การพัฒนารูปแบบการดูแลสุขภาพเด็กปฐมวัย โดยครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วม ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • Supattra Phongissaranuporn, B.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี
  • Narinee Yamsakul, Ph.d. วิทยาลัยบรมราชชนนี จักรีรัช, จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

เด็กปฐมวัย, กระบวนการพัฒนา, การมีส่วนร่วม

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์:  1) เพื่อศึกษาเกี่ยวกับสถานการณ์ของภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี  2) เพื่อศึกษากลวิธีกระบวนการพัฒนาการให้บริการสุขภาพเด็กปฐมวัย  3) เพื่อศึกษาผลลัพธ์ของการให้บริการสุขภาพเด็กปฐมวัย

        วิธีการศึกษา:  การวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีกระบวนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภายใต้กรอบทฤษฎีระบบเป็นวงจรการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์ ศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์ของภาวะสุขภาพเด็กปฐมวัย ระยะเวลา 3 ปี งบประมาณ 2556 – 2558 จากข้อมูลสถิติ และการสนทนากลุ่มแบบไม่มีโครงสร้างกับผู้ให้บริการ (พยาบาลวิชาชีพและผู้รับผิดชอบงานบริการเด็กปฐมวัย) นำข้อค้นพบสรุปแนวทางการพัฒนาภายใต้ทฤษฎีระบบ  ระยะที่ 2 ดำเนินการ นำข้อมูลจากระยะที่ 1 พัฒนากรอบแนวคิดสำหรับการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเด็กปฐมวัยภายใต้ทฤษฎีระบบ โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 2.1 การให้ความรู้และส่งเสริมการมีส่วนร่วม ระยะที่ 2.2 การขยายเครือข่าย และการบูรณาการสู่งานประจำ และระยะที่ 2.3 การพัฒนาการให้บริการสุขภาพอย่างยั่งยืน  ระยะที่ 3 ประเมินผล การถอดผลลัพธ์ของการศึกษา เพื่อกำหนดองค์ประกอบระบบการพัฒนาการบริการสุขภาพ

        ผลการศึกษา:  ระยะที่ 1 วิเคราะห์สถานการณ์พบว่า ประชาชนขาดความรู้ ความเข้าใจที่จะมารับบริการ เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความชำนาญ การบริการไม่มีช่องทางสำหรับตรวจก่อนพบแพทย์การบริการไม่มีระบบที่ชัดเจน ขาดการเชื่อมโยงครอบครัว เครือข่าย และชุมชน ระยะที่ 2 การดำเนินการ มีวงจรกระบวนการพัฒนาการ เช่น ระบบการคัดกรองเพื่อประเมินภาวะสุขภาพเด็ก พัฒนาการเด็ก ในเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาล ในเครือข่ายแนวทางในการดูแลเด็กที่มีพัฒนาการสงสัยล่าช้าและล่าช้า และระบบการรายงาน ระยะที่ 3 ประเมินผลลัพธ์ เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบบริการทั้งผู้ให้บริการ ผู้รับบริการ และกำหนดองค์ประกอบในระบบการบริการสุขภาพเด็กปฐมวัย ได้แก่ ด้านการวิเคราะห์สถานการณ์ การเข้าถึงบริการ การบริการที่สม่ำเสมอและต่อเนื่องของผู้ใช้บริการ ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรที่เกี่ยวข้องของทีมบริการ คลินิกกระตุ้นพัฒนาการ ด้านระบบการดูแลต่อเนื่อง ด้านรูปแบบการบริการทางคลินิกแบบสหสาขาวิชาชีพด้านการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการพัฒนาสมรรถนะ

        สรุป:  กระบวนการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเด็กปฐมวัย เป็นวงจรการพัฒนาที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาของทั้ง 3 ส่วน ได้แก่ ผู้ให้บริการทั้งในโรงพยาบาลและเครือข่าย มีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างและการพัฒนาสมรรถนะผู้รับบริการ มีการเข้าบริการที่รวดเร็วขึ้น มารับบริการสม่ำเสมอและต่อเนื่อง และระบบบริการเกิดผลลัพธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบบริการที่เหมาะสม ได้แก่ การจัดบริการคลินิกกระตุ้นพัฒนาการ ทีมดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ การบูรณาการการตรวจประเมินแบบ one stop services การกระตุ้นในหน่วยบริการปฐมภูมิในเครือข่าย สำหรับผู้ดูแลเด็กปฐมวัยที่มีภาวะเสี่ยง ส่งเสริมให้ผู้ดูแลเด็กมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบสุขภาพเด็กปฐมวัย

References

1. สุขจริง ว่องเดชากุล. รายงานการสำรวจพัฒนาการเด็กปฐมวัย ประจำปี 2550. นนทบุรี: สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2550.

2. สกาวรัตน์ เทพรักษ์ และคณะ. ภาวะโภชนาการและการเจริญเติบโตของเด็กปฐมวัยในเขตสาธารณสุขที่ 4 และ 5. ราชบุรี: งานอนามัยแม่และเด็กกลุ่มพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 4; 2557.

3. พรณิชา ชุณหคันธรส และคณะ. การประเมินผลการดำเนินงานโรงพยาบาลสายใยรักแห่งครอบครัวเขตสาธารณสุขที่ 4, 5 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 4; 2553.

4. ศิริพร จิรวัฒน์กุล. การวิจัยเชิงคุณภาพในวิชาชีพการพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2546.

5. Chandler D, Torbert B. Transforming inquiry and action: interweaving 27 flavors of action research. Action Res 2003;1(2):133-52.

6. Reason J. Achieving a safe culture: theory and practice. Work Stress 1998;12(3):293-306.

7. ทรงคุณ จันทจร. การถ่ายทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านในเรื่องทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ ของกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง ทุ่งกุลา อาณาจักรเกลือ 2000. มหาสารคาม: สถาบันวิจัยศิลปะ และวัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2549.

8. Bernard HR, Wutich AY, Ryan GW. Analyzing qualitative data: systematic approaches. 2nd ed. Los Angeles: SAGE; 2017.

9. Conway J, FitzGerald M. Processes, outcomes and evaluation: challenges to practice development in gerontological nursing. J Clin Nurs 2004;13(6B):121-7.

10. Palapirom R, Prasopkittikun T, Vichitsukon K. Effects of an empowerment program on mothers’ self efficacy in the care of children with developmental delays. J Nurs Sci. 2010;28(4):68-75.

11. Gibson CH. The process of empowerment in mothers of chronically ill children. J Adv Nurs 1995;21(6):1201-10.

12. Tangvoraphonkchai J, Thanattheerakul C. Holistic care for chronically Ill children in the hospital. J Nurs Sci and Health 2013;36(3):1-14.

13. สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. คู่มือบริการงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2554 เล่มที่ 4. กรุงเทพฯ: ศรีเมืองการพิมพ์จำกัด; 2553.

14. อรุณ แสงแก้ว. พฤติกรรมการดูแลเด็กเล็กของผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก [วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, ภาควิชาจิตวิทยาและการแนะแนว, บัณฑิตวิทยาลัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2550.

15. ดวงพร โตทัพ. การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการพัฒนาเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลสระพัฒนา อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยทองสุข; 2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10