ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ผู้แต่ง

  • เทียนชัย เมธานพคุณ พ.บ., กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

คำสำคัญ:

เบาหวานขึ้นจอประสาทตา, ผู้ป่วยโรคเบาหวาน, ปัจจัยเสี่ยง

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลหัวหิน

วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกรายที่เข้ารับบริการในคลินิกจักษุ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบบันทึกข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลเพศ อายุ ดัชนีมวลกายโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดครั้งล่าสุด ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาด้วยการวิเคราะห์ t-test independent, chi-square test เปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มที่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตากับกลุ่มที่ไม่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ด้วยการวิเคราะห์ binary logistic regression และการประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่น คิดเป็นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI) และพิจารณาจุดตัดของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ด้วยค่า sensitivity และ specificity โดย ROC curve

ผลการศึกษา: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1,404 ราย พบความชุกของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 8.8 ระดับน้ำตาลในเลือด (mg/dL) ในกลุ่มที่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา   (155.83 ± 45.94) มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (144.52 ± 40.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และระยะเวลาเป็นเบาหวาน (เดือน) ในกลุ่มที่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (110.17 ± 79.20) มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (74.34 ± 60.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยพบว่า ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น 1 mg/dL ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 โดยมีจุดตัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 173.50 mg/dL และถ้าระยะเวลาเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น 1 เดือน ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.70 โดยมีจุดตัดระยะเวลาเป็นเบาหวานอยู่ที่ 138 เดือน ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย      โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

สรุป : ความชุกของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาล หัวหิน เท่ากับร้อยละ 8.8 ระดับน้ำตาลในเลือดและระยะเวลาการเป็นเบาหวานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ดังนั้นควรมีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและเฝ้าระวัง เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ตั้งแต่ 173.50 mg/dL ขึ้นไป เพื่อลดการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา

References

1. Wild S, Roglic G, Green A, et al. Global prevalence of diabetes: estimatesfor the year 2000 and projections for 2030. Diabetes care 2004; 27(5): 1047-53.

2. Chan JC, Malik V, Jia W, et al. Diabetes in Asia: epidemiology, risk factors, and pathophysiology. JAMA 2009; 301(20): 2129-40.

3. Wild S, Sicree R, Roglic G et al. Global prevalence of diabetes :Estimates for the year 2000 and projections for 2030. Diabetes Care 2004: 27(5); 1047-53.

4. Department of Health Ministry of Public Health. Bureau of Health Promotion Report of health survey among Thai elderly 2013 under the health promotion plan for the elderly and disabled. Nonthaburi: Wacharin PP Printing; 2013. (in Thai).

5. Aeplakorn W. Fifth National Health Examination survey 2014; 2016 Nov 1. Bangkok: Aksorn graphic and design; 2016.

6. Resnikoff S, Pascolini D, Etya’ale D, et al. Global data on visual impairment in the year 2002. Bull World Health Organ 2004; 82(11): 844-51.

7. Wilkinson CP, Ferris FL 3rd, Klein RE, et al. Proposed international clinical diabeticretinopathy and diabetic macular edema disease severity scales. Ophthalmology 2003;110(9):1677-82.

8. Yau JW, Rogers SL, Kawasaki R, et al. Global prevalence and major risk factors of diabetic retinopathy.Diabetes Care 2012; 35(3): 556-64.

9. Isipradit S, Sirimaharaj M, Charukamnoekanok P, et al. The first rapid assessment of avoidable blindness (RAAB) in Thailand. PLoS One 2014;9(12)e114245.

10. Suntaraporn T. Screening for diabaticretinophy in Pra-Nang-Klao Hospital. Region 4 Medical Journal 2008; 10(5): 759-65. (in Thai)

11. Rawdaree P, Ngarmukos C, Deerochanawong C, et al. Thailand diabetes registry (TDR) project clinical status and long term vascular complications in diabetic patients. J Med Assoc Thai. 2006;89 (Suppl 1): S1-9.

12. ณัฐพงศ์ เมฆาสิงหรักษ์.ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาจากเบาหวานชนิดที่ 2 . วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2558; 23(3):35-45.

13. วิชิต ปวรางกูร. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลนันอา กรุงเทพฯ. เชียงรายเวชสาร 2560; 9(2): 73-82.

14.ชายหาญ รุ่งศิริแสงรัตน์. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ในโรงพยาบาลพระสมุทรเจดีย์ สวาทยานนท์. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย 2560; 7(2): 179-88.

15.จิตรพรรณี บุญทองคง อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของ ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ในช่วงปี 2558 วารสารแพทย์เขต 4-5 . 2562 ;38(3) :226-30.

16.เมทินี ศิริมหานคร, ปุญญาวีร์ อาราเม, พิริญา สุ่มสวัสดิ์, และคนอื่นๆ. ความชุกของภาวะเบาหวานขึ้นจอ ประสาทตาในจังหวัดนครปฐม. วารสารวิชาการ สาธารณสุข 2553;19:226 - 33.

17. อนุพจน์ สมภพสกุล และคณะ.ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ 2555; 4(3): 29-43.

18. อรสิริณ กิจดาวรุ่ง, ชยวิญญ์ ขจิตตานนท์, ชื่นฤทัย ยี่เขียน. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาลสมเด็กพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา. วารสารจักษุศาสตร์. 2554;6(2):17-23.

19. นิภาพร พวงมี, กรรณิการ์ คำเตียม, สุภเลิศ ประคุณหังสิต. ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะเบาหวานขึ้นจอตา ในผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หน่วยตรวจโรคจักษุ โรงพยาบาลศิริราช. ธรรมศาสตร์เวชสาร. 2560; 17(3): 336-45.

20. อริย์ธัช เอี่ยมอุดมสุข, กรรณิกา เอี่ยมอุดมสุข. ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 สถาบันราชประชาสมาสัย. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย. 2557; 4(2): 109-17.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29