การศึกษาเปรียบเทียบระหว่างการเริ่มรับประทานอาหารเร็วกว่าปกติและตามขั้นตอนแบบเดิมใน สตรีภายหลังการผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ชญาดา วรสถิตย์ พ.บ., โรงพยาบาลนครปฐม

คำสำคัญ:

ผ่าตัดคลอด, เริ่มรับประทานอาหารเร็ว

บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบการกลับมาเคลื่อนไหวของลำไส้ อาการข้างเคียง และความพึงพอใจ ระหว่างการเริ่มรับประทานอาหารเร็วกว่าปกติและตามขั้นตอนแบบเดิมในสตรีภายหลังการผ่าตัดคลอด

          วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมนี้ทำการวิจัยกับสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการผ่าตัดคลอดที่โรงพยาบาลนครปฐมจำนวน 120 คน โดยการสุ่มแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 60 คน กลุ่มหนึ่งได้รับอาหารภายหลังการผ่าตัดคลอดเร็วกว่าปกติที่เคยปฏิบัติ ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งได้รับอาหารตามขั้นตอนแบบเดิม กลุ่มที่รับประทานอาหารเร็วกว่าปกติได้รับน้ำดื่มภายในเวลา 2-6 ชั่วโมงหลังภายหลังการผ่าตัด มื้อถัดไปเป็นอาหารเหลว อาหารอ่อน และอาหารธรรมดาตามลำดับ ส่วนกลุ่มที่ได้รับอาหารตามขั้นตอนแบบเดิมจะเริ่มจิบน้ำได้ 20-24 ชั่วโมงภายหลังการผ่าตัด มื้อถัดไปเป็นอาหารเหลว อาหารอ่อน และในวันถัดไปจะได้รับอาหารธรรมดา

                  ผลการศึกษา: ผู้ที่เข้าร่วมโครงการวิจัยทั้งสองกลุ่มนี้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติใน อายุ ภาวะมีบุตร อายุครรภ์ ระยะเวลาการผ่าตัด การเสียเลือดระหว่างผ่าตัด น้ำหนักทารกแรกเกิด และข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดคลอด สตรีภายหลังผ่าตัดคลอดกลุ่มที่เริ่มรับประทานอาหารเร็วมีระยะเวลาที่เริ่มมีการผายลมครั้งแรกเร็วกว่า มีจำนวนสตรีภายหลังผ่าตัดคลอดที่มีเสียงลำไส้เคลื่อนไหวในเช้าวันรุ่งขึ้นภายหลังการผ่าตัดมากกว่า ระยะเวลาที่เริ่มลุกลงเดินเร็วกว่า  ระยะเวลาที่ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำและสวนคาสายสวนปัสสาวะสั้นกว่า ระยะเวลาที่เริ่มรับประทานอาหารธรรมดาเร็วกว่า และมีคะแนนความพึงพอใจมากกว่า ซึ่งแตกต่างอย่างกันมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < .001) กับสตรีภายหลังผ่าตัดคลอดที่เริ่มรับประทานอาหารแบบเดิม  ส่วนระยะเวลาที่พักรักษาในโรงพยาบาลนั้นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทั้งสองกลุ่ม  และไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในภาวะแทรกซ้อนภายหลังผ่าตัดในเรื่องอาการคลื่นไส้ อาเจียน ไม่สบายในท้อง ท้องอืด และ มีไข้ (p-value < .05)

                สรุป: การให้สตรีภายหลังผ่าตัดคลอดเริ่มรับประทานอาหารเร็วกว่าปกติภายหลังการผ่าตัดคลอดนั้น พบว่าลำไส้กลับมาทำงานตามปกติได้เร็วกว่า สามารถลุกลงเดินได้เร็วกว่า ระยะเวลาที่ได้รับสารน้ำทางหลอดเลือดดำและสวนคาสายสวนปัสสาวะสั้นกว่า  ระยะเวลาเริ่มรับประทานอาหารธรรมดาเร็วกว่า  มีความพึงพอใจมากกว่า โดยที่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนทางระบบทางเดินอาหารเพิ่มมากขึ้น 

 

 

References

1. Gregory KD, Jackson S, Korst L, et al. Cesarean versus vaginal delivery whose risks? whose benefit benefit?. Am J Perinatol. 2012; 29(1): 7-18. doi: 10.1055/s-0031-1285829.

2. Hehir MP, Ananth CV, Siddiq Z, et al. Cesarean delivery in the United States 2005 through 2014: a population-based analysis using the Robson 10-Group Classification System. Am J Obstet Gynecol. 2018; 219(1): e105-11. doi: 10.1016/j.ajog.2018.04.012.

