ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหิน
คำสำคัญ:
การเกิดภาวะแทรกซ้อน, การตั้งครรภ์บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหิน
วิธีการศึกษา: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนมารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหิน ในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2557 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559 จำนวน 8,309 คน โดยเก็บข้อมูลของมารดาวัยรุ่นและมารดาวัยผู้ใหญ่ที่ตั้งครรภ์ ได้แก่ อายุมารดา เชื้อชาติ จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก จำนวนการฝากครรภ์ อายุครรภ์เมื่อคลอด ภาวะโลหิตจาง ผลการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย ผลการตรวจเชื้อเอชไอวี ข้อมูลภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์และคลอด ได้แก่ คลอดก่อนกำหนด ภาวะพร่องออกซิเจนของทารกที่ 1 นาทีหลังคลอด ภาวะพร่องออกซิเจนของทารกที่ 5 นาที หลังคลอด และน้ำหนักตัวทารกแรกคลอด เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดา โดยใช้สถิติ chi square test
ผลการศึกษา: มารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหินเป็นมารดาอายุ 20-34 ปี ร้อยละ 70.2 เชื้อชาติ ไทย ร้อยละ 90.8 ตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก ร้อยละ 42.8 อายุครรภ์เมื่อฝากครรภ์ครั้งแรก 12 สัปดาห์ขึ้นไป ร้อยละ 56.3 จำนวนการฝากครรภ์ 5 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 85.1 อายุครรภ์เมื่อคลอด 37-41 สัปดาห์ ร้อยละ 91.1 ผลตรวจไม่พบภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 79.6 การตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมียผลปกติ ร้อยละ 99.3 และการตรวจเอชไอวี ผลลบร้อยละ 95.8 จากการวิเคราะห์การเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหิน พบว่ามีการคลอดก่อนกำหนดอายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ ร้อยละ 6.9 มีภาวะพร่องออกซิเจนของทารกที่ 1 นาทีหลังคลอด ร้อยละ 1.2 มีภาวะพร่องออกซิเจนของทารกที่ 5 นาที หลังคลอด ร้อยละ 0.5 และน้ำหนักทารกแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 10.4
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้แก่
- พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการคลอดก่อนกำหนดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 คือ มารดาที่เป็นต่างชาติและมารดาที่มีจำนวนการฝากครรภ์น้อยกว่า 5 ครั้ง
- พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะพร่องออกซิเจนของทารกที่ 1 นาที หลังคลอดและภาวะพร่องออกซิเจนของทารกที่ 5 นาที หลังคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 คือ มารดาที่เป็นต่างชาติและมารดาที่มีอายุครรภ์เมื่อคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์
- พบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักทารกแรกคลอดน้อยกว่า 2,500 กรัมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ระดับ 0.05 คือ มารดาที่มีอายุน้อยกว่า 20 ปี มารดาที่ตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก มารดาที่มีอายุครรภ์เมื่อคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์ และมารดาที่มีภาวะโลหิตจาง สำหรับผลการตรวจคัดกรองโรคธาลัสซีเมีย และผลการตรวจเชื้อเอชไอวี ไม่พบความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน
สรุป: ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์ในมารดาที่มาคลอดในโรงพยาบาลหัวหิน ได้แก่ มารดาต่างชาติ มารดาอายุน้อยกว่า 20 ปี มารดาที่ตั้งครรภ์เป็นครรภ์แรก มารดาที่ฝากครรภ์น้อยกว่า 5 ครั้ง มารดาที่มีภาวะโลหิตจาง และมารดาที่มีอายุครรภ์เมื่อคลอดน้อยกว่า 37 สัปดาห์
References
2. World Health Organization. Preterm birth [intenet]. 2018 [updated 2018 Feb 19; cited 2019 June 10]. Available from: URL: http://www.who.int/mediacentre/factsheets/fs363/en/
3. Beck S, Wojdayla D, Say L, Betran AP, et al. The worldwide incidence of preterm birth: a systematic review of maternal mortality and mobidity. Bull World Health Organ 2010;88(1):31-8.
4. ประนอม บุพศิริ. คลอดก่อนกำหนด (Preterm labor) [อินเทอร์เน็ต]. 2015 [วันที่ปรับปรุง ข้อมูล 29 ต.ค. 2559; วันที่สืบค้น 10 ม.ิย. 2562]. เข้าถึงได้จาก URL: http://haamor.com/th/คลอดก่อนกำหนด/
5. สุวชัย อินทรประเสริฐ. การป้องกันการคลอดก่อน กำหนด. ใน: คู่มือตั้งครรภ์และเตรียมคลอด. พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพฯ: รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป; 2548. หน้า 290-99.
