การพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

ผู้แต่ง

  • ประภา ราชา พย.ม., โรงพยาบาลพิจิตร

คำสำคัญ:

ระบบบริการพยาบาล, โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง, โควิด-19

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

         วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาและศึกษาผลการพัฒนาระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19

          วิธีการศึกษา: วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์และวิเคราะห์การจัดระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยศึกษาในพยาบาลผู้ปฏิบัติงานคลินิกเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงแผนกผู้ป่วยนอกจำนวน 10 คน และผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูง จำนวน 10 คน ระยะที่ 2 ออกแบบและพัฒนาระบบ มี 2 ขั้นตอน คือการเตรียมความพร้อมและการพัฒนาระบบบริการ ระยะที่ 3 ดำเนินการทดลองใช้ระบบในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจำนวน 100 คน และกลุ่มผู้รับบริการจำนวน 100 คน ระยะที่ 4 ประเมินผลในกลุ่มผู้ปฏิบัติงานจำนวน 100 คนทีมสหสาขา จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้รับบริการจำนวน 100คน

          ผลการศึกษา: ระยะที่ 1 พบว่าระบบการบริหารจัดการและระบบบริการยังไม่ครอบคลุม ระยะที่ 2 ดำเนินการเตรียมความพร้อมและพัฒนาระบบบริการ ระยะที่ 3 พบว่า พยาบาล ผู้ช่วยเหลือคนไข้ และคนงาน มีค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้หลังการอบรมเชิงปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19  สูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 และกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีทักษะความสามารถและเทคนิคการปฏิบัติถูกต้องระยะที่4พบว่าพยาบาลผู้ช่วยเหลือคนไข้ และทีมสหวิชาชีพมีความพึงพอใจในระบบบริการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ระดับมากส่วนคนงานมีความพึงพอใจที่ระดับปานกลางผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงมีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานในการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระดับดีมาก ร้อยละ 100 และมีระดับพฤติกรรมการป้องกันเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่ระดับดีมากร้อยละ 81.0 และมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติตามระบบการดูแลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ระดับมากที่สุดอัตราการเข้าถึงบริการจากการได้รับยาต่อเนื่องของกลุ่มผู้ป่วยเบาหวานและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่มารับบริการโรงพยาบาลพิจิตรในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด 19 ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึง เดือนกรกฎาคม 2563 เพิ่มขึ้น

            สรุป: ระบบบริการการพยาบาลผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 มีความเหมาะสมสอดคล้องกับบริบทสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง ส่งเสริมการทำงานระหว่างสหวิชาชีพผู้ป่วยได้รับการพยาบาลที่มีคุณภาพ สามารถดูแลจัดการตนเอง เข้าถึงบริการได้อย่างต่อเนื่อง

References

1. วิกิพีเดีย. การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2562-2563[อินเตอร์เน็ต]. 2563[เข้าถึงเมื่อ6 เมษายน 2563]; เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/การระบาดทั่วของไวรัสโคโรนา_พ.ศ._2562-2563.

2. กรมควบคุมโรค.รายงานสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) [อินเตอร์เน็ต]. 2563 [เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2563].เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/situation.php

3. โรงพยาบาลพิจิตร. รายงานประจำปี 2563 สถิติผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. โรงพยาบาลพิจิตร จังหวัดพิจิตร 2563.

4. World Health Organization.Monitoring the Building Blocks of Health System:A Handbook of Indicators and Their Measurement Strategies. Geneva: WHO Document Services; 2010.

5. Nastasi BK, Schensul SL. Contribution of qualitative research to the validity of intervention research.Journal of School Psychology.2005;43(3):177-95.

6. สำนักงานสถิติแห่งชาติ. เทคนิคการสุ่มตัวอย่างและการประมาณค่า.[อินเตอร์เน็ต].[เข้าถึงเมื่อ 18 มีนาคม 2563].เข้าถึงได้จาก:www.service.nso.go.th

7. Faul F,Erdfelder E, BuchnerA, Lang AG. Statistical power analyses using G*Power 3.1 : Tests for correlation and regression analyses. Behavior Research Methods2009, 41 (4), 1149-60.

8. ชุติกาญจน์ หฤทัย, ธีรพร สถิรอังกูร, สมจิตต์ วงศ์สุวรรณสิริ.การพัฒนาระบบบริการพยาบาลสำหรับโรงพยาบาลชุมชนที่ได้รับการยกฐานะ.วารสารกองการพยาบาล. 2559; 43(1):113-34.

9. ดารณี เทียมเพ็ชร์, กศิมา สง่ารัตนพิมาน, มัญฑิตา อักษรดี, และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวานลงสู่ชุมชนแบบไร้รอยต่อ อำเภอเมืองจังหวัดสระแก้ว. วารสารพยาบาลกระทรวงสาธารณสุข.2559; 25(3):156-69.

10. Bloom BS. Taxonomy of Education Objective.Reviewed in the United States On December 8,2013.

11. วงเดือน ฦาชา, สุชัญญา เบญจวัฒนานนท์, กาญจนา เปสี, และคณะ. การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน โรงพยาบาลชัยภูมิ. วารสารกองการพยาบาล.2554; 38(1):31-41.

12. พนม คลี่ฉายา. การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง [อินเตอร์เน็ต]. 2561 [เข้าถึงเมื่อ18 มีนาคม2563]. เข้าถึงได้จาก:https://kb.hsri.or.th/dspace/handle/11228/4899?locale-attribute=th.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30