คุณภาพชีวิตและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ในโรงพยาบาลราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Pimchanok Pariyaeksut, M.D. กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

คำสำคัญ:

ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน, คุณภาพชีวิต, ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตด้านต่างๆ ของผู้ป่วยหญิงที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยที่มารับการรักษาครั้งแรกในโรงพยาบาลราชบุรี

        วิธีการศึกษา:  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา โดยสัมภาษณ์และตรวจผู้ป่วยที่ถูกวินิจฉัยว่ามีอุ้งเชิงกรานหย่อนครั้งแรก ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลราชบุรี ตามแบบสอบถามอาการภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนและคุณภาพชีวิตฉบับภาษาไทย ระหว่างเดือนพฤษภาคม 2560 ถึง มิถุนายน 2561 จำนวน 102 คน เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพชีวิตและหาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับคะแนนคุณภาพชีวิต

        ผลการศึกษา:  ผู้ป่วยที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อนในการศึกษานี้ อายุเฉลี่ย 66± 9.9 ปี (42-92 ปี) ส่วนใหญ่เป็นระยะ 3 ร้อยละ 38.2 คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมเฉลี่ย 32.21 ± 19.27 คะแนน ตรงกับระดับรบกวนชีวิตน้อย โดยมิติผลกระทบจากภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนมีผลต่อชีวิตสูงสุด (54.89 คะแนน) รองลงมาคือข้อจำกัดด้านบทบาทหน้าที่ (41.99 คะแนน) และอารมณ์ (40.15 คะแนน) คุณภาพชีวิตนี้สัมพันธ์กับความรุนแรงของอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนหน้า อาการปัญหาต่อเพศสัมพันธ์ และระยะเวลาที่มีอาการ (p<0.05)

        สรุป:  คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสัมพันธ์กับความรุนแรงของอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนหน้า อาการปัญหาต่อเพศสัมพันธ์ และระยะเวลาที่มีอาการ ดังนั้นควรเลือกรักษาโดยผ่าตัดหรือห่วงพยุงช่องคลอดมากกว่าเชิงอนุรักษ์

Author Biography

Pimchanok Pariyaeksut, M.D., กลุ่มงานสูติ-นรีเวชกรรม โรงพยาบาลราชบุรี

ว.ว. สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา 

References

1. Bump RC, Mattiasson A, Bo K, et al. The standardization of terminology of female pelvic organ prolapse and pelvic floor dysfunction. Am J Obstet Gynecol 1996;175:10-7.

2. Smith TA, Poteat TA, Shobeiri SA. Pelvic organ prolapse: an overview. JAAPA 2014;27:20-4.

3. Gleason JL, Richter HE, Varner RE. Pelvic organ prolapse. In: Berek JS, Novak E, editors. Berek and Novak’s gynecology. 15th ed. Philadelphia: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams & Wilkins; 2012. p.906-22.

4. Piya-Anant M, Therasakvichya S, Leelaphatanadit C, et al. Integrated health research program for the Thai elderly: prevalence of genital prolapsed and effectiveness of pelvic floor exercise to prevent worsening of genital prolapsed in elderly women. J Med Assoc Thai 2003;86:509-15.

5. Chuenchompoonut V, Bunyavejchevin S, Wisawasukmongchol W, et al. Prevalence of genital prolapse in Thai menopausal women (using new standardization classification). J Med Assoc Thai 2005;88:1-4.

6. Cetinkaya SE, Dokmaci F, Dai O. Correlation of pelvic organ prolapse staging with lower urinary tract symptoms, sexual dysfunction, and quality of life. Int Urogynecol J 2013;24:1645-50.

7. Shrestha B, Onta S, Choulagai B, et al. Uterine prolapse and its impact on quality of life in the Jhaukhel-Duwakot Health Demographic Surveillance Site, Bhaktapur, Nepal. Glob Health Action 2015;8:28771.

8. Fritel X, Varnoux N, Zins M, et al. Symptomatic pelvic organ prolapse at midlife, quality of life, and risk factors. Obstet Gynecol 2009;113:609-16.

9. Manchana T, Bunyavejchevin S. Validation of the Prolapse Quality of Life (P-QOL) questionnaire in Thai version. Int Urogynecol J 2010;21:985-93.

10. Srikrishna S, Robinson D, Cardozo L, et al. Experiences and expectations of women with urogenital prolapse: a quantitative and qualitative exploration. BJOG 2008;115:1362-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10