สภาวะสุขภาพช่องปากที่เกี่ยวข้องกับภาวะทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของหญิงตั้งครรภ์ ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • สุอัมพร ค้าทวี ท.บ.,ส.ม., กลุ่มงานทันตกรรม โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

คำสำคัญ:

สภาวะทันตสุขภาพ, สภาวะปริทันต์, ภาวะแรกเกิดน้ำหนักน้อย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาปัจจัยด้านสภาวะสุขภาพช่องปากที่สัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยของหญิงมีครรภ์ที่มาคลอดบุตรที่โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

วิธีการศึกษา: วิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิโดยเก็บข้อมูลทางการแพทย์และสภาวะสุขภาพช่องปากจากเวชระเบียนผู้ป่วย แบบบันทึกการตรวจสุขภาพช่องปากของหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทารกมีชีพทุกรายจากเวชระเบียนที่มาฝากครรภ์และมาคลอดในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2561 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test independent, chi-square test, และ binary logistic regression และประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI)

ผลการศึกษา: หญิงตั้งครรภ์ทั้งหมด 757 ราย อายุเฉลี่ย 25 ปี หญิงที่คลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมีความถี่ของการมารับบริการทันตกรรมก่อนตั้งครรภ์น้อยกว่ากลุ่มหญิงตั้งครรภ์ที่คลอดทารกน้ำหนักปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  อาชีพ ลำดับการตั้งครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด และสภาวะโรคปริทันต์มีความสัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)  การคลอดก่อนกำหนดและสภาวะโรคปริทันต์อักเสบในหญิงตั้งครรภเพิ่มปัจจัยเสี่ยงในการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยมากกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่มีสภาวะดังกล่าว 17 เท่า (95% CI: 8.99-31.38) และ 12 เท่า (95% CI: 3.30-44.12) ตามลำดับ

สรุป: การคลอดก่อนกำหนดและหญิงตั้งครรภ์ที่มีสภาวะโรคปริทันต์อักเสบเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย ดังนั้น หญิงมีครรภ์ควรได้รับการตรวจสุขภาพฟันและดูแลสุขฟันด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์    

References

1. รุ่งนภา รู้ชอบ, นิตยา สินสุกใส, วรรณา พาหุวัฒนกรม, และคณะ. ปัจจัยทำนายการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2558;33(3):18-29.

2. Murthy S, Mubashir A, Kodkany BS, et al. Pregnancy periodontitis and low birth weight: A cohort study in rural Belgaum, India. GJMEDPH. 2012; 1(4):42-8.

3. Santa CI, Herrera D, Martin C, et al. Association between periodontal status and pre-term and/or low-birth weight in Spain: clinical and microbiological parameters. J Periodont Res. 2013;48:443–51.

4. สุทิสา ไทยงาม. โรคปริทันต์อักเสบในหญิงตั้งครรภ์และผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์ของการตั้งครรภ์ ในบทความปริทัศน์. วิทยาสารทันตสาธารณสุข. 2553;15(1):18-27.

5. ธราธิป โคละทัต, จันทิมา จรัสทอง. การแก้ปัญหาภาวะคลอดก่อนกำหนด:ตัวชี้วัดผลสำเร็จระดับประเทศ(อินเตอร์เน็ต). 2559 [เข้าถึงเมื่อ 31 สิงหาคม 2562]. เข้าถึงได้จาก: http:www.tmchnetwork.com/node/162

6. ปัญญา สนั่นพานิชกุล. การตั้งครรภ์กับการเกิดของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2557;23(3):539-54.

7. โรงพยาบาลดำเนินสะดวก.ทะเบียนรายงานกลุ่มงานสูติ-นรีเวช ปีงบประมาณ 2560-61. ราชบุรี: โรงพยาบาลดำเนินสะดวก; 2561.

8. ประนอมจิตร์ แย้มหลั่งทรัพย์, พัชราวไล ควรเนตร, ณรงค์ ประทุมเกษ. ปัจจัยที่ส่งผลต่อน้ำหนักของทารกแรกเกิดน้อยกว่า 2,500 กรัม โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชวาสนมหาเถระ(นครหลวง) อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. พระนครศรีอยุธยา: กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

9. จริยา อัฐนาค. ปัจจัยที่ส่งผลให้ทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ปี 2551. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ. 2551;1(2):42-56.

10. ปิ่นมณี แซ่เตีย.ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อย. วารสารการแพทย์โรงพยาบาลศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์. 2555;27:65-76.

11. สุรชัย พงศ์หล่อพิศิษฏ์. ปัจจัยเสี่ยงของมารดาต่อการคลอดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลเถิน จังหวัดลำปาง. ลำปางเวชสาร. 2552;30(3):146-53.

12. นิตยา พวงราช. ปัจจัยเสี่ยงของมารดากับทารกแรกเกิดน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2560;6(2):346-52.

13. อรพินท์ กอสนาน. ผลต่อการเกิดทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยในโรงพยาบาลบางน้ำเปรี้ยว. วารสารศูนย์การแพทยศาสตร์คลินิก โรงพยาบาลพระปกเกล้า. 2556;30(4):287-99.

14. อุษาวดี จะระนิล, ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์, อรวรรณ นิมิตวงศ์สกุล. ปัจจัยของหญิงตั้งครรภ์ที่มีผลต่อทารกนํ้าหนักน้อย โรงพยาบาลหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. Graduate Research Conference. 2557:1791-800.

15. จินตนา รัตนะ, จันทร์พิมพ์ หินเทาว์, สุกัญญา เธียรวิวัฒน์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเข้ารับบริการทันตกรรมในช่วงอายุครรภ์ 4-6 เดือนของหญิงตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาลหลังสวน จังหวัดชุมพร. J DENT ASSOC THAI. 2014; 64(3):1256-67.

16. Zhong C, Ma KN, Wong YS, et al. Oral health knowledge of pregnant women on pregnancy gingivitis and children’s oral health. J Clin Pediatr Dent. 2015;39:105–8.

17. Elifuraha GS M, Maniji KP. Maternal oral health status and preterm low birth weight at Muhimbili National Hospital, Tanzania: a case-control study. BMC Oral Health. 2007;7:8.

18. Saddki N, Bachok NA, Hussain NH, et al. The association between maternal periodontitis and low birth weight infants among Malay wowen. Community Dent Oral Epidemiol, 2008;36(4):296-304.

19. Tarannum F, Faizuddin M. Association between gingival crevicular fluid prostaglandin E 2 level and preterm low birth weight. Indian Journal of Dental Research. 2012;23(1):120.

20. Michalowicz BS, Hodges JS, DiAngelis AJ, et al. Treatment of Periodontal Disease and the Risk of Preterm Birth. N Engl J Med. 2006;355(18):1885-94.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29