ปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ที่ต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน เนื่องจากภาวะกำเริบเฉียบพลัน ในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า

ผู้แต่ง

  • ธนิตดา เลิศลอยกุลชัย พ.บ., กลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า จังหวัดสมุทรสงคราม

คำสำคัญ:

โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง, ภาวะกำเริบเฉียบพลัน, การนอนโรงพยาบาลซ้ำ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผลการรักษา และปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลัน และต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (descriptive : retrospective study) ในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลัน และต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ตั้งแต่ 1 มกราคม 2560 ถึง 31 ธันวาคม 2561 ที่โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ เกี่ยวกับคุณลักษณะพื้นฐานของผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ผลการรักษา และปัจจัยทางคลินิกของผู้ป่วย

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังที่มีภาวะกำเริบเฉียบพลันและต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ในระยะเวลาที่ศึกษาจำนวน 88 ราย โดยอายุเฉลี่ยของผู้ป่วย 71.89 ปี เป็นชาย 74 ราย หญิง 14 ราย มีประวัติการสูบบุหรี่ โดยเป็นผู้ที่เคยสูบและหยุดแล้ว 44 ราย ยังสูบบุหรี่อยู่ 24 ราย โรคประจำตัวส่วนใหญ่เป็นความดันโลหิตสูง 34 ราย (ร้อยละ 38.63) ระดับความรุนแรงของโรค ส่วนใหญ่มีระดับความรุนแรงมาก(GOLD stage 3) 50 ราย (ร้อยละ 56.82) ปัจจัยกระตุ้นสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะกำเริบเฉียบพลัน พบว่าเกิดจากภาวะปอดติดเชื้อ ร้อยละ 31.82 ในครั้งแรก และ ร้อยละ 47.72 ในการเป็นซ้ำ (p =0.031) เชื้อก่อโรคที่พบมากที่สุดในครั้งแรก คือ Klebsiella pneumoniae (ร้อยละ 28.57) ในการนอนโรงพยาบาลซ้ำ เชื้อที่พบมากที่สุด คือ Acinetobacter baumannii (ร้อยละ23.81, p=0.036) ระยะเวลาที่มีอาการกำเริบเฉลี่ยในการนอนครั้งแรก 2.5 วัน และ 1.8 วัน ในรายที่มานอนโรงพยาบาลซ้ำ (p=0.001) ระยะเวลาเฉลี่ยของการนอนโรงพยาบาลครั้งแรก 6 วัน และ 7.6 วัน ในรายที่กลับมานอนซ้ำ ในการนอนโรงพยาบาลซ้ำ มีผู้ป่วยเสียชีวิต 6 ราย (ร้อยละ 6.82)

สรุป: การติดเชื้อในปอดเป็นปัจจัยที่สำคัญ ทำให้เกิดภาวะกำเริบเฉียบพลัน จนต้องนอนโรงพยาบาลซ้ำใน 28 วัน ทำให้เกิดภาวะทุพพลภาพมากขึ้นและเพิ่มอัตราตายในผู้ป่วยโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง

References

1. Melville AM, Pless-Mulloli T, Afolabi OA, et al. COPD prevalence and its association with occupational exposures in a general population. Eur Respir J. 2010; 36(3): 488–93.

2. Viniol C, Vogelmeier CF. Exacerbations of COPD. Eur Respir Rev. 2018; 27(147). pii: 170103. doi: 10.1183/16000617.0103-2017.

3. Ko FW, Chan KP, Hui DS. Acute exacerbation of COPD. Respiratory. 2016; 21(7): 1152-65.

4. Guerrero M, Crisafulli E, Liapikou A, et al. Readmission for acute exacerbation within 30 days of discharge is associated with a subsequent progressive increase in mortality risk in COPD patients : a long-term observational study. PLoS One. 2016; 11(3): e0150737.

5. Burge S, Wedzich JA. COPD exacerbations: definitions and classifications. Eur Respir J. 2003; 21: Suppl.41: 46s–53s.

6. Butorac-Petanjek B, Parnham MJ, Popovic-Grle S. Antibiotic therapy for exacerbations of chronic obstructive pulmonary disease (COPD). J Chemotherapy. 2010; 22(5): 291-7.

7. Siddiqi A, Sethi S. Optimizing antibiotic selection in treating COPD exacerbations. Int J Chron Obstruct Pulmon Dis. 2008; 3(1): 31–44.

8. Global Initiative for Chronic Obstructive Lung Disease (GOLD) 2019. Global strategy for the diagnosis, management, and prevention of chronic obstructive pulmonary disease [internet]. 2019. [cited 2019 May 18]. Available from:http://www.goldcopd.org/.

9. Lode H, Allewelt M, Balk S, et al. A Prediction model for bacterial etiology in acute exacerbations of COPD. Infection. 2007; 35(3): 143–9.

10. Shah T, Press VG, Huisingh-Scheetz M, et al. COPD readmissions: Addressing COPD in the era of value-based health. Chest. 2016; 150(4): 916-26.

11. Hunter LC, Lee RJ, Butcher I, et al. Patient characteristics associated with risk of first hospital admission and readmission for acute exacerbation of chronic obstructive pulmonary disease (COPD) following primary care COPD diagnosis: a cohort study using linked electronic patient records. BMJ Open. 2016; 6(1): e009121.

12. Lau SMC, Siracuse BL, Chamberlain RS. Readmission after COPD exacerbation scale: determining 30-day readmission risk for COPD patients. International Journal of COPD. 2017; 12: 1891–902.

13. Ramon Boixeda, Sandra Bacca, Lorena Elias, et al. Pneumonia as comorbidity in chronic obstructive pulmonary disease (COPD). Differences between Acute exacerbation of COPD and pneumonia in patients with COPD. Arch Bronconeumol. 2014; 50(12): 514–20.

14. Halpin DM, Miravitlles M, Metzdorf N, et al. Impact and prevention of severe exacerbations of COPD: a review of the evidence. International Journal of COPD. 2017; 12: 2891–908.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29