1 ยูนิต, การผ่าตัด 2-3 ระดับ จอง FFP 1 ยูนิต และ PRC 2 ยูนิต และผ่าตัดมากกว่า 3 ระดับ จอง FFP 2 ยูนิต และ PRC 4 ยูนิต

Author Biography

Yuttana Dangtip, M.D., กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 17 จังหวัดสุพรรณบุรี

ว.ว. ออร์โธปิดิกส์

References

1. Yelin E, Weinstein S, King T. The burden of musculoskeletal diseases in the United States. Semin Arthritis Rheum 2016;46:259-60.

2. กิตติ จิระรัตนโพธิ์ชัย. โรคกระดูกสันหลังเสื่อม: หลักฐานเชิงประจักษ์ เล่ม 1. ขอนแก่น: คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2554.

3. Ploumis A, Transfledt EE, Denis F. Degenerative lumbar scoliosis associated with spinal stenosis. Spine J 2007;7:428-36.

4. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2558. นนทบุรี: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

5. Hu SS. Blood loss in adult spinal surgery. Eur Spine J 2004; 13 Suppl 1:S3-5.

6. Qureshi R, Puvanesarajah V, Jain A, et al. Perioperative Management of Blood Loss in Spine Surgery. Clin Spine Surg 2017;30:383-8.

7. Gombotz H, Rehak PH, Shander A, et al. Blood use in elective surgery: the Austrian benchmark study. Transfusion 2007;47:1468-80.

8. Fosco M, Di Fiore M. Factors predicting blood transfusion in different surgical procedures for degenerative spine disease. Eur Rev Med Pharmacol Sci 2012;16:1853-8.

9. Rivkin, MA, Yocom SS. Obesity increases perioperative complications after elective degenerative posterior lumbar fusions: A prospective study. J Neurol Disord 2015;3:1-6.

10. Nuttall GA, Horlocker TT, Santrach PJ, et al. Use of the surgical blood order equation in spinal instrumentation and fusion surgery. Spine (Phila Pa 1976) 2000;25:602-5.

11. Zheng F, Cammisa FP Jr, Sandhu HS, et al. Factors predicting hospital stay, operative time, blood loss, and transfusion in patients undergoing revision posterior lumbar spine decompression, fusion, and segmental instrumentation. Spine (Phila Pa 1976) 2002;27:818-24.

12. Zou H, Li Z, Sheng H, et al. Intraoperative blood loss, postoperative drainage, and recovery in patients undergoing lumbar spinal surgery. BMC Surg 2015;15:76.

13. Soria C. Body Mass Index (BMI) by Country [internet]. 2013 April 11 [cited 2017 October 8]. Available from: URL: https://www.indexmundi.com/blog/index.php/2013/04/11/body-mass-index-bmiby-country

14. Chusri W, Somkitsiri S, Suntornopas B, et al. An approach to blood utilization in elective surgery at BMA general hospital. J Hematol Transfus Med 2018;28:17-23.

15. Marquez - Lara A, Nandyala SV, Sankaranarayanan S, et al. Body mass index as a predictor of complications and mortality after lumbar spine surgery. Spine (Phila Pa 1976) 2014;39:798-804.

16. Onyekwelu I, Glassman SD, Asher AL, et al. Impact of obesity on complications and outcomes: a comparison of fusion and nonfusion lumbar spine surgery. J Neurosurg Spine 2017;26:158-62.

17. Huang YH, Ou CY. Significant Blood Loss in Lumbar Fusion Surgery for Degenerative Spine. World Neurosurg 2015;84:780-5.

18. Willner D, Spennati V, Stohl S, et al. Spine Surgery and Blood loss: Systematic Review of Clinical Evidence. Anesth Analg 2016;123:1307-15.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-01-28