การศึกษาสายพันธุ์ และผลของการรักษาผู้ป่วยที่มารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทั้งในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยในโรงพยาบาลสมุทรสาครปี พ.ศ. 2562
คำสำคัญ:
ไวรัสตับอักเสบซี, ยารักษาไวรัสตับอักเสบซี, ไวรัสตับอักเสบบี, มะเร็งตับบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาสายพันธุ์และผลของการรักษาผู้ป่วยที่มารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทั้งในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยภายในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ปี พ.ศ. 2562
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากแบบฟอร์มกำกับการใช้ยาการรักษาผู้ป่วยที่มารักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังทั้งในผู้ป่วยที่มีหรือไม่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วยภายในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 โดยวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่า mean, median, mode ,และ range
ผลการศึกษา: ผู้ป่วยที่มารับการรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังภายในโรงพยาบาลสมุทรสาคร ในปี พ.ศ. 2562 พบว่า อายุเฉลี่ย 52 ±8ปี น้ำหนักเฉลี่ย 63±16 กิโลกรัม เป็นเพศชาย 17คน (ร้อยละ 62.9 ) เพศหญิง 10 คน (ร้อยละ 37.1) ตรวจพบปริมาณไวรัสตับอักเสบซีในเลือด น้อยกว่า1,000,000iu/ml 12 คน (ร้อยละ44.4) นอกจากนี้ผู้ป่วยเคยได้รับการตรวจพังผืดของตับ โดยวิธี ultrasound elastography 27 ราย (ร้อยละ100) มีค่าน้อยกว่า 8kPa จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 22.2)
ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย พบ 7 คน (ร้อยละ 25.9) โดยพบว่าผู้ป่วยทุกรายได้รักษาด้วยยาต้านไวรัส ร่วมกับมี CD4 cell count มากกว่าหรือเท่ากับ 200 cell/mm3ร่วมกับตรวจพบ HIV viral load น้อยกว่า 50 copies/ml ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังไม่มีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังร่วมด้วยจำนวน 27 คน (ร้อยละ100) นอกจากนี้พบผู้ป่วยมีภาวะตับแข็งร่วมด้วย จำนวน 19 คน (ร้อยละ70.3)
การรักษาผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง มีทั้งหมด 3 สูตร ดังนี้
- Sofosbuvir+ peginterferon-alfa+ ribavirin จำนวน 8 คน (ร้อยละ29.6)
- Sofosbuvir/ledipasvirจำนวน 8คน(ร้อยละ29.6)
- Sofosbuvir/ledipasvir+ ribavirinจำนวน 11 คน(ร้อยละ40.8)
สรุป: พบผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่ 1 พบ 10 คน (ร้อยละ 37)สายพันธุ์ที่ 3 พบ 9 คน(ร้อยละ 33.3) สายพันธุ์ที่ 6 พบ 8 คน(ร้อยละ 29.6) ตามลำดับและไม่พบสายพันธุ์ที่2 , 4 และ5 นอกจากนี้เมื่อติดตามผลการรักษาของผู้ป่วยที่มารับการรักษาไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังที่มีหรือไม่มีการติดเชื้อ HIV ร่วมด้วย พบว่า ตรวจไม่พบปริมาณไวรัสเมื่อสิ้นสุดการรักษาและที่ 12 สัปดาห์ทุกราย (ร้อยละ100)
References
2. Messina JP, Humphreys I, Flaxman A, et al. Global distribution and prevalence of hepatitis c virus genotypes. Hepatology. 2015; 61(1): 77-87.doi: 10.1002/hep.27259
3. Lwin AA, Shinji T, Khin M, et al. Hepatitis C virus genotype distribution in Myanmar: Pedominance of genotype 6 and existance of new genotype 6 subtype. Hepatology Res. 2007; 37(5): 337-45. doi: 10.1111/j.1872-034X.2007.00053.x.
4.Sunanchaikarn S, Theamboonlers A, Chongsrisawat V, et al. Seroepidemiology and genotypes of hepatitis C virus in Thailand. Asian Pac J Allergy Immunol. 2007; 25(2-3): 175-82.
