ผลการผ่าตัดรักษาโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรูในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ปี พ.ศ. 2561

ผู้แต่ง

  • ญาณภา อินทจักร พ.บ., กลุ่มงานจักษุวิทยา โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จังหวัดเชียงราย

คำสำคัญ:

โรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรู, ผลลัพธ์ของการผ่าตัด, อัตราการติดกลับเข้าที่ของจอตา, ความสามารถในการมองเห็น

บทคัดย่อ

โรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรู เป็นโรคจอตาลอกชนิดที่พบได้บ่อยที่สุด หากมิได้รับการรักษาอย่างถูกต้องละเหมาะสม อาจทำให้ผู้ป่วยมีสายตาพิการจนถึงตาบอดได้ ทั้งนี้การผ่าตัดรักษาให้หายจากโรคขึ้นกับปัจจัยหลายๆ ด้าน ได้แก่ ปัจจัยจากตัวผู้ป่วย ตัวโรค วิธีการรักษา และระบบบริการให้การรักษาพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาผลการผ่าตัดและผลลัพธ์สุดท้ายของการมองเห็นในการรักษาโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรู โดยจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจอตาและน้ำวุ้นตาโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 2 ท่าน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาวิจัยเชิงวิเคราะห์ชนิดตัดขวาง (analytic cross-sectional study) ทำการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรูในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จำนวน 85 คน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม 2561 โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียน บันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย ลักษณะโรคของผู้ป่วย วิธีการผ่าตัดรักษา ผลสำเร็จของการรักษา ความสามารถในการมองเห็น และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการรักษา ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม STATA 12 และ Fisher's exact test โดยมีค่าความสำคัญอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p-value<.05

ผลการศึกษา: ผู้ป่วยร้อยละ 70.6 เป็นเพศชาย ร้อยละ 29.4 เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 58.3 ปี (พิสัย 27-74 ปี) ประสบผลสำเร็จหลังจากการรักษาครั้งแรกร้อยละ 67.1 และประสบผลสำเร็จหลังจากการรักษาครั้งสุดท้าย ร้อยละ 85.9 ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการรักษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ ตำแหน่งของรูฉีกขาดที่จอตา จำนวนของรูฉีกขาดที่จอตา และชนิดของการรักษา โดยพบว่า ผู้ป่วยโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรูที่มีรูฉีกขาดอยู่ด้านล่างของจอตา จะมีผลการรักษาสำเร็จที่มากที่สุด และผู้ป่วยโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรูที่มีรูฉีกขาดทั้งด้านบนและด้านล่างของจอตา มีผลการรักษาสำเร็จที่น้อยที่สุด ผู้ป่วยที่มีรูฉีกขาดที่จอตาจำนวน 1 รู จะมีผลการรักษาสำเร็จที่มากกว่าผู้ป่วยที่มีรูฉีกขาดมากกว่า 1 รู และผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี scleral buckling procedure (SBP) จะมีผลการรักษาสำเร็จที่มากกว่าผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยวิธี pars plana vitrectomy (PPV)

สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดรักษาโรคจอตาลอกหลุดชนิดมีรูในโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์    ปี 2561 มีผลสำเร็จของการรักษาเป็นที่น่าพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์ที่ดีที่ยอมรับได้ และผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความสามารถในการมองเห็นที่ดีขึ้น

References

1. Lois N, Wong D. Pseudophakic retinal detachment. Surv Ophthalmol 2003;48:467-87.

2. Ranta P, kivela T. Functional and anatomic outcome of retinal detachment surgery in pseudophakic eyes. Ophthalmology 2002;109:1432-40.

3. Escoffery RF, OIK RJ, et al. Vitrectomy without scleral buckling for primary rhegmatogenous retinal detachment. Am J Ophthalmol 1985;99:275-81.

4. Thompson JA, et al. National audit of the outcomes of primary surgery for rhegmatogenous retinal detachment. Eye 2002;16:771-7.

5. Jun BY, Shin JP, Kim SY. Clinical characteristics and surgical outcomes of pseudophakic and Aphakic retinal detachments. Korean J Ophthalmol 2004 ;18:58-64.

6. Pournaras CJ, et al. Primary vitrectomy for pseudophakic retinal detachment : a prospective non – randomized study. Eur J Ophthalmol 2003;13:298-306.

7. Tognetto D, et al. Anatomical and functional outcomes after heavy silicone oil tamponade in vitreoretinal surgery for complicated retinal detachment : a pilot study. Ophthalmology 2005;112:1574.

8. J C Pastor, et al. Surgical outcomes for primary rhegmatogenous retinal detachments in phakic and pseudophakic patients : The Retina 1 Project – report 2. Br J Ophthalmology 2008;000:1-6:1-5.

9. Heimann H, Zou X, et al. Primary vitrectomy for rhegmatogenous retinal detachment : an analysis of 512 cases. Graefes Arch Clin Exp Ophthalmol 2006;244:69-78.

10. Halberstadt M, et al. Primary retinal reattachment surgery : anatomical and functional outcome in phakic and pseudophakic eyes. Eye 2005;19:891-8.

11. Lin F, Meyer CH, Mennel S, et al. Visual recovery after scleral buckling surgery in macula-off rhegmatogenous retinal detachment. Ophthalmologica 2006;220:174-80.

12. Sharma YR, Karunanithi S, et al. Functional and anatomic outcome of scleral buckling versus primary vitrectomy in pseudophakic retinal detachment. Acta Ophthalmol Scand 2005;83:293-7.

13. The classification of retinal detachment with proliferative vtireoretinopathy. Ophthalmology 1983;90:121-5.

14. Asfandyar A, et al. Anatomical and functional outcome following primary retinal re-attachment surgery in phakic and pseudophakic rhegmatogenesis retinal detachment. J Ayub Med Coll Abbottabad 2010;22(3):120-23.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29