ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
ผู้ป่วยจิตเภท, การมีส่วนร่วมบทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: 1) ศึกษาปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 2) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง 3) เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมในการดูแลผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง
วิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามที่พัฒนาขึ้นเอง โดยผ่านการตรวจสอบความถูกต้องของเนื้อหาของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ประชากรผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข และผู้นำชุมชน จาก 10 ตำบล ของอำเภอแม่ทะ จำนวน 150 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และสหสัมพันธ์ (correlation)
ผลการศึกษา: 1) ปัจจัยการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง ได้แก่ สถานะในครอบครัว/ชุมชน การศึกษา และรายได้ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05, 0.01 และ 0.05 ตามลำดับ 2) ระดับการมีส่วนร่วมของครอบครัว ในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง พบว่า ระดับการมีส่วนร่วมสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรม และต่ำสุด คือ ด้านการประเมินผล 3) ข้อเสนอแนะการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง คือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาสาสมัครสาธารณสุขและผู้นำชุมชน ควรใช้ปัจจัยด้านสถานะในครอบครัว/ชุมชนในการพัฒนาการมีส่วนร่วมของชุมชน ในด้านการประเมินผล ด้านการวางแผนและด้านการสนับสนุนและตัดสินใจ เพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูสุขภาพผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง ให้ผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรังได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม
References
2. จันทร์เพ็ญ สุทธิชัยโชติ. ผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจผู้ป่วยจิตเภทในการใช้ยาตามเกณฑ์การรักษาสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต 2556;27:75-86.
3. สุดาพร สถิตยุทธการ. การกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยจิตเภทเรื้อรัง:สถานการณ์และแนวทางป้องกัน. วารสารพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2559;28:1-15.
4. สุนทรีภรณ์ ทองไสย. การดูแลผู้ป่วยจิตเภทในบริบทสังคมไทยอย่างยั่งยืน. วารสารกองการพยาบาล2558;42:159-67.
5. กรมสุขภาพจิต. รายงานประจำปี 2559. นนทบุรี: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
6. ศรีสุดา วงศ์วิเศษกุล, พิไลพร สุขเจริญ, สมจิตร์ พยอมยงค์. รูปแบบการสร้างเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนเขตบางพลัด กรุงเทพฯ. วารสารวิจัย มสด. 2558;10:153-74.
7. เอกศักดิ์ เฮงสุโข. ศักยภาพของชุมชนในการสร้างเสริมสุขภาพด้วยการออกกำลังกายของผู้สูงอายุ. วารสารวิจัย มสด. 2557;10:129-42.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์