การพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • Suvimon Panacha, B.N.S., M.Sc. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี

คำสำคัญ:

การพัฒนาศักยภาพ, กองทุนสุขภาพตำบล

บทคัดย่อ

       การติดตามประเมินผลการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ (กองทุนสุขภาพตำบล) ของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี ในปีงบประมาณ 2558 พบว่ากองทุนสุขภาพตำบล มีผลการประเมินการบริหารจัดการกองทุน อยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง (ระดับ C) ถึงร้อยละ 42.1 ของกองทุนทั้งหมด

       วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาศักยภาพในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและประเมินผลการบริหารจัดการกองทุน สุขภาพตำบลของจังหวัดสุพรรณบุรี

       วิธีการศึกษา: ใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (participatory action research; PAR) ดำเนินการศึกษาในกองทุนสุขภาพตำบลที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการของอำเภอเดิมบางนางบวช จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 5 แห่ง  ระยะที่ 1 ศึกษาในพื้นที่นำร่อง จำนวน 1 แห่ง ใช้ระยะเวลา 12 เดือน (1 ตุลาคม 2558 ถึง 30 กันยายน 2559)  และระยะที่ 2 ศึกษาในพื้นที่ขยายผล จำนวน 4 แห่ง ใช้ระยะเวลา 12 เดือน (1 ตุลาคม 2559 ถึง 30 กันยายน 2560)

       ผลการศึกษา:  คณะกรรมการกองทุน องค์กรชุมชน และผู้ที่เกี่ยวข้อง มีความรู้เกี่ยวกับการดำเนินงานเพิ่มสูงขึ้นในระดับมาก (มากกว่าร้อยละ 40.0 ขึ้นไป) และผลการดำเนินงานบริหารจัดการกองทุนดีขึ้นจากระดับต้องปรับปรุง (C) เป็นระดับที่มีศักยภาพดี (A) ทั้ง 5 แห่ง

       สรุป:  การพัฒนาศักยภาพโดยใช้กลยุทธ์การพัฒนา 3 ประการ คือ การชี้นำ (advocacy) การเพิ่มความสามารถ (enabling) และการไกล่เกลี่ย (mediating) ก่อให้เกิดการพัฒนาและเป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาของพื้นที่ควรนำกระบวนการพัฒนาไปใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานกองทุนสุขภาพตำบลในพื้นที่อื่นๆ ของจังหวัดสุพรรณบุรีต่อไป

References

1. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.); 2550.

2. สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา. ความเป็นมาของกองทุนพัฒนาท้องถิ่นไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา; 2549.

3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2550. หนองคาย: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดหนองคาย; 2550.

4. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี. รายงานผลการปฏิบัติงานประจำปี 2558. สุพรรณบุรี: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุพรรณบุรี; 2558.

5. ดิเรก ปัทมสิริวัฒน์, และคณะ. การวิจัยนโยบายสาธารณะ: ประเมินกองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่นในระดับพื้นที่. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์; 2552.

6. เพลินพิศ จันทร์ไชย, เสาวมาศ เถื่อนนาดี. แนวทางการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตำบลนางาม อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น [วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาการปกครองท้องถิ่น, วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2557.

7. ยุวัฒน์ วุฒิเมธี. หลักการพัฒนาชุมชนและหลักการพัฒนาชนบท. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อนุเคราะห์ไทย; 2526.

8. ประพนธ์ ปิยรัตน์. บทบาทและภาระหน้าที่ของบุคลากรสาธารณสุขระดับตำบล. นนทบุรี: โครงการสาธารณสุขระดับตำบล; 2543.

9. อนุชาติ พวงสำลี, วีรบูรณ์ วิสารทสกุล. ประชาสังคม: คำ ความคิดและความหมาย. กรุงเทพฯ: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา; 2540.

10. อริศรา ชูชาติ, และคณะ. เทคนิคเพื่อพัฒนาการมีส่วนร่วม. นครปฐม: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียนมหาวิทยาลัยมหิดล; 2538.

11. Department of international economic and social affiars, United Nation. Popular participation as a strategy for promoting community-level action and national development: report of the meeting of the Ad Hoc Group of Experts held at United Nations Headquarters from 22 to 26 May 1978. New York: United Nation; 1981.

12. ดุสิต ดวงสา, อุษา ดวงสา, สุนทรี แรงกุศล. คู่มือการใช้ PRA ในการทำงานด้านเอดส์ในชุมชน. เชียงใหม่: โครงการเอดส์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2541.

13. ประเวศ วะสี. บนเส้นทางใหม่การส่งเสริมสุขภาพ: อภิวัฒน์ชีวิตและสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2541.

14. ไพบูลย์ วัฒนธรรมศิริ. ชุมชนเข้มแข็ง : ทุนทางสังคมของไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมและธนาคารออมสิน; 2542.

15. วีระ นิยมวัน. การประชุมทำงานอย่างมีส่วนร่วมความคิดสร้างสรรค์ AIC. นนทบุรี: โครงการตำราสำนักงานวิชาการ กรมอนามัย; 2542.

16. ทวีศักดิ์ นพเกสร. เวทีประชาคมสร้างสรรค์สุขภาพเด็กไทย. นนทบุรี: กองสุขศึกษา สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข; 2544.

17. อมร นนทสุต, และคณะ. แนวทางการสร้างแผนที่ยุทธศาสตร์. เอกสารประกอบการบรรยายการฝึกอบรมวิทยากรแกนนำการสร้างแผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์. ม.ป.ท.: 2554.

18. สามารถ พันธ์สระคู, วรพจน์ พรหมสัตยพรต, กฤษณ์ ขุนลึก. รูปแบบการพัฒนาการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำโมง อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม 2560;36:223-33.

19. พรทิพย์ ขุนวิเศษ, กาสัก เต๊ะขันหมาก, สมบูรณ์ สุขสำราญ. รูปแบบการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการสู่ความเป็นเลิศของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดชัยนาท. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ 2560;6:241-55.

20. รุ่งเรือง แสนโกษา, เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร, สมเจตน์ ภูศรี. รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2557;8:200-16.

21. ธีระศักดิ์ กิตติคุณ. การบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น จังหวัดตรัง [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ, บัณฑิตวิทยาลัย. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10