พฤติกรรมการดูแลของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก 0-5 ปี ในโรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • วงษ์เดือน จุแดง พย.บ., โรงพยาบาลดำเนินสะดวก

คำสำคัญ:

พฤติกรรมการดูแล, โรคหืด, ผู้ป่วยโรคหืดในเด็ก 0-5 ปี

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

          วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดในเด็ก 0-5 ปี ของผู้ดูแล และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหืดในเด็ก 0-5 ปี จำแนกตามระดับการศึกษาและฐานะทางเศรษฐกิจของผู้ดูแล

          วิธีการศึกษา: การวิจัยเชิงบรรยาย (descriptive research) ในกลุ่มประชากรคือผู้ดูแลเด็กโรคหืดที่มารับบริการที่คลินิกโรคหอบหืด โรงพยาบาลดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ระหว่างเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน พ.ศ.2560 จำนวน 39 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ผู้ดูแลเด็กโรคหืด ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน การเก็บรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลโดย การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของปัจจัยที่ศึกษากับพฤติกรรมการดูแล โดยใช้สถิติไคสแควร์

          ผลการศึกษา:

  1. ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ในงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 อายุเฉลี่ย 31 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา ร้อยละ 51.3 ประกอบอาชีพรับจ้าง ร้อยละ 51.3 และส่วนใหญ่ร้อยละ 84.6 มีรายได้พอใช้หรือเหลือเก็บ
  2. ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ในงานวิจัยครั้งนี้ สามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการดูแลเด็กโรคหืดได้มากที่สุด ร้อยละ 100 คือ ข้อการทำความสะอาดบ้านเรือนให้สะอาดอยู่เสมอ, การให้เด็กหลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่นและอยู่ในที่อากาศถ่ายเท ไม่แออัด, ให้เด็กงดกินไอศกรีม น้ำแข็ง เมื่อมีอาการหอบ และการกลั้วปากและคอด้วยน้ำหลังการพ่นยาสเตียรอยด์ ข้อที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุดคือ การซื้อยารักษาอาการหอบให้เด็กรับประทานเอง ที่ผู้ดูแลเด็กโรคหอบหืดสามารถปฏิบัติได้ร้อยละ 64.1
  3. พบว่าผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ในงานวิจัยครั้งนี้ เคยรับทราบข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับโรคหืดจากแพทย์/หรือพยาบาลร้อยละ 89.7และจากเภสัชกรร้อยละ 10.3
  4. ผู้ตอบแบบสัมภาษณ์ในงานวิจัยครั้งนี้ ส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการดูแลเด็กโรคหืดในเด็ก 0-5 ปี อยู่ในระดับสูงหรือดี ร้อยละ 84.6 รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 15.4
  5. เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาและฐานะเศรษฐกิจของผู้ดูแลเด็กโรคหืดในเด็ก 0-5 ปี พบว่าค่าพฤติกรรมการดูแลไม่แตกต่างกัน

ผลการวิจัยครั้งนี้ช่วยให้พยาบาลมีความเข้าใจเกี่ยวพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคหืด 0-5 ปี ของผู้ดูแล และใช้เป็นทางในการส่งเสริมการดูแลเด็กป่วยโรคหืดให้ดียิ่งขึ้น

                 สรุป: งานวิจัยนี้ศึกษาเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ดูแลเด็กป่วยหอบหืด พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 84.6 ของผู้ดูแลในครอบครัวมีพฤติกรรมการดูแลผู้ป่วยโรคหอบหืดโดยรวมระดับสูง เมื่อพิจารณาพฤติกรรมการจัดการของครอบครัวด้านรายได้ พบว่าพฤติกรรมการจัดการทุกด้านอยู่ในระดับสูง ทำให้ไม่เกิดปัญหาเรื่องของค่าใช้จ่ายในครอบครัวและมีความพร้อมในการปฏิบัติการจัดการและดูแล

References

1. วัชรา บุญสวัสดิ์. โรคหืด. ใน: นิธิพัฒน์ เจียรกุล, บรรณาธิการ. ตำราโรคระบบการหายใจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2561. 444-54.

2. นิราวดี พัชนี, สมลักษณ์ เทพสุริยานนท์, อุไรวรรณ ชัยชนะวิโรจน์, และคณะ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้ยาของผู้ป่วยโรคหอบหืด. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 2557; 8(3): 92-103.

3. พัชรี วัฒนชัย, พัชราภรณ์ อารีย์, สุธิศา ล่ามช้าง. ความรุนแรงของโรคหืด พฤติกรรมการจัดการของครอบครัวและการควบคุมอาการของโรคหืดในเด็กของผู้ดูแลในครอบครัว. พยาบาลสาร. 2559; 43(2): 1-12.

4. อาภาวรรณ หนูคง, สุดาภรณ์ พยัคฆ์เรือง, ยุวดี พงษ์สาระนันทกุล, และคณะ. การจัดการของผู้ดูแลในการดูแลเด็กโรคหืด. วารสารพยาบาลศาสตร์. 2555; 30(1): 1-7.

5. Pedersen ES, Hurd SS, Lemanske RF, et al. Global strategy for the diagnosis and management of asthma in children 5 years and younger. Pediatr Pulmonol. 2011; 46(1): 1-17. Doi: 10.1002/ppul.21321

6. สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. แนวทางการวินิจฉัยและรักษาโรคหืดในประเทศไทย พ.ศ. 2560. นนทบุรี: บียอนด์เอ็นเทอร์ไพรซ์; 2560.

7. สมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย. ตำราโรคหืด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์; 2556.

8. อรพรรณ โพชนุกูล, สมบูรณ์ จันทร์สกุลพร. โรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจในเด็ก. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนาพริ้นติ้ง; 2558.

9. Bloom B. Mastery learning. New York: Holt, Rinehart & Winston; 1971.

10. Polit DF, Beck CT, Owen SV, et al. Is the CVI an acceptable indicator of content validity? Appraisal and recommendations. Res Nurs Health. 2007; 30(4): 459-67. doi: 10.1002/nur.20199.

11. Polit DF, Beck CT. Nursing research: generating and assessing evidence for nursing practice. 9th ed. Philadelphia, PA: Wolters Kluwer Health/Lippincott Williams&Wilkins; 2012.

12. ฐิตินันท์ ไมตรี. ผลของการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืดต่อความรู้และทักษะของผู้ดูแล. ปทุมธานี: โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ; 2558.

13. ดนัย พิทักษ์อรรณพ, บังอร ม่วงไทยงาม. การพัฒนาระบบบริการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคหืดทีมารับการรักษาทีคลินิกโรคหืดแบบบูรณาการ โรงพยาบาลสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการสาธารณสุข. 2561; 27(5): 856-65

14. อกนิษฐ์ กมลวัชรพันธ์. การพัฒนารูปแบบการวางแผนจำหน่ายผู้ป่วยเด็กโรคหืดอายุ 0-5 ปี โดยใช้รูปแบบ D-M-E-T-H-O-D [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการพยาบาลสุขภาพเด็ก]. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2555.

เผยแพร่แล้ว

2020-09-30