การศึกษาอุบัติการณ์ของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกที่มีการใช้แอลกอฮอล์ ยาเสพติด และยาหรือสารออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท ในจังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2558-2561

ผู้แต่ง

  • อภิสรา กูลวงศ์ธนโรจน์ พ.บ., ว.ว.นิติเวชศาสตร์ โรงพยาบาลสมุทรสาคร สมุทรสาคร

คำสำคัญ:

อุบัติเหตุจราจร, เสียชีวิต, แอลกอฮอล์, ยาเสพติด, ยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และข้อมูลสถิติของผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรทางบกภายในจังหวัดสมุทรสาครที่เกี่ยวข้องกับการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และ/หรือยาเสพติด และ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2561

 วิธีการศึกษา : การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา

 ผลการศึกษา : จากจำนวนผู้เสียชีวิตทั้งหมด 471 ราย พบว่า เป็นเพศชาย 409 ราย (ร้อยละ 86.8) และเพศหญิง 62 ราย (ร้อยละ 13.2) อายุเฉลี่ยของผู้เสียชีวิตในเพศชายเท่ากับ 33.6 ปี (SD=14.9) และในเพศหญิงเท่ากับ 39.4 ปี (SD=17.5) โดยร้อยละ 46.9 ตรวจพบปริมาณแอลกอฮอล์ในตัวอย่างเลือดเกิน 50 mg% ค่าเฉลี่ยของปริมาณแอลกอฮอล์ที่ตรวจพบเท่ากับ 189 mg% (SD 72.3) พบสารเสพติดและ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท ร้อยละ 13.6 โดยสารเสพติดและ/หรือยาที่ออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทที่พบมากที่สุดคือ methamphetamine (ร้อยละ 46.9), ยากลุ่ม benzodiazepines (ร้อยละ 16.3) และกลุ่มยาแก้ปวดลดไข้ (ร้อยละ 16.3)

สรุป : การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่ามีการใช้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และ/หรือยาเสพติดและยาออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจร

References

1. World Health Organization. Road traffic injuries [Internet]. 2018 [cited 2019 Sep 10]; Available form: http://www.who.int/news-rooms/factsheets/detail/road-traffic-injuries.

2. สำนักงานโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข [อินเทอร์เน็ต]. ปี [เข้าถึงเมื่อ 15 กันยายน 2562]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaincd.com/document/file/info/injured/สถานการณ์ความปลอดภัยทางถนน2019.pdf.

3. ศุภมาส เศรษฐพงษ์กุล. พฤติกรรมเสี่ยง/ป้องกันต่อการบาดเจ็บจากอุบัติเหตุจราจรทางบกในประชากรวัยแรงงาน. วารสารพัฒนบริหารศาสตร์. 2536; 3: 117-52.

4. รัตวัลย์ ศิริเลี้ยง. การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุการเกิดอุบัติเหตุจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ในจังหวัดเลย. วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา. 2560; 12(2): 15-26.

5. ณัฐวุฒิ นริพทะพันธุ์, โศรดา ปิติเลิศปัญญา, ดวงเนตร พิพัฒน์สถิตพงศ์. การศึกษาสาเหตุการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์และเมทแอมเฟตามีน/แอมเฟตามีน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2562; 27(1): 124-34.

6. Christmore DS, Kelly RC, Doshier LA. Improved recovery and stability of ethanol in automated headspace analysis. J Forensic Sci. 1984; 29(4): 1038-44.

7. Mendenhall CL, MacGee J, Green ES. Simple rapid and sensitive method for the simultaneous quantitation of ethanol and acetaldehyde in biological materials using head-space gas chromatography. J Chromatogr. 1980; 190(1): 197-200.

8. วิรัติ พาณิชย์พงษ์. นิติเวชปฏิบัติการกรณีบาดเจ็บและตายผิดธรรมชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: หอรัตนชัยการพิมพ์; 2546: 179.

9. World Health Organization. Road safety – Alcohol [Internet]. 2004 [cited 2019 Sep 17]; Available form:https://www.who.int/violence_injury_prevention/publications/road_traffic/world_report/alcohol_en.pdf.

10. วราพร ชลอำไพ และ วัชรชัย รุจิโรจน์กุล. ระดับแอลกอฮอล์ในเลือดและอุบัติเหตุจราจรทางบก เขตระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2560. วารสารพิษวิทยาไทย 2562; 34(1) : 9-19.

11. สิริพันธ์ ณรงค์ชัย. แอลกอฮอล์. ใน: กลิ่นเทียน วรรณภักตร์, กานดา วิชัยรัตน์, บรรณาธิการ. นิติเวชศาสตร์และนิติเวชศาสตร์ปฏิบัติ. เชียงใหม่: ม.ป.ท. ; 2548: 337-48.

12. กลุ่มงานป้องกันการบาดเจ็บ สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และอุบัติเหตุทางถนน มีอะไรน่ารู้บ้าง [อินเทอร์เน็ต]. ม.ป.ป. [เข้าถึงเมื่อ 17 กันยายน 2562]; เข้าถึงจาก: http://thaincd.com/document/file/download/leaflet/download1no34.pdf.

13. อานนท์ จำลองกุล. แอมเฟตามีน: นิติเวชปริทัศน์. Chula Med J 2016; 60(4): July-August: 309-412.

14. Couper FJ, Logan BK. Drugs and human performance fact sheets. Washington (DC): National Highway Traffic Safety Administration; 2014. Report No. DOT HS 809 725.

15. Ludivine Orriols, Audrey Luxcey, Benjamin Contrand, Blandine Gadegbeku, Bernard Delorme, Aurore Tricotel, Nicholas Moore, Louis-Rachid Salmi and Emmanuel Lagarde. Road traffic crash risk associated with benzodiazepine and z-hypnotic use after implementation of a colour-graded pictogram: a responsibility study. Br J Clin Pharmacol 2016; 82: 1625–1635.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-29