การป้องกันกระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหักในโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 สุพรรณบุรี
คำสำคัญ:
ผู้สูงอายุ, กระดูกสะโพกหัก, การป้องกันการหกล้มบทคัดย่อ
กระดูกสะโพกหักจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุเป็นปัญหาสำคัญ โดยเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 2 รองจากอุบัติเหตุทางถนน และการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุอาจส่งผลทำให้กระดูกสะโพกหัก ไม่ว่าจะรักษาโดยการผ่าตัดหรือรักษาแบบอนุรักษ์ พบอัตราการเสียชีวิตใน 1 ปี ประมาณร้อยละ 12-20 ตามสถิติของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนระหว่างประเทศ ทั้งนี้อัตราการเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้นมากหากเป็นการหักซ้ำไม่ว่าจะเป็นข้างเดิมหรือข้างที่ยังไม่เคยหัก อีกทั้งประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ปัญหาจากการพลัดตกหกล้มยิ่งเป็นปัญหาสำคัญ ซึ่งควรตระหนักทั้งการป้องกันและรักษา
วัตถุประสงค์: เพื่อป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุที่เข้ารับการผ่าตัดรักษากระดูกสะโพกหัก
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบเปรียบเทียบเทียบวิเคราะห์ย้อนหลัง โดยแบ่งผู้ป่วยเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มไม่ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้ม (กลุ่มควบคุม) 106 คน ระหว่างปี พ.ศ. 2557-2558 และกลุ่มได้รับความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้ม (กลุ่มศึกษา) 143 คน ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2560 เครื่องมือที่ใช้คือ ความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ เปรียบเทียบข้อมูลระหว่างทั้งสองกลุ่มด้วยการทดสอบ chi-square และการทดสอบ Fisher’s exact กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05
ผลการศึกษา: พบว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้มมีอัตราการหักซ้ำลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จาก 12 ราย ใน 106 ราย (ร้อยละ 11.3) เป็น 6 ราย ใน 143 ราย (ร้อยละ 4.2) p =0.039
สรุป: ความรู้เรื่องการป้องกันการหกล้มนี้สามารถลดอัตราการหักซ้ำได้ ควรพิจารณาให้ความรู้นี้เพื่อป้องกันการหกล้มซ้ำในผู้สูงอายุทุกราย โดยเน้นการป้องกันที่บ้านและการดูแลโดยชุมชน
References
2. นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. รายงานการพยากรณ์การพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2560-2564. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
3. Kanis JA, Oden A, McCloskey EV, et al. A systematic review of hip fracture incidence and probability of fracture worldwide. Osteoporos Int 2012;23(9):2239-56.
4. Koso RE, Sheets C, Richardson WJ, et al. Hip Fracture in the Elderly Patients: A Sentinel Event. Am J Hosp Palliat Care 2018;35(4):612-9.
5. ประเสริฐ หลิ่วผลวณิชย์, เจริญชัย พากเพียรไพโรจน์, สมศักดิ์ ลีเชวงวงศ์. บูรณาการในการป้องกันและรักษากระดูกหักซ้ำซ้อนจากโรคกระดูกพรุน. วารสารกรมการแพทย์ 2558;40(4):16-9.
6. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. สถิติสาธารณสุข พ.ศ. 2557. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2558.
7. ชัชฎาภรณ์ จิตตา. ร้อยละตำบลที่มีระบบส่งเสริมสุขภาพดูแลผู้สูงอายุระยะยาว (Long Term Care) ในชุมชน ผ่านเกณฑ์. ใน: ศูนย์อนามัยที่ 5 กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. แบบรายงานการตรวจราชการ ปี 2560 จังหวัดสุพรรณบุรี วันที่ 25-27 มกราคม 2560. ราชบุรี: ศูนย์อนามัยที่ 5; 2560. หน้า 565-70.
8. ศุภฤทธิ์ เฮงคราวิทย์. โปรแกรมป้องกันกระดูกสะโพกหักซ้ำในผู้ป่วยสูงอายุที่เคยกระดูกสะโพกหัก. วารสารแพทย์เขต 4-5 2559;35(4):259-65.
9. นิพา ศรีช้าง, ลวิตรา ก๋าวี. การวิเคราะห์เชิงพรรณนา ข้อมูลระบบเฝ้าระวังการบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ (Falls in elderly people) ทั้ง 5 มิติของการดำเนินงาน. นนทบุรี: สำนักโรคไม่ติดต่อกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2559.
10. Wongsawang N, Jeenkhowkhum D, Boonsiri C, et al. Home environmental risks for falls and indecent of falls in older adults. Veridian E-journal, Silapakorn University 2017;10(3):2492-506.
11. ประเสริฐ อัสสันตชัย, บรรณาธิการ. ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในผู้สูงอายุและการป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล; 2554.
12. สุทธิชัย จิตะพันธ์กุล. หลักสำคัญของเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สาขาวิชาเวชศาสตร์ผู้สูงอายุและพฤฒาวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2544.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์