ความเชื่อมั่นของแบบทดสอบโปรแกรมกายภาพบำบัด หลังการผ่าตัดสร้างเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่าโดยการส่องกล้อง

ผู้แต่ง

  • Kittiwan Supichyangur, M.D. กลุ่มงานออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลราชวิถี กรุงเทพฯ

คำสำคัญ:

การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง, กายภาพบำบัด, เอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า

บทคัดย่อ

        โปรแกรมกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด โดยการส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่าขาดนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อผลการรักษา ซึ่งโปรแกรมที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันอยู่ในรูปแบบภาษาอังกฤษ อาจทำให้มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนได้ ทางผู้วิจัยจึงได้พัฒนาโปรแกรมกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด โดยการส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่าในรูปแบบภาษาไทยขึ้น

        วัตถุประสงค์:  เพื่อทดสอบความเชื่อมั่นของโปรแกรมกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด โดยการส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่าในรูปแบบภาษาไทย

        วิธีการศึกษา:  ทำการทดสอบความเชื่อมั่นของโปรแกรมกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด โดยการส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า ในรูปแบบภาษาไทยกับแพทย์ประจำบ้านออร์โธปิดิกส์ ชั้นปีที่ 2-4 ของโรงพยาบาลราชวิถี โดยใช้สถิติวิธีของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน ในช่วงระหว่าง มิถุนายน 2552 – พฤษภาคม 2553

        ผลการศึกษา:  ความเชื่อมั่นของโปรแกรมกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัด โดยการส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า ในรูปแบบภาษาไทยคือ 0.730

        สรุป:  ความน่าเชื่อถือของโปรแกรมกายภาพบำบัดหลังการผ่าตัดโดยการส่องกล้องรักษาเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่า ในรูปแบบภาษาไทยที่ทดสอบในแพทย์ประจำบ้านชั้นปีที่ 2-4 ในโรงพยาบาลราชวิถี อยู่ในระดับสูง

References

1. Greenfield BH. Rehabilitation of the knee: a problem-solving approach. Philadelphia: F.A. Davis; 1993.

2. Evans CH, White RD. Exercise testing for primary care and sports medicine physicians. New York: Springer; 2009.

3. Donald J. ACL made simple. New York: Springer; 2004.

4. Beaton DE, Bombardier C, Guillemin F, et al. Guidelines for the process of cross-cultural adaptation of self –report measures. Spine (Phila Pa 1976) 2000;25(24):3186-91.

5. Jackson DW. Reconstructive knee surgery. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

6. Feagin JA, Steadman JR. The crucial principles in care of the knee. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2008.

7. Herrera JE, Cooper G. Essential sports medicine. Totowa, NJ: Humana Press; 2008.

8. Novelli MM, Dal Rovere HH, Nitrini R, et al. Cross – cultural adaptation of the quality of life assessment scale on Alzheimer disease. Arq Neuropsiquiatr 2005;63(2A):201-6.

9. Campbell WC, Canale ST, Beaty JH. Campbell’s operative orthopaedics. 11th ed. Philadelphia: Mosby; 2008.

10. Insall JN, Scott WN. Insall & Scott surgery of the knee. 4th ed. Philadelphia: Churchill Livingstone; 2006.

11. เกียรติสุดา ศรีสุข. ความเชื่อมั่นของเครื่องมือวิจัย (Reliability). เชียงใหม่: คณะศึกษาศาสตร์สาขาการวิจัยและพัฒนาการศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-10