6. กระทรวงสาธารณสุข. แผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (ด้านสาธารณสุข). นนทบุร:ี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์; 2559.
7. Chawanpaiboon S, Sutantawibul A. Preterm birth at Siriraj Hospital: a seven-year review (2002-2008). Thai J Obstet Gynecol 2009;17(4):204-11.
8. ธีระพงศ์ เจริญวิทย์. การเจ็บครรภ์และการคลอด ก่อนกำหนด. ใน: ธีระพงษ์ เจริญวิทย์, บุญชัย เอื้อไพโรจน์กิจ, ศักนัน มะโนทัย, และคณะ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร.์ พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2551. หน้า 317-27.
9. คณะกรรมการอำนวยการจัดทำแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ. แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2550.
10. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ข้อมูลอนามัยแม่และเด็กประเทศไทย 2552. กรุงเทพฯ: กระทรวงสาธารณสุข; 2552.
11. World Health Organization. Global nutrition targets 2025: low birth weight policy brief (WHO/NMH/NHD/14.5) 2014. [internet]. 2019 [updated 2014; cited 2019 March 27]. Available from: URL: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/149020/WHO_NMH_NHD_14.5_eng.pdf?ua=1
12. เชิดชู อริยศรีวัฒนา. สถานการณ์เด็กแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ [อินเทอร์เน็ต]. 2558 [สืบค้น เมื่อ 5 มีนาคม 2558]. เข้าถึงได้จาก URL: http://nanao.4t.com/health01.htm
13. กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารรายงานผลการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ช่วงแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ในระยะ 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552). นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
14. กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการดำเนินงาน ประจำปี 2558. กรุงเทพฯ: กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข; 2558.
15. ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี. เอกสารตรวจราชการ และนิเทศงาน ปี 2561 [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 27 มีนาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก URL: https://apps.hpc.go.th/dl/web/ upFile/2018/07-1018-20180717014616/ f802c3d52ecbdb771629d5009914d3cc.pdf
16. เอื้อมพร ราชภูติ. การวิเคราะห์สถานการณ์การ ฝากครรภ์ไม่ครบตามเกณฑ์ของหญิงตั้งครรภ์ โรงพยาบาลระนอง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาล ศาสตร์มหาบัณฑิต]. สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, บัณฑิตวิทยาลัย. เชียงใหม:่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม;่ 2554.
17. ชญาศักดิ์ พิศวง, ปริศนา พานิชกุล. ปัจจัยเสี่ยงที่ สัมพันธ์กับภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด ในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า. เวชสารแพทย์ ทหารบก 2554;64(3):109-19.
18. จริญญา แสงจันทร์. ปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะขาดออกซิเจนของทารกแรกเกิด วารสารวิชาการแพทย์ เขต 11 2558;29(3):393-402.
19. ชุติมา ไตรนภากุล. ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลราชบุรี. วารสารแพทย์เขต 4-5 2560;36(2):79-87.
20. วิชญา เวชยันต์ศฤงคาร. ผลการตั้งครรภ์ในมารดาวัยรุ่นที่ในคลอดครรภ์แรก โรงพยาบาลบางใหญ่. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2555;29(2):82-92.
21. ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์, สมเกียรติ วรเดช, ภานุมาศ พิกุล, และคณะ. ปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักทารกแรกคลอด อำเภอบางแก้ว จังหวัดพัทลุง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2560;26(3):517-24.
22. ภัทรวดี อัญชลีชไมกร. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย โรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข 2554;21(1):71-9.
23. สุรชัย พงศ์หล่อพิศิฏ์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร 2552;30(3):146-53.
24. อรพินท์ กอสนาน. ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. วารสารศูนย์การศึกษาแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า 2556;30(4):287-99.
25. วิทูรย์ ประเสริฐเจริญสุข. โภชนาการในระหว่างตั้งครรภ.์ ศรีนครินทร์เวชสาร 2542;14(2):141-5.
26. วรพงศ์ ภู่พงศ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์. ใน: ธีระพงศ ์เจริญวิทย ์และคนอื่นๆ, บรรณาธิการ. สูติศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พริ้นติ้งเฮ้าส์; 2551. หน้า 445-52.
27. ศิริฉัตร รองศักดิ์, ประนอม พูลพัฒน์, มยุรัตน์ รักเกียรติ์. ภาวะโลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์ที่มา ฝากครรภ์และคลอดในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35(3):39-47.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์