ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แพทย์แผนไทย ในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

ผู้แต่ง

  • Natthansa Yingyongmatee, M.N.S. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์
  • Sirima Wonglamthong, M.N.S. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์
  • Nitima Suparee, Ph.D. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการใช้แพทย์แผนไทย, การดูแลสุขภาพ, ผู้ป่วยเบาหวาน

บทคัดย่อ

        วัตถุประสงค์:  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้แพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวาน

        วิธีการศึกษา:  เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive research) จากกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยเบาหวานที่มารับการตรวจที่คลินิกเบาหวาน แผนกผู้ป่วยนอก และศูนย์สุขภาพชุมชนของโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ จำนวน 400 ราย เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบสะดวก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ หาความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม ปัจจัยนำด้านความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ใช้สูตรคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (KR-21) R เท่ากับ 0.77 ส่วนแบบสอบถามปัจจัยนำ ได้แก่ เจตคติต่อการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย แบบสอบถามปัจจัยเอื้อการเข้าถึงแหล่งบริการด้านการดูแลสุขภาพ แบบสอบถามปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทต่างๆ และการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคล โดยใช้สูตรสัมประสิทธิอัลฟ่าของครอนบาค มีค่าเท่ากับ .83, .82, .73, .82 และ .73 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (multiple correlation)

        ผลการศึกษา: กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการใช้แพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 66.5) โดยใช้วิธีการนวดตัวมากที่สุด (ร้อยละ 63.8) ปัจจัยนำ ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย เจตคติต่อ การดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย การรับรู้ประโยชน์ของการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การเข้าถึงแหล่งบริการด้านการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย ปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับข้อมูลข่าวสารจากสื่อประเภทต่างๆ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคล พบว่าปัจจัยทั้ง 3 ด้าน ปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้แพทย์แผนไทยในการดูแลสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยปัจจัยเสริมด้านการได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากบุคคลมีความสัมพันธ์สูงสุด (r=.34, p=.01) รองลงมาปัจจัยนำด้านเจตคติต่อการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย (r=.31, p=.01) จึงควรมีการเสริมสร้างและพัฒนา การสร้างแรงสนับสนุนจากครอบครัว เพื่อน บุคลากรทางสุขภาพ ให้มีความเข้มแข็ง ปลูกฝังเจตคติที่ดีต่อการใช้แพทย์แผนไทย

Author Biographies

Natthansa Yingyongmatee, M.N.S., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์

สาขาการพยาบาลผู้ใหญ่ 

Sirima Wonglamthong, M.N.S., วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์

สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ

References

1. สำนักโรคไม่ติดต่อ. จำนวนและอัตราตายโรคไม่ติดต่อ ปี 2559 - 2560 (ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน, หัวใจขาดเลือด, หลอดเลือดสมอง, หลอดลมอักเสบ ถุงลมโป่งพอง) [อินเทอร์เน็ต]. 2560. [วันที่สืบค้น 24 กันยายน 2561] เข้าถึงได้จาก URL: https://www.thaincd.com/2016/mission/documents-detail.php?id=13486&tid=32&gid=1-020

2. กองแผนงาน กรมควบคุมโรค. รายงานผลการดำเนินงานกรมควบคุมโรครอบ 6 เดือน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 (1 ตุลาคม 2560- 31 มีนาคม 2561). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

3. รุจินาถ อรรถสิษฐ และคณะ. คู่มือการดูแลสุขภาพตามวัยด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย. นนทบุรี: จุฑาเจริญทรัพย์; 2559.

4. วิภา อุทยานินทร์, เสาวนันท์ บำเรอราช, กาญจนา นิ่มสุนทร. พฤติกรรมการใช้สมุนไพรในการลดระดับน้ำตาลในเลือดผู้ป่วยเบาหวาน : ข้อมูลพื้นฐานเพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบบริการเบาหวานในอำเภอห้วยแถลง. วารสารการพัฒนาสุขภาพชุมชนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2556;1:11-24.

5. ธราดล เก่งการพานิช, ประสิทธิ์ ลีระพันธ์, มณฑา เก่งการพานิช, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการกินสมุนไพรเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2558;31:13-25.

6. สุรวิทย์ ศักดานุภาพ. ผลของการนวดกดจุดสะท้อนฝ่าเท้าต่อระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมของผู้ที่เป็นเบาหวาน ชนิดที่ 2. วารสารสำนักการแพทย์ทางเลือก 2553;3:33-40.

7. Green LW, Kreuter MW. Health promotion planning: an educational and ecological approach. 3rded. California: Mayfield; 1999.

8. ประดับเพชร ครุฑชั่งทอง. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพด้วยการนวดแผนไทยของผู้มารับบริการในศูนย์การแพทย์แผนไทยประยุกต์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. สาขาสุขศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2551.

9. นันธิยะ ศรีแก้ว, นิตยา วัจนะภูมิ, ชัยณรงค์ อภิณหพัฒน์. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเลือกใช้สถานบริการนวดแผนไทยของประชาชน ตำบลคลองสอง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2558;15:272-80.

10. ฤทธิชัย พิมปา, มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์, นิรัตน์ อิมามี, และคณะ. พฤติกรรมการใช้ยาสมุนไพรของผู้ป่วยโรคเบาหวาน จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ 2557;30:14-25.

11. ชาติชาย นันทเสนีย์. โรคเบาหวานและการรักษาในเชิงทฤษฎีการแพทย์แผนไทย [ วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต]. คณะการแพทย์แผนตะวันออก บัณฑิตวิทยาลัย. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต; 2556.

12. จุฑารัตน์ เสรีวัตร, กรัณฑรัตน์ บุญช่วยธนาสิทธิ์. ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทยในนักศึกษา คณะการแพทย์แผนตะวันออก มหาวิทยาลัยรังสิต. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก2553;8:76-80.

13. สุกิจ ไชยชมภู, พูนสุข ช่วยทอง, วิราสิริริ์ วสีวีรสิว์, และคณะ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้สมุนไพรรักษาโรคของประชาชน ในเขต 11 กระทรวงสาธารณสุข. วารสารเกื้อการุณย์ 2555;19:60-74.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-08-11