3. Liabsuetrakul T, Sukmanee J, Thungthong J, et al. Trend of Cesarean Section Rates and Correlations with Adverse Maternal and Neonatal Outcomes: A Secondary Analysis of Thai Universal Coverage Scheme Data. AJP Rep. 2019; 9(4): e328-36. doi: 10.1055/s-0039-1697656

4. Hsu YY, Hung HY, Chang SC, et al. Early oral intake and gastrointestinal function after cesarean delivery: a systematic review and meta-analysis. Obstet Gynecol. 2013 Obstet Gynecol. 2013; 121(6): 1327-34. doi: 10.1097/AOG.0b013e318293698c.

5. Wind J, Polle SW, Fung Kon Jin PH, et al. Systematic review of enhanced recovery programmes in colonic surgery. Br J Surg. 2006; 93(7): 800–9. doi: 10.1002/bjs.5384.

6. Pearl ML, Frandina M, Mahler L, et al. A randomized controlled trial of a regular diet as the first meal in gynecologic oncology patients undergoing intraabdominal surgery. Obstet Gynecol. 2002; 100(2): 230-4. doi: 10.1016/s0029-7844(02)02067-7.

7. Teoh WHL, Shah MK, Mah CL. A randomized controlled trial on beneficial effects of early feeding post-Caesarean delivery under regional anesthesia. Singapore Med J. 2007; 48(2): 152–7.

8. Adupa D, Wandabwa J, Kiondo P. A randomised controlled trial of early initiation of oral feeding after caesarean delivery in Mulago Hospital. East Afr Med J. 2003; 80(7): 345-50. doi: 10.4314/eamj.v80i7.8716.

9. Rabbo SA. Early oral hydration: a novel regimen for management after elective cesarean section. J Obstet Gynaecol (Tokyo 1995). 1995; 21(6): 563–7. doi: 10.1111/j.1447-0756.1995.tb00913.x

10. Patolia DS, Hilliard RL, Toy EC, et al. Early feeding after cesarean: randomized trial. Obstet Gynecol. 2001; 98(1): 113–6. doi: 10.1016/s0029-7844(01)01387-4.

11. Burrows WR, GingoJr AJ, Rose SM, et al. Safety and efficacy of early postoperative solid food consumption after cesarean section. J Reprod Med. 1995; 40(6): 463–7.

12. Chantarasorn V, Tannirandorn Y. A comparative study of early postoperative feeding versus conventional feeding for patients undergoing cesarean section; a randomized controlled trial.J Med Assoc Thai. 2006; 89(Suppl 4): 11–16.

13. Smith I, Kranke P, Murat I, et al. Perioperative fasting in adults and children: guidelines from the European Society of Anaesthesiology. Eur J Anaesthesiol. 2011; 28(8): 556–69. doi: 10.1097/EJA.0b013e3283495ba1.

14. Masood SN, Siddiqui IA, Masood MF, et al. To assess the practices about initiation of oral maternal feeding after cesarean section under regional anesthesia. Pak J Med Sci. 2011; 27(5): 996-1000.

15. Jalilian N, Ghadami MR. Randomized clinical trial comparing post operative outcomes of early versus late feeding after cesarean section. J Obstet Gynaecol Res. 2014; 40(6): 1649-52. doi: 10.1111/jog.12246.

16. Ngamjarus C, Chongsuvivatwong V, McNeil E. n4Studies: Sample Size Calculation for an Epidemiological Study on a Smart Device. Siriraj Med J. 2016; 68: 160-70.

17. Bar G, Sheiner E, Lezerovizt A, et al. Early maternal feeding following caesarean delivery: a prospective randomised study. Acta Obstet Gynecol Scand. 2008; 87(1): 68–71. doi: 10.1080/00016340701778849.

18. Orji EO, Olabode TO, Kuti O, et al. A randomised controlled trial of early initiation of oral feeding after cesarean section. J Matern Fetal Neonatal Med. 2009; 22(1): 65–71. doi: 10.1080/14767050802430826.

19. Guo J, Long S, Li H, et al. Early versus delayed oral feeding for patients after cesarean. Int J Gynaecol Obstet. 2015; 128(2): 100–5. doi: 10.1016/j.ijgo.2014.07.039.

20. Mawson AL, Bumrungphuet S, Manonai J. A randomized controlled trial comparing early versus late oral feeding after cesarean section under regional anesthesia. Int J Womens Health. 2019; 11: 519-25. doi: 10.2147/IJWH.S222922.

21. Read TE, Brozovich M, Andujar JE, et al. Bowel Sounds Are Not Associated With Flatus, Bowel Movement, or Tolerance of Oral Intake in Patients After Major Abdominal Surgery. Dis Colon Rectum. 2017; 60(6): 608-13. doi: 10.1097/DCR.0000000000000829.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30