ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน งานห้องผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • Samlee Kimnarak, B.N.S., M.P.H. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม
  • Ratree Sukhong, M.N.S. กลุ่มการพยาบาล, โรงพยาบาลนครปฐม
  • Yupa Pimdee, M.N.S. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม
  • Sompong Jaigra, B.N.S., B.Ed. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

แนวปฏิบัติการพยาบาล, การถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่วางแผน

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:  เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ในงานห้องผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลนครปฐม

วิธีการศึกษา:  การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimental) คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 15 ปี ทั้งเพศชายและเพศหญิงที่เข้ารับการรักษาในห้องผู้ป่วยหนัก (ผู้ใหญ่) และหอผู้ป่วยกึ่งวิกฤตอายุรกรรม โรงพยาบาลนครปฐม จำนวน 210 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน จำนวน 70 คน  คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในพื้นที่ ศึกษาระหว่างเดือนพฤศจิกายน – ธันวาคม 2561 และกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน จำนวน 140 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในพื้นที่ศึกษาเดือนพฤษภาคม 2562 จำนวน 70 คน และเดือนมิถุนายน 2562 จำนวน 70 คน แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน ประกอบด้วย 3 หมวด  ได้แก่ หมวดที่ 1 การปฏิบัติการพยาบาล (nursing intervention: I) ประกอบด้วย การส่งเสริมการสื่อสารในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ การยึดตรึงท่อช่วยหายใจ การดูดเสมหะและการดูแลช่องปาก การผูกยึดร่างกายอย่างปลอดภัย  หมวดที่ 2 การเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด (close-up monitoring: C) ประกอบด้วย การประเมินระดับความรู้สึกตัวและพฤติกรรมการเคลื่อนไหว การประเมินและการจัดการความปวด ภาวะ กระสับกระส่าย และภาวะสับสนเฉียบพลัน การประเมินความพร้อมในการหย่าเครื่องช่วยหายใจ และหมวดที่ 3 ประกอบด้วย การนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ (utilizing: U)  โดยการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผล เก็บข้อมูลโดยใช้แบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง และแบบประเมินประสิทธิผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย chi-square และ F-test

ผลการศึกษา:  พบอัตราการเกิดอุบัติการณ์ถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน 24.90 ครั้งต่อ 1000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ ในกลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน 17.18 และ 7.14 ครั้งต่อ 1000 วันใส่ท่อช่วยหายใจ ในกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน เดือนพฤษภาคมและมิถุนายน 2562 ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มก่อนและกลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน กลุ่มหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนมีอุบัติการณ์ถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนต่ำกว่ากลุ่มก่อนใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p <.05 (p=.024) แต่ไม่พบความแตกต่างทางสถิติของจำนวนวันใส่ท่อช่วยหายใจระหว่างกลุ่มก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน (p=.178). 

สรุปและข้อเสนอแนะ:  แนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผน จากการศึกษาในครั้งนี้มีประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วย จึงควรขยายผลนำไปใช้ในกลุ่มผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจทางจมูกและเจาะคอ และพัฒนารูปแบบการบันทึกทางการพยาบาลให้เอื้อต่อการนำแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนไปใช้

References

1. กวีศักดิ์ จินตตวัฒนรัตน์. เวชบำบัดวิกฤติศัลยศาสตร์ในเวชปฏิบัติ. เชียงใหม่: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.

2. da Silva PS, Fonseca MC. Unplanned endotracheal extubations in the intensive care unit: systematic review, critical appraisal, and evidence-based recommendations. Anesth Analg 2012;114(5):1003-14.

3. Cosentino C, Fama M, Foà C, et al. Unplanned Extubations in Intensive Care Unit: evidences for risk factors. A literature review. Acta Biomed 2017;88(5S):55-65.

4. de Groot RI, Dekkers OM, Herold IH, et al. Risk factors and outcomes after unplanned extubations on the ICU: a case-control study. Crit Care 2011;15(1):R19.

5. Kiekkas P, Aretha D, Panteli E, et al. Unplanned extubation in critically ill adults: clinical review. Nurs Crit Care 2013;18(3):123-34.

6. McNett M, Kerber K. Unplanned Exubations in the ICU: Risk Factors and Strategies for Reducing Adverse Events. JCOM 2015;22(7):303-11.

7. Ismaeil MF, El-Shahat HM, El-Gammal MS, et al. Unplanned versus planned extubation in respiratory intensive care unit, predictors of outcome. Egypt J Chest Dis Tuberc 2014;63(1):219-31.

8. Kwon E, Choi K. Case-control Study on Risk Factors of Unplanned Extubation Based on Patient Safety Model in Critically Ill Patients with Mechanical Ventilation. Asian Nurs Res (Korean Soc Nurs Sci) 2017;11(1):74-8.

9. จงกล พลตรี, จิราพร ศิริโชค, รังสี ฆารไสว, และคณะ. การศึกษาอุบัติการณ์ถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางของผู้ป่วยที่เข้ารักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์; การประชุมวิชาการ ครั้งที่ 27 ประจำปี 2554. Srinagarind Med J 2011:26 (Suppl):162.