5. Gentile I, Borgia F, Buonomo AR, et al. A novel promising therapeutic option against hepatitis C virus: An oral nucleotide NS5B polymerase inhibitor sofosbuvir. Curr Med Chem. 2013;20(30):3733-42.doi: 10.2174/09298673113209990178.
6. Nguyen NH, VuTien P, Garcia RT, et al. Response to prgylated interferon and ribavirin in Asian American patients with Chronic hepatitis C genotypes 1 vs 2/3 vs 6. J Viral Hepat. 2010; 17(10): 691-7. doi: 10.1111/j.1365-2893.2009.01226.x.
7.Thomas D, Zoulim F. New challenges in viral hepatitis. Gut. 2012;61(Suppl 1):1-5.
8. Hill A, Cooke G. Hepatitis C can be cured globally, but at what cost?Science. 2014;345(6193):141-2. Doi: : 10.1126/science.1257737
9. Welsch C, Jesudian A, Zeuzem S, et al. New direct-acting antiviral agents for the treatment of hepatitis C virus infection and perspectives. Gut. 2012;61(Suppl 1):i36-46.
10. Bhatia HK, Singh H, Grewal N, et al. Sofosbuvir: A novel treatment option for chronic hepatitis C infection. J PharmacolPharmacother.2014; 5(4): 278-84.doi: 10.4103/0976-500X.142464
11. Foster GR, Pianko S, Brown A, et al. Efficacy of sofosbuvir plus ribavirin with or without peginterferon-alfa in patients with hepatitis C virus genotype 3 infection and treatment experienced patients with cirrhosis and hepatitis Cvirus genotype 2infection. Gastroenterology. 2015;149(6):1462-70.
12. Lawitz E, Lalezari JP, Hassanein T, et al. Sofosbuvir in combination with peginterferon-alfa and ribavirin for non-cirrhotic, treatment-naïve patientswith genotypes1,2 and 3hepatitis C infection: a randomized, double-blind,phase 2 trial.Lancet Infect Dis. 2013;13(5):401-8.doi: 10.1016/S1473-3099(13)70033-1.
13.Lawitz E, Mangia A, Wyles D, et al. Sofosbuvir for previously untreated chronic hepatitis C infection. N Engl J Med 2013; 368: 1878-87. DOI: 10.1056/NEJMoa1214853
14. Rodriguez-Torres M, Lawitz E, Kowdley KV, et al.Sofosbuvir (GS-7977) plus peginterferon/ribavirin in treatment-naïve patientswith genotype1:randomized,28-day, dose-ranging trial.J Hepatol. 2013;58(4):663-8.doi: 10.1016/j.jhep.2012.11.018
15. Mizokami M, Yokosuka O, Takehara T, et al. Ledipasvirandsofosbuvirfixed-dose combination with and without ribavirin for 12 weeks in treatment-naïve and previously treated Japanese patientswith genotype 1hepatitis C: an open-label, randomized, phase 3 trial. Lancet Infect Dis. 2015;15(6):645-53.doi: 10.1016/S1473-3099(15)70099-X
16.Gane EJ, Hyland RH, An D, et al. Efficacy of ledipasvirand sofosbuvir, with or without ribavirin,for 12 weeks in patients with HCV virus genotype 3 or 6infection.Gastroenterology.2015;149(6):1454-61.
17.Afdha N, Reddy KR, Nelson DR, et al. Ledipasvirand sofosbuvir forpreviouslytreatedHCV genotype 1 infectionN Engl J Med.2014;370(16):1483-93.doi: 10.1056/NEJMoa1316366.
18.Afdha N,Zeuzem S, Kwo P, et al.LedipasvirandsofosbuvirforuntreatedHCV genotype 1 infection. N Engl J Med 2014; 370: 1889-98. DOI: 10.1056/NEJMoa1402454
19.Kowdley KV, Lawitz E, Poordad F, et al. Phase 2b trail of interferon-free therapy forhepatitis C virus genotype 1. N Engl J Med. 20140; 370(3): 222-32. doi: 10.1056/NEJMoa1306227.
20.Kapol K, Lochid-amnuay S, Teerawattananon Y. Economic evaluation of pegylated interferon plus ribavirin for treatment of chronic hepatitis C in Thailand: genotype 1 and 6. BMC Gastroenterology. 2016; 16: 91. doi: 10.1186/s12876-016-0506-4
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์