10. สมจิตต์ แสงศรี. การพัฒนาและประเมินผลแนวปฏิบัติการพยาบาลเพื่อป้องกันการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในหออภิบาลผู้ป่วยศัลยกรรม โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2555.

11. บังอร นาคฤทธิ์. การเลื่อนหลุดของท่อช่วยหายใจและระยะเวลาการใส่เครื่องช่วยหายใจในผู้ป่วยวิกฤตที่ได้รับการดูแลโดยใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลที่สร้างจากหลักฐานเชิงประจักษ์. วารสารเกื้อการุณย์ 2558;22(1):129-43.

12. สมพร นรขุน. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดการถอดท่อช่วยหายใจโดยไม่ได้วางแผนในผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก 2559;27:72-84.

13. มณีนุข สุทธสนธิ์, ขนิษฐา แก้วกัลยา, วาสนา นัยพัฒน์. ผลของการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลต่ออัตราการเกิดท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดในผู้ป่วยอาการหนักที่ใส่ท่อช่วยหายใจ. วารสารการพยาบาลและการศึกษา 2560;10:58-70.

14. อุดมลักษณ์ เตียสวัสดิ์, ดลวิวัฒน์ แสนโสม, อัจฉราวรรณ นาเมืองจันทร์, และคณะ. การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลผู้ป่วยใช้เครื่องช่วยหายใจในงานดูแลผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลขอนแก่น. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2560;35:194-206.

15. นภัสภรณ์ ดวงแก้ว. ประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับการป้องกันท่อช่วยหายใจ เลื่อนหลุดในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมโรงพยาบาลลำปาง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2552.

16. ศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลนครปฐม. รายงานอุบัติการณ์ความเสี่ยงประจำปี 2558-2561. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2561.

17. กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลนครปฐม. วิธีปฏิบัติการพยาบาลเรื่องแนวทางปฏิบัติปฏิบัติการป้องกันท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุดโดยไม่ได้วางแผน. นครปฐม: โรงพยาบาลนครปฐม; 2557.

18. National Health and Medical Research Council. A guide to the development, implementation and evaluation of clinical practice guidelines. Canberra: Commonwealth of Australia; 1999.

19. G*Power 3.1 manual [internet]. 2017 March 1 [cited 2019 June 8]. Available from: URL: http://www.gpower.hhu.de/fileadmin/redaktion/Fakultaeten/Mathematisch-Naturwissenschaftliche_Fakultaet/Psychologie/AAP/gpower/GPowerManual.pdf

20. Shapiro SE. Grading evidence for practice. Adv Emerg Nurs J 2010;32(1):59-67.

21. สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์. การประเมินคุณภาพแนวทางปฏิบัติ สำหรับการวิจัยและการประเมินผล ฉบับภาษาไทย. นนทบุรี: กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.

22. Selvan k, Edriss H, Sigler M, et al. Self-extubation in ICU patients. The Southwest Respiratory and Critical Care Chronicles 2014;2(8):31-4.

23. Jarachovic M, Mason M, Kerber K, et al. The role of standardized protocols in unplanned extubations in a medical intensive care unit. Am J Crit Care 2011;20(4):304-11.

24. Chuang ML, Lee CY, Chen YF, et al. Revisiting Unplanned Endotracheal Extubation and Disease Severity in Intensive Care Units. PLoS One 2015;10(10):e0139864.

25. พิมพ์ใจ หัดประกอบ. ประสบการณ์ของผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยหายใจในหออภิบาลผู้ป่วยหนักศัลยกรรม โรงพยาบาลตติยภูมิแห่งหนึ่ง [วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2556.

26. วรางคณา สายสิทธิ์. เอกสารประกอบการสอน เรื่อง หลักการดูแลผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยวิกฤต. นครปฐม: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม; 2562.

27. กวีศักดิ์ จิตตวัฒนรัตน์, บรรณาธิการ. เวชบำบัดวิกฤติศัลยศาสตร์ในเวชปฏิบัติ. เชียงใหม่: ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2560.

28. สุนันทา ครองยุทธ. การจัดการภาวะสับสนเฉียบพลันของผู้ป่วยไอซียู. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา 2016;23(4):89-9.

29. Kallet R, Summers TJ, Lipnick MS. Characteristics of Unplanned Extubation Events in the Critical Care Setting. RESP CARE 2018;63 (Suppl 10):3016944.

30. รุจิรางค์ วรรณธนาทัศน์, รัชตวรรณ ศรีตระกูล, สมปรารถนา ดาผา, และคณะ. การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกการพยาบาลในการบริหารยาความเสี่ยงสูง โดยการมีส่วนร่วมของพยาบาลผู้นิเทศทุกระดับ โรงพยาบาลนครปฐม. วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ 2561:36(1);234-43.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-